ปปส.ภาค 7 ร่วมกับ ศูนย์ยาเสพติด และ สื่อมวลชน ร่วมสัมมนาป้องกันปัญหายาเสพติด

ปปส.ภาค 7 ร่วมกับ ศูนย์ยาเสพติด และ สื่อมวลชน ร่วมสัมมนาป้องกันปัญหายาเสพติด

ภาพ/ข่าว:เจริญ อาจประดิษฐ์

ปปส.ภาค 7 ร่วมกับ ศูนย์ยาเสพติด และ สื่อมวลชน ร่วมสัมมนาป้องกันปัญหายาเสพติด

               เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 6 ก.ค.65 นายทัศน์พงษ์ วัฒนายากร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 7 (ผอ.ปปส.ภ.7) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนภาคตะวันตกเพื่อสร้างการรับรู้การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและประมวลกฎหมายยาเสพติด ประจำปี 2565 ณ โรงแรม ฟอร์จูน แสงจันทร์ บีช ระยอง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ยาเสพติด 8 จังหวัดภาคตะวันตก และ สื่อมวลชน เข้าร่วม นางมนัญญา ไวอัมภา ผู้อำนวยการส่วนยุทธศาสตร์และอำนวยการ (ผอ.ยอ.) กล่าวว่า แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565 มีมาตรการบริหารจัดการบริหารอย่างบูรณาการ ขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ เพื่อรองรับประมวลกฎหมายยาเสพติด มีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญคือ การสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประมวลกฎหมายยาเสพติด และการแก้ไขปัญหายาเสพติด สื่อมวลชน เป็นกลไกหลักสำคัญ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานภาคี สื่อโทรทัศน์ท้องถิ่น สื่อวิทยุ สื่อหนังสือพิมพ์ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 8 และสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด รวม 8 จังหวัด สถานีวิทยุกระจายเสียง 6 แห่ง ร่วมกันเดินทางดูงาน ด้านการปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ภาคตะวันออก ณ สำนักงาน ปปส.ภาค 2 จังหวัดชลบุรี และศึกษาดูงานด้านการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง และการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในชุมชน ณ ศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่บ้านซากมะหาด จังหวัดระยอง

               นายทัศน์พงษ์ วัฒนายากร กล่าวว่า ผอ.ปปส.ภ.7 กล่าวว่า สงครามยาเสพติด ตามประมวลกฎหมาย รัฐบาลมีนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด บางส่วนยาเสพติด พืชเสพติด มีการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ส่วนในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด มีการตรวจสอบทรัพย์สินคดียาเสพติด โดยแยกคดีทรัพย์สินไม่ผูกติดกับผลคดีอาญา และให้ริบทรัพย์สินตามมูลค่า การกำหนดความผิดในคดียาเสพติด ลงโทษตามสัดส่วนกับความร้ายแรงของการกระทำความผิดแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ นายทุน แรงงาน และเหยื่อ มุ่งเพิ่มเครื่องมือและอำนาจทางกฎหมายให้หน่วยงานปราบปรามยาเสพติด สามารถทำลายโครงสร้าง หรือเครือข่ายการค้ายาเสพติดที่สำคัญมากกว่าการดำเนินการกับกลุ่มแรงงาน และแนวคิด การนำผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดรักษาฟื้นฟูอย่างเหมาะสม ในระดับปัจเจกบุคคล เพื่อลดระดับความรุนแรงของปัญหายาเสพติดในสังคมไทย นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ “สังคมไทยปลอดภัยยาเสพติด” ต่อไป

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!