นครสวรรค์-นายก อบจ. ร่วมเสวนาเชิงวิชาการ เรื่อง “สหกิจศึกษา

นครสวรรค์-นายก อบจ. ร่วมเสวนาเชิงวิชาการ เรื่อง “สหกิจศึกษา

นครสวรรค์-นายก อบจ. ร่วมเสวนาเชิงวิชาการ เรื่อง “สหกิจศึกษา

ภาพ/ข่าว:ชาติชาย  เกียรติพิริยะ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมชอนตะวัน อาคาร 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ในฐานะเป็นผู้ที่มีความรู้และความสามารถ มีประสบการณ์ และประสบความสำเร็จในการบริหารกิจการหรือองค์กร ร่วมเป็นวิทยากรเสวนาเชิงวิชาการ เรื่อง “สหกิจศึกษา : การบูรณาการศาสตร์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สู่ความร่วมมือกับสถานประกอบการ” ภายใต้กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการและจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และการแสวงหาความร่วมมือกับภาคธุรกิจ โดยมี สิบเอกพิทยา นาคกุญชร รองปลัด อบจ.นครสวรรค์ คณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมรับฟังการเสวนา   ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดย รองศาสตราจารย์ดร.สุชาติ แสงทอง คณบดีฯได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการและการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และการแสวงหาความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคท้องถิ่น
โดย เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าของกิจการ นักธุรกิจ นักวิชาการ เข้าร่วมเสวนาทั้งหมด 6 คน ได้แก่
1. ดร.วิระ แข็งกสิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ รอดอาวุธ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
3. นายวิรัช ตั้งประดิษฐ์ กรรมการหอการค้าไทยและประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2
4. พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์
5. นางสุภาพร แตงนารา นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวโรงแรมและร้านอาหารนครสวรรค์
6. นายศรัณย์ ไกรพฤกษะวัน กรรมการบริหารศูนย์การค้า วี-สแควร์ และ วิถีเทพสรรพสินค้า
         พล.ต.อ.สมศักดิ์   จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ กล่าวว่า “ระบบการศึกษาสหกิจ เด็กจะรับความรู้จากสถาบันเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรับจากตลาดแรงงานด้วย เราควรเปิดพื้นที่ในตลาด เพื่อให้เด็กได้ศึกษาเรียนรู้ควบคู่ไปกับการศึกษาภาคทฤษฎี นำทักษะที่มีไปเทียบ ปรับปรุงและเพิ่มเติมต่อไป ตั้งแต่ที่ผมเข้ามาทำงานพบว่าอุดมศึกษาตกงานมากที่สุด ซึ่งเป็นคนที่ควรมีงานทำมากที่สุดแต่กลับไม่มีงานทำ การศึกษาคือจบแล้วต้องมีงานทำ ไม่ใช่จบแล้วตกงาน ซึ่งน่าเป็นห่วง และผมเห็นด้วยกับหลักสูตรนี้ ถ้าเราเปิดพื้นที่ในการเรียนรู้ตลาดเพิ่มเติมในส่วนภาคเอกชนและภาครัฐ จะเป็นการย่นระยะทางในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน
          ส่วนในเรื่องความคาดหวังและสเปกนักศึกษา ผมคิดว่านักศึกษาทุกคนเมื่อมีความรู้ทฤษฎีแล้วต้องบวกเทคโนโลยีเข้าไปด้วย คือต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลด้วย ควบคู่กันไป เนื่องจาก AI เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และเทคโนโลยีสามารถช่วยเติมเต็มการเรียนรู้ได้ สุดท้ายเมื่อเราเปิดพื้นที่การเรียนรู้ในตลาดแรงงานแล้ว ผมเชื่อว่าวันข้างหน้าตัวเลขการตกงานของอุดมศึกษาจะลดลง”

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!