ร้อยเอ็ด-ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ ชี ยัง และแก้มลิงวังอีผุย

ร้อยเอ็ด-ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ ชี ยัง และแก้มลิงวังอีผุย

ภาพ/ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน/อำนวย ระดาบุตร บก.ข่าว/สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด

        คณะกรรมาธิการวิสามัญการบริหารจัดการน้ำ ผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ ชี ยัง และแก้มลิงวังอีผุย จังหวัดร้อยเอ็ด

          นายศักดา คงเพชร ประธานคณะอนุกรรมาธิการการบริหารจัดการน้ำสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย นางผ่องศรี แซ่จึง รองประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ นายเลิศบุศย์ กองทองรองผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมลงพื้นที่กับคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบสภาผู้แทนราษฎร ในโอกาสลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ชี้แจงและรับฟังการบริหารจัดการ แนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำโขง เลย ชี มูล สงคราม ณ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด
          ทั้งนี้ การศึกษาดูงานประกอบด้วย การดูงานโครงการเกษตรปลอดสารพิษ ที่บ้านป่ายาง ต.หนองผือ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ดูงานอ่างเก็บน้ำวังอีผุย ต.หนองหิน อ.เมืองสรวง โดยมีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องฯ นายสุวัฒน์ เบ้าจังหาร นายอำเภอเมืองสรวงฯ นายสัมฤทธิ์ วงศ์จำปา นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนองหิน ตำบลหนองผือ กำนันผู้ใหญ่บ้าน พี่น้องประชาชนในพื้นที่ร่วมต้อนรับ ร่วมรับฟังและร่วมเสนอข้อมูลในการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำยัง และแหล่งน้ำแก้มลิงวังอีผุย ต.หนองหิน ในพื้นที่อำเภอเมืองสรวง
          นายศักดา คงเพชร ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ เปิดเผยว่า การศึกษาครั้งนี้ เพื่อดูแนวทางการนำน้ำจากนอกประเทศ นำเข้าสู่พื้นที่การเกษตรของจังหวัดร้อยเอ็ด โดยผ่านลุ่มน้ำ น้ำห้วยแอ่ง ห้วยใส้ไก่ ห้วยกุดแดง ลุ่มน้ำเตา พลับพลา น้ำเสียว นำน้ำเข้าพื้นที่ ทั้งอาศัยการสูบน้ำมายังแหล่งเก็บน้ำ แล้วส่งทางห้วยใส้ไก่อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก โดยที่วังอีผุย มีความจุ กว่า 5 ล้านลบ.เมตร เป็นแก้มลิงรับน้ำจากห้วยแอ่ง ห้วยกุดแดง ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 125 เมตรแล้วส่งน้ำทางแรงโน้มถ่วงของโลกเข้าพื้นที่การเกษตรของทุ่งกุลาร้องให้ ของอ.เมืองสรวง อ.สุวรรณภูมิ เพื่อให้มีน้ำและทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ปลูกข้าวหอมลิอินทรีย์ เพื่อบริโภคและการส่งออก นำรายได้เข้าสูประเทศ คาดว่าปีหน้าจะเริ่มดำเนินการเป็นระบบ ทั้งทิศทางการนำน้ำเข้ามา แล้วส่งไปยังพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในที่ทำการเกษตร 57.7 ล้านไร่ มีพื้นที่ชลประทาน 33.5 ล้านไร่ คลองส่งน้ำยาวถึง ประมาณ 2 พันกิโลเมตร เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปีป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!