อุตรดิตถ์-จัดงานเทศกาลทุเรียนหลง-หลินลับแล

อุตรดิตถ์-จัดงานเทศกาลทุเรียนหลง-หลินลับแล

อุตรดิตถ์-จัดงานเทศกาลทุเรียนหลง-หลินลับแล

ภาพ/ข่าว:พูลชัย ราชประสิทธิ์

เมื่อเวลา 09.30 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566  ที่บริเวณสวนรังสฤษฏ์ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ทุเรียนเมืองลับแล  ต.ฝายหลวง อ.ลับแล
จ.อุตรดิตถ์ จากการนำของนายสมหวัง พ่วงบางโพผวจ.อุตรดิตถ์ นางวันทนา พ่วงบางโพ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอุตรดิตถ์ นางพรทิพย์ ศรีสมโภชน์ เกษตรจังหวัด นายศิวัช ฟูบินทร์ นายอำเภอลับแล นาง ชลธิชา ฟูบินทร์ กิ่งกาชาด อ.ลับแล นายอนันต์ สีแดง ผอ.ททท.สำนักง่นแพร่ และรองนายก เทศบาลตำบลหัวดง
ร่วมกันแถลงข่าว โดยมี นายประเดิม เดชายนต์ยัญชา นายอำเภอเมือง นายสุรชัย​ วาณิชย์​ปกรณ์​ ประธาน​สภา​อุตสาหกรรม​จังหวัด​อุตรดิตถ์​ พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้กำหนดจัดงาน “เทศกาลทุเรียนหลง – หลินลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี 2566” ช่วง  ระหว่างวันที 30 มิถุนายน ถึงวันที 4 กรกฎาคม 2566 ณ ตลาดกลางผลไม้เทศบาลตำบลหัวคง  COTOP) อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตาม  12 เป้าหมายร่วมจังหวัดอุตรดิตถ์ งเสริมให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรมีรายได้จากการขายผลผลิตทุเรียนมากขึ้นกระตุ้นให้เกษตรกรผลิตทุเรียนคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค  ตลอดจนเพื่อให้มีนักท่องเทียวมาจังหวัดอุตรดิตเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชน
        จากการเปิดเผยของ นายสมกวัง ผวจ.กล่าวว่าสถานการณ์ทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์  โดยจังหวัดอุตรดิตถ์มีพื้นที่ของการปลูกทุเรียนจำนวน 48,314 ไร่ มีเกษตรกรที่ปลูกทุเรียน 7,145 ราย มูลค่าผลผลิต 4,440 ล้านบาท  พันธ์ุที่ นิยมปลูก ได้แก่ พันธ์ุหมอนทอง พันธ์ุหลงลับแล พันธุ์หลินลับแล และพันธุ์พื้นเมืองส่วนใหญ่มีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ในอำเภอลับแล อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอำเภอท่าปลา ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากเนื่องจากมีศักยภาพด้านการส่งออกไปประเทศจีน  สร้างมูลค่าปีละประมาณ 3,300 ล้านบาท ส่วนทุเรียนพันธุ์หลงลับแล และหลินลับแลเป็นพันธุ์ที่ผู้บริโภคในประเทศนิยมมาก เนื่องจากมีรสชาติอร่อยหวานมัน กลิ่นอ่อน เส้นใยน้อย  พันธุ์ใหม่ เนื้อเนียนละเอียด มีอัตลักษณ์และลักษณะเด่นเฉพาะตัว ทำให้ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เมื่อปี พ.ศ. 2555  ปัจจุบันมีเกษตรกรขอใช้ตราสัญลักษณ์ GI ทุเรียนหลงลับแล จำนวน 127 ราย และทุเรียนหลินลับแล จำนวน 30 ราย
         นอกจากนี้ เกษตรกรยังได้รับการรับรอง พื้นที่ปลูก 5,138 ไร่ ซึ่งผลผลิตนอกจากนี้เกษตรกรยังได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP จำนวน 802 รายพื้นที่ปลูก ทุเรียน 5,138 ไร่  ซึ่งผลผลิตจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และออกมากที่สุดในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี  สำหรับสถานการณ์การผลิตทุเรียนปีนี้ ผลผลิตรุ่นแรกออกสู่ตลาดในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ 4,720.98 ตัน คิดเป็นมูลค่า 684.45 ล้านบาท แบ่งเป็น ทุเรียนหมอนทอง 3,479.65 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 521.95 ล้านบาท ทุเรียนหลงลับแล 226.05 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 79.12 ล้านบาท  ทุเรียนหลินลับแล 69.74 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 31.38 ล้านบาทและ ทุเรียนพื้นเมือง 945.54 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 52.00 ล้านบาท ขณะนี้เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนรุ่นที 2 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีการเก็บเกียวผลผลิตทุเรียนมากที่สุดของจังหวัด ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์เริ่มเก็บเกี่ยวมากช่วงปลายเดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาด 32,370.65 ตัน ดังนี้ ทุเรียนหมอนทอง ผลผลิต 24,357.56 ตัน ทุเรียนหลงลับแล ผลผลิต 1.265.88 ตัน ทุเรียนหลินลับแล 129.51 ตัน ทุเรียนพื้นเมือง ผลผลิต 6,617.70 ตัน ในส่วนของเดือนสิวหาคม-กันยายนจะเป็นทุเรียนรุ่นสุดท้ายคาดการณ์ว่าจะมีผลผลิต ออกสู่ท้องตลาด 29% 8,864.99 ตัน

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!