ร้อยเอ็ด-จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟและบวชควายจ่า(ควายหลวง)สืบสานอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมอันดีงามของท้องถิ่น

ร้อยเอ็ด-จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟและบวชควายจ่า(ควายหลวง)สืบสานอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมอันดีงามของท้องถิ่น

ภาพ/ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน 

         ชาวบ้านแมด ต.เชียงขวัญ อ.เชียงขวัญ จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟและบวชควายจ่า(ควายหลวง)สืบสานอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมอันดีงามของท้องถิ่น ซึ่งได้สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ เป็นเวลา 120 ปี

           เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 นายสรรเพชญ พันธ์พักดี ประธานสภาวัฒนธรรม อ.เชียงขวัญ ชาวบ้านแมด ได้ร่วมกันจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ในวันที่ 9-11มิถุนายน 2566 จึงได้ทำพิธีบวชควายจ่า(ควายหลวง)เพื่อเข้าร่วมในงานประเพณีบุญบั้ง ที่บรรพบุรุษได้สืบทอดกันมาเป็นเวลา 120 ปี ประวัติควายจ่า(ควายหลวง)จึงเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปสู่ประชาคมโลกได้เห็นและตระหนักคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดจากความเชื่อจนไกลมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมถือเท่าทุกวันนี้ ซึ่งในงานนี้ ดร.ฉลาด ขามช่วง สจ.ตุลธร ขามช่วง สจ.โพธิ์ชัย ได้เดินทางมาร่วมงานเพื่อเป็นกำลังใจให้คณะกรรมการจัดงานเพื่อให้ลูกหลานได้อนุรักษ์ สืบทอดกันไปเป็นมรดกของบ้านเมืองสืบต่อไป.

            ทั้งนี้ งานบุญบั้งไฟอีสาน ทั้งในหมู่บ้านชานเมืองและชนบทห่างไกล คนมักจะให้ความสนใจกับขบวนแห่-ฟ้อน-เซิ้งบั้งไฟในวันแรกของงานที่เรียกว่าวันโฮม และการจุดบั้งไฟหลายขนาดอันน่าตื่นเต้นในวันรุ่งขึ้นที่เรียกว่าวันจูด (วันจุด) แต่การจัดงานบุญบั้งไฟที่บ้านแมด อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด จะมีการจัดพิธีกรรมที่แตกต่าง แปลกตา น่าตื่นใจมากกว่าที่อื่นๆ หลายแห่ง คือเมื่อถึงวันโฮมหรือวันแห่ ทางหมู่บ้านจะมีการจัดให้มีพิธีกรรมบวชควาย ที่เรียกคนที่บวชเป็นควายว่า ควายจ่า หรือควายฮาด ซึ่งจะทำพิธีบวชในตอนเช้า โดยคนที่จะบวชเป็น “ควาย” จะทาใบหน้าและร่างกายเปลือยท่อนบนด้วยดินหม้อจนดำไปทั้งตัว รอบขอบตาทาด้วยสีแดงเห็นชัดเจน สวมหัวมีเขาที่ทำขึ้นเองโดยสมมติเป็นเขาควาย สะพายเฉียงไหล่ด้วย “พรวนทาม” ที่เป็นเครื่องสัญญาณเสียงคล้องคอควายที่เอวของคนที่บวชควายมีท่อน “อวัยวะเพศชาย” ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนขนาดยาว-ใหญ่ ทาสีแดงที่ปลาย ผูกติดเอวอยู่ด้วยเชือก และมีสายเชือกผูกโยงไปข้างหลัง มีชายอีกคนหนึ่งที่สมมติเป็นเจ้าของควายจับปลายเชือกบังคับควาย เดินออกหน้าขบวนแห่ที่มีกลุ่มคนแต่งกายแปลกๆ ร่วมกันฟ้อนเซิ้งอย่างสนุกสนาน ประกอบดนตรีพื้นบ้านบรรเลงไปทั่วหมู่บ้าน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!