ปราจีนบุรี-ร้อง รมว.วัฒนธรรม ‘เจดีย์ภูเขาทอง’ ถูกเปลี่ยนเป็น ‘เชิงเทินสําหรับสังเกตการณ์ของเมือง’

ปราจีนบุรี-ร้อง รมว.วัฒนธรรม ‘เจดีย์ภูเขาทอง’ ถูกเปลี่ยนเป็น ‘เชิงเทินสําหรับสังเกตการณ์ของเมือง’

ภาพ/ข่าว:มานิตย์ สนับบุญ

          วันนี้ 20 ม.ค.66 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงาน จากกรณีนายกำพล ภู่มณี อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปราจีนบุรี (สว.) และ ชาวจังหวัดปราจีนบุรี ได้ส่งหนังสือร้องเรียน ถึงนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อขอให้พิจารณาแจ้งไปยังกรมศิลปากร ให้ทบทวนการเปลี่ยนป้ายชื่อ ‘โบราณสถานหมายเลข 3’ อําเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีจากของเดิม ‘เจดีย์ภูเขาทอง’ แต่เปลี่ยนมาเป็น ‘เชิงเทินสําหรับสังเกตการณ์ของเมือง’ เนื่องจากเกรงกระทบประวัติศาสตร์ดั้งเดิม – ความรู้สึกชาวบ้าน ที่เชื่อกันว่าโบราณสถาน “ภูเขาทอง” แห่งนี้ เป็นสถูปรูป ตัวโอคว่ำ “ O ” ที่บรรจุโบราณวัตถุเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา อาทิ พระพุทธรูป – พระบรมสารีริกธาตุ เนื่องจากบริเวณดังกล่าว ยังไม่ได้มีการขุดสำรวจ ภายใต้เนินดินนี้ ก่อนหน้านั้น ได้มีการขุดพบพระพุทธรูปทองคํา คือ พระนิรันตราย ในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นั้น
          ดร.ภควัต กิตติธาดาปกรณ์ ครู ชำนาญการพิเศษ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น – วัฒนธรรม กล่าวว่า กรณี ที่กรมศิลปากร ได้เปลี่ยนแปลงชื่อ‘โบราณสถานหมายเลข 3’ อําเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีจากของเดิม ‘เจดีย์ภูเขาทอง’ แต่เปลี่ยนมาเป็น ‘เชิงเทินสําหรับสังเกตการณ์ของเมือง’ เรื่องดังกล่าว นักโบราณคดี ควรได้มีการสอบปากคำของชาวบ้าน อย่าให้ย้อนแย้งขัดแย้งกับชาวบ้านพื้นถิ่น อย่าเอาความเป็นวิชาการจ๋า มาบีบบังคับ ต้องให้เกียรติคนในพื้นที่ของประชาชนเอง เขาจะได้เห็นคุณค่า – มูลค่าโบราณสถาน ดูแล –ล้อมให้โบราณสถานอยู่ยั่งยืน ให้ชุมชนมีส่วนร่วม
          “ภูเขาทอง” อยู่นอกคูน้ำคันดินด้านตะวันตกของเมืองทวารดี ลักษณะเป็นเนินดินทรงกลมสูง 10 เมตร วงรอบฐาน 92 เมตร ตรงกลางอัดด้วยดินลูกรัง บริเวณรอบฐานมีเสาศิลาแลงทรงกลมและแปดเหลี่ยม ส่วนด้านตะวันออกมีบ่อน้ำ 1 บ่อ ภูเขาทอง เป็นชื่อที่เรียกขึ้นมาใหม่ เป็นเนินดิน หรือ หอสังเกตการณ์ ใช้ในการดูทิศทางลม ดูดวงดาว ดูเรือ – ดูข้าศึก ดูผู้คนที่จะเข้ามา ดูสัตว์ร้าย –สัตว์ป่า อาทิ ช้างป่า ส่องไฟคบเพลิงขึ้นไว้ ยกเป็นเรือนไม้ในการสังเกตการณ์หรือส่อง หอป้อมปราการด้านบนโดยรอบทางทิศตะวันตกของเมืองระวังภัย ส่วนสูงสุดเป็นการสร้างพระนิรัยตราย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นไว้ในการประดิษฐาน ขจัดปัดเป่า ภยันอันตรายต่าง ๆ ถือว่าเมืองศรีมโหสถ วางผังเมืองดีมาก
          สำหรับ เมืองมโหสถ (อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี) มีอายุระหว่าง พ.ศ. 1000-1700 เป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ อยู่ใกล้อ่าวไทยโบราณ ติดต่อค้าขายทางทะเล ได้รับอารยะธรรมต่าง ๆ ศาสนา , ประเพณีวัฒนธรรม มาจากกับนานาชาติสมัยนั้น เช่น จีน, อินเดีย, ลังกา ฯลฯ เมืองมโหสถ เป็นชื่อใหม่ที่ชาวพวนเรียกตามชาดกเรื่องพระมโหสถ คำว่า ทราวดี ในนามเดิมคือ ศิลปะ มีการพบโบราณสถาน – โบราณวัตถุ ในแหล่งโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ ทั้งภายในคูเมือง ที่เป็นคูน้ำคันดินรอบตัวเมือง ที่ขุดลงไปในศิลาแลงธรรมชาติเป็นศิลาแลง ที่มีอยู่เดิม คาดว่าเป็นเมืองที่อยู่ของกษัตริย์ หรือ พราหมณ์ จำนวนมาก ทั้ง เทวรูป พบพระพิฆเณศตามความเชื่อศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ สระแก้ว และ สระขวัญ มีเม็ดลูกปัดทวารวดี หรือ ที่ด้านนอกคูกำแพงเมือง พบพระพุทธรูป ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ ที่ได้รับการเผยแพร่มาจากอินเดีย – ลังกา เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เป็นศิลปะ เมืองศรีมโหสถ พบโบราณสถาน และ โบราณวัตถุ เช่น รอยพระพุทธบาทคู่ที่อายุมากกว่า 1,500 ปี ขนาดใหญ่ –เก่าแก่ที่สุด พระพุทธหลวงพ่อทวารวดี พระพุทธรูปปางต่าง ๆ และ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่อายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศกว่า 2,500 ปี นำหน่อมาจากเมืองพุทธคยา ต้นเดียวกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เป็นต้นไม้ต้นเดียวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร โดยโบราณสถานส่วนใหญ่อยู่ที่ภายในคูเมือง และได้รับศาสนา มาจากพราหมณ์-ฮินดู อาทิ การค้นพบพระพิฆเนศหินทรายสีขาวพระวิษณุ จตุรพุทธจะเป็น 4 กร ได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดียน่าจะเดินทางมาทางเรือ ศาสนาฮินดูคาดว่า เป็นพระมหากษัตริย์นับถือ ส่วนพระพุทธรูป หรือ โบราณวัตุทางพระพุทธศาสนา จะค้นพบที่ ด้านรอบนอกคูเมือง จนถึงตำบลโคกไทย ครั้งหนึ่งศาสนาพุทธเคยเจริญรุ่งเรือง ในสมัยก่อนเมืองศรีมโหสถ และมีการนับถือ 2 ศาสนาคือพุทธและพราหมณ์-ฮินดู การที่เมืองศรีมโหสถล่มสลาย อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนถ่ายอำนาจทำให้เมือง ศรีมโหสถ ที่เคยเจริญรุ่งเรืองสมัยก่อนต้องล่มสลาย ตามหลักที่ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป โดยเฉพาะสภาพทะเลที่หายไปตามสภาพกายภาพ บนความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ ศาสนาที่ยาวนานนี้ ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวและชาวปราจีนบุรีมาเที่ยวที่ เมืองศรีมโหสถ มีการงานใหญ่ทางพระพุทธศาสนา คือ งานมาฆบูรมี 15 ค่ำเดือน 3 จัดทุกปี ซึ่งมีรถรางในการนำพาท่องเที่ยวรอบเมือง ศรีมโหสถให้ได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ดร.ภควัต กล่าว
          ขณะที่นายกำพล ภู่มณี อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปราจีนบุรี (สว.) กล่าวว่า หลังที่มีการร้องเรียนกรณีดังกล่าว พบว่านักวิชาการทางโบราณคดีออกมาให้ทรรศนะ จำนวนมาก พบส่วนใหญ่ออกมาว่า‘โบราณสถานหมายเลข 3’ อําเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีจากของเดิม ‘เจดีย์ภูเขาทอง’ นั้นน่าจะเป็นโบราณสถานทางพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับแหล่งโบราณคดีอื่น ๆ เป็นสถูปโดยเฉพาะภายในที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อยากให้ทางการจัดงบประมาณมาขุด ค้น ไม่ว่าจะเป็นอำเภอก็ดี หรือ กรมศิลปากร ค้นหลักฐานเชิงประจักษ์มาปรากฏให้ชัดเจน ตนมีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์มีความเห็นสอดคล้องว่า ขุดพบพระหรืออะไรต่างๆ บริเวณแถบนี้คือศาสนสถาน หรือความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา จะมีการ ลบล้าง ได้ไหม หลังกรมศิลฯเขาบอกว่าเขา เป็นทางราชการ จะสืบค้น แต่เราเป็นชาวบ้าน เราก็เชื่อมาแบบนี้ว่ามันเป็นเจดีย์-สถูป ในเมืองศรีมโหสถจะมีเนินหลายๆเนิน ที่รอขุดค้นพบทางประวัติศาสตร์ เรามีเมืองศรีมโหสถ มีประวัติศาสตร์มาเป็นพันๆปี เมืองศรี มโหสถ เป็นเมืองที่ทำให้คนไทย เราภูมิใจเมืองศรีโหสถ แต่ยังขาดพระสารีริกธาตุยังหวังว่าอาจจะขุดพบเจอขอให้จัดงบวิจัย-พัฒนาทางแหล่งโบราณคดีนี้ ที่เป็นประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย นายกำพล กล่าว

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!