ปทุมธานี-SMEs เสนอศาลใช้ AI ในการตัดสินคดี

ปทุมธานี-SMEs เสนอศาลใช้ AI ในการตัดสินคดี

ภาพ/ข่าว:อนันต์ วิจิตรประชา

SMEs เสนอศาลใช้ AI ในการตัดสินคดี

             วันนี้ 11 พค. 2564 นายธีรวงศ์ สรรค์พิพัฒน์ ประธานเครือข่ายเอสเอ็มอีรุ่นใหม่ ได้เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร พัฒนาระบบ AI มาใช้ในการพิจารณาตัดสินคดี ซึ่งในอเมริกาก็เริ่มนำ AI มาใช้ที่ศาลอาญา และจีนนำ AI มาใช้ตัดสินคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นระบบ AI จะมีประโยชน์ต่อทั้งคู่ความและศาลดังนี้
1. ในคดีที่ไม่ซับซ้อนคู่ความสามารถยื่น คัดเอกสารได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มความรวดเร็วในการกระบวนการยุติธรรม ลดภาระและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล ยกเว้นคดีที่มีความซับซ้อน หรือคดีที่คู่ความจำเป็นต้องเดินทางสืบพยาน
2. AI แสดงผลการพิจารณาเบื้องต้นเป็นการภายในตามข้อมูลที่ได้รับ โดยบางกรณีในอเมริกา AI อาจไม่แสดงเรื่องประเด็นที่อาจส่งผลต่อกระทบในการพิจารณาเพื่อให้คู่ความได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในประเด็น discrimination สีผิว เชื้อชาติ
3. AI ตัดสินคดีอย่างโปร่งใสไม่เอนเอียงตามข้อมูลที่ได้รับ และในศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (ECHR), หรือ Strasbourg Court ในฝรั่งเศส ก็นำ AI มาใช้ในการพิจารณาภายในซึ่งมีความถูกต้องถึง 79% โดย AI จะแสดงผลการพิจารณาขั้นต้นตาม Algorithm และข้อมูลที่ได้รับเพื่อส่งให้ผู้พิพากษาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งหน่วยงานภายในสามารถตรวจสอบในผลของ AI และความเห็นของผู้พิพากษาได้ ทำให้ลดความยุ่งยากในกระบวนการพิจารณาคดี
4. กำหนดขั้นตอนการนำ AI มาใช้ในคดีแต่ละประเภท เช่นใช้ในการรวบรวมเอกสาร ออกคำสั่ง หรือ จนกระทั่งมีคำพิพากษา ในอเมริกานำระบบ AI the Correctional Offender Management Profiling for Alternative Sanctions (COMPAS) มาใช้ในศาลอาญา เป็นองค์ประกอบในเกณฑ์การประเมินปล่อยตัวจำเลย หลักประกัน โดยมีการให้จำเลยทำแบบทดสอบผ่านระบบเพื่อคำนวนคะแนนความน่าเชื่อถือในพฤติกรรมของจำเลย
การนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้ในกิจการของศาลจะเกิดประโยชน์ให้ทุกฝ่าย โดยอาจนำร่องเริ่มในคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล ศาลชั้นต้น และพัฒนา Algorithm ให้สมบูรณ์ขึ้นไปในอนาคต จนสามารถใช้ในการตัดสินเพื่อให้ได้ข้อยุติที่แท้จริงในประเด็นของกฎหมาย เช่น ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้เเทนราษฎร 51 รายยื่นศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคุณความเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญเป็นตามมาตรา170 วรรค1 (4) ประกอบมาตรา 160 (6) ประเด็นแห่งคดีที่ต้องพิจารณาคือ ผู้ร้องได้ยื่นตามมาตรา170 วรรค1 (4) ประกอบมาตรา 160 (6) ซึ่งหมายถึงมาตรา 160 (6) เป็นเพียงข้อประกอบไม่ใช่ข้อร้องหลักหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ผิดตามมาตรา 160(6) จะถือว่าผู้ร้องได้ยื่นตามมาตรา 170 ซึ่งให้พิจารณาตามมาตรา 160 ทั้งมาตราด้วยหรือไม่ เพราะมาตรา170 ให้ศาลพิจารณาไปตาม มาตรา 160 ทั้งมาตราแล้วย่อมหมายความรวมถึง (4) (5) ผู้ร้องเขียนในคำร้องว่า “ประกอบ” จึงเป็นการให้ความสำคัญหลักที่มาตรา 170 ไม่ใช่มาตราประกอบหรือไม่ กรณีนี้ AI จะตีความว่าตามข้อกฏหมายและฎีกา (ถ้ามี) หรืออาจเทียบเคียงกรณีที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ ถ้าจำเลยกระทำความผิดจริง แต่มีองค์ประกอบเรื่องผู้กระทำความผิดไม่ครบสามคน ทำให้ไม่ผิดตามมาตรา 340 ศาลย่อมพิพากษาตามมาตรา 337 ฐานชิงทรัพย์ได้หรือไม่ ดังนั้นเมื่อ AI ประมวลผลจะทำให้ข้อกฎหมายเป็นที่ประจักษ์ ไม่เลือกปฏิบัติ ข้อกฏหมายที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือตีความเป็นอื่นได้ ทั้งยังสามารถแสดงผลต่อสาธารณะของ AI และผู้พิพากษาที่เห็นตาม หรือเห็นแย้งเพราะสาเหตุอื่นใดได้ การประมวลผลของ AI แม้ไม่ผูกพันต่อคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล แต่จะช่วยให้ศาลปฏิบัติงานได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และได้รับการยอมรับจากสังคมมากยิ่งขึ้น

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!