นครสวรรค์-จัดโครงการอบรมส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะด้านการเกษตรในครัวเรือน

นครสวรรค์-จัดโครงการอบรมส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะด้านการเกษตรในครัวเรือน

ภาพ/ข่าว:ชาติชาย เกียรติพิริยะ

           โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต ต.นครสวรรค์ออก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ได้จัดโครงการอบรมส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะด้านการเกษตรในครัวเรือนพร้อมศึกษาแหล่งเรียนรู้ Play and learn เพลินวิถีเกษตร สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 หมู่ที่ 8 หมู่บ้านหาดเสลา เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ทั้งนี้สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นปีที่ 4 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” หมายความว่า พื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นพื้นที่ ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา “ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา” หมายความว่า พัฒนาการของผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ สมรรถนะ ทักษะ และเจตคติ “สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาในระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทสามัญศึกษา “สถานศึกษานำร่อง” หมายความว่า สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือของเอกชน ที่อยู่ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา


               ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นโรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาทักษะด้านการเกษตรในครัวเรือนพร้อมศึกษาแหล่งเรียนรู้ Play and learn เพลินวิถีเกษตร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับช่วงชั้นที่ 2 ”ในวันที่ 30 พฤษาคม พ.ศ. 2562 ณ หมู่บ้านหาดเสลา โดยมี ท่าน ผอ.ณิชนันท์ ฤทธิคง ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครสวรรค์ ท่าน ผอ.สุทธิวัชร์ ทับเจริญ รองอดุลย์ ปรัชญาวุฒิรัตน์ รองอัคคณัฐ ทศศะ คุณอาทิตย์ นิมา คุณดิเรก ชื่นโพธิ์ คุณกมล สังข์อ่อน (นาลุงมี) เปิดงานพร้อมด้วยชาวบ้านหมู่ที่ 8 มาร่วมจัดกิจกรรมให้ความรู้กับนักเรียนในครั้งนี้


              โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ในพัฒนาทักษะด้านการเกษตรในครัวเรือนไปใช้ในชีวิตประจำวันและการการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้นนอกจากนี้ นักเรียนจะเกิดความสนใจใฝ่รู้ทางวิทยาศาสตร์และเกษตรในครัวเรือนสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ต่อไปในอนาคต และนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้เป็นการปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักรักในท้องถิ่นวิถีเกษตรในชุมชนของตนเองมากขึ้นนักเรียนได้ใช้หลักวิทยาศาสตร์การดำรงชีวิตน้อมนำตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในชีวิตประจำวันต่อไป
โดยมีการแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 10 ดังนี้ คือ
ฐานที่ 1 วิถีชีวิตชาวนา นักเรียนจะได้เรียนรู้และทดลองปฏิบัติเกี่ยวกับการทำนา การดำนา การไถนา
ฐานที่ 2 บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงความสัมพันธ์และความสำคัญของบ้าน วัด โรงเรียน ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือกัน
ฐานที่ 3 ขนมหวานที่ฉันชอบ นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงการทำขนมพื้นบ้าน โดยใช้สิ่งของที่มีอยู่ในพื้นที่ มีกรรมวิธีการทำง่ายๆ ได้ประโยชน์
ฐานที่ 4 ศิลปะชุมชน นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ที่มีการสืบทอดต่อๆกันมานาน อันควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบสานต่อไป
ฐานที่ 5 เกษตรสมุนไพร นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงการปลูกพืชสวนครัว ที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางอาหารและยังเป็นสมุนไพรบำรุงรักษาสุขภาพอีกด้วย
ฐานที่ 6 งานประดิษฐ์ ทักษะอาชีพ นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงงานศิลปหัตถกรรมในท้องถิ่นของตนเอง ที่สามารถศึกษา ฝึกปฏิบัติแล้วนำมาเป็นอาชีพเสริมได้อีกทางหนึ่ง
ฐานที่ 7 เรียนรู้เรื่องสวนผลไม้ นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงการปลูกผลไม้พื้นบ้าน การดูแล และรวมไปถึงประโยชน์ของผลไม้พื้นบ้าน ที่หากมีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีก็สามารถนำมาซึ่งรายได้เช่นกัน
ฐานที่ 8 การเพาะเห็ดนางฟ้า สร้างรายได้ นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงการเพาะเห็ดนางฟ้า ที่สามารถทำได้ง่ายๆ ใช้วัสดุท้องถิ่น ซึ่งผลผลิตสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารและหากมีมากพอก็สามารถขายได้อีกด้วย
ฐานที่ 9 น้ำยาเอนกประสงค์ นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงการทำน้ำยาด้วยตนเอง โดยน้ำยานี้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย จะล้างมือ ล้างจานก็สามารถใช้ได้
ฐานที่ 10 การทอผ้า ทอทักษะชีวิต นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงการทอผ้าด้วยกี่กระตุก อันเป็นความรู้ท้องถิ่นที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน สามารถทอผ้าใช้เองได้ และหากเรียนรู้และมีทักษะความชำนาญมากขึ้นก็สามารถทอผ้าขายหารายได้อีกทางหนึ่งด้วย

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!