ปราจีนบุรี-ร้องทุกข์ชาวบ้าน โขลงช้างป่า บุกหากินในป่าอ้อย-มันสำปะหลังไม่กลับคืนถิ่น

ปราจีนบุรี-ร้องทุกข์ชาวบ้าน โขลงช้างป่า บุกหากินในป่าอ้อย-มันสำปะหลังไม่กลับคืนถิ่น


ภาพ-ข่าว:มานิตย์ สนับบุญ

              วันนี้ 10 ม.ค.66 ผู้สื่อข่าวจังหวัดปราจีนบุรีรายงานว่าได้รับการร้องทุกข์ชาวบ้านจากชาวตำบลวังท่าช้าง พบโขลงช้างป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรารวมมากกว่า 100 ตัว(บวก)บุกยกโขลงเข้ามาหากินไร่อ้อยของชาวบ้านบ้านวังกวางหมู่ที่ 11 ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบรอยช้างป่าเข้ามาหากินในพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านเฉพาะในไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลังถูกโขลงช้างป่ากัดกินพืชผลการเกษตรเสียหายย่อยยับ
              นายวันชัย ทองอ้ม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 บ้านวังกวางกล่าวว่ามีโขลงช้างป่าอ่างฤาไนแปดริ้ว ข้ามฝั่งเข้ามาหากินอยู่ในพื้นที่ฝูงใหญ่เป็นเวลาหลายเดือนแล้วตั้งแต่ปลายปี65 ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ร่วมกับอบต.อาสาเฝ้าระวังช้างป่าร่วมกับชุดผลักดันช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนได้ผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง แต่โขลงช้างป่าก็ยังวนเวียนกลับมาหากินอยู่ในพื้นที่สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านอย่างหนักวอนขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากช้างป่าที่มากัดกินและเหยียบย่ำพืชผลทางการเกษตรอย่างเป็นธรรมและรวดเร็วและอยากให้ทางรัฐบาลและส่วนที่เกี่ยวข้องการผลักดันฝูงช้างป่าไม่ให้เข้ามาหากินในพื้นที่เกรงว่าชาวบ้านอาจจะได้รับอันตรายจากช้างป่า ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรทำไร่อ้อยทำไร่มันสำปะหลังและนาข้าว อาจพบกับช้างป่าโดยบังเอิญอาจได้รับได้รับอันตรายจากช้างป่า              ด้านนายธำรงศักดิ์ จาบกุล สารวัตรกำนันตำบลวังท่าช้างกล่าวว่า ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีโขลงช้างป่าเข้ามาหากินในพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน ได้รายงานให้กำนันทราบลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่ามีโขลงช้างป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ซึ่งอยู่ติดกับเขตรอยต่อ เข้ามาหากินในพื้นที่ แล้วทำลายพืชผลการเกษตรของชาวบ้านเสียหาย ทางผู้นำท้องถิ่นท้องที่ร่วมกับอบต.ได้ทำการร่วมกันผลักดันช้างป่าอ่างฤๅไนออกจากพื้นที่ช่วงเมื่อบ่ายวานนี้ แต่เนื่องจากฝูงช้างป่ามากจึงแตกฝูงไม่ยอมกลับพื้นที่หากินเดิม ซึ่งขณะนี้มีฝูงช้างป่าหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ประมาณ 30 ตัวซ่อนตัวอยู่ในป่าอ้อยและป่ายูคาลิปตัสและได้ประกาศเตือนประชาชนห้ามไม่ให้เข้าไปยังจุดอาศัยอยู่ และจะได้ทำการผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง

                 ต่อมาเมื่อ 16.00น.วันนี้ 10 ม.ค.66 ความคืบหน้าล่าสุด นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีพร้อมด้วยปภ.จังหวัด สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 ปราจีนบุรี อบต. กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และจิตอาสาเฝ้าระวังช้างป่าลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ที่เข้ามาหากินในพื้นที่ ซึ่งจำนวนฝูงช้างป่า 100 ตัว(บวก) ได้อพยพเข้ามาหากินในพื้นที่การเกษตรของราษฎรสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก โดยได้ทำการมาลงพื้นที่ป่าอ้อยข้างหมู่บ้านโดยใช้ โดรนบินสำรวจ ได้พบโขลงช้างป่าจำนวนดังกล่าวกำลังพ่กันหากินและอาศัยอยู่ในป่าอ้อยทึบสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย อาสาสมัครและผู้นำท้องถิ่นท้องที่เฝ้าระวังฝูงช้างป่าไม่ให้อยู่ในที่ควบคุมหากฝูงช้างป่า คนต้อนผลักดัน มีความพร้อมที่จะอพยพ ชุดผลักดันก็จะทำการผลักดันช้างป่าให้ออกจากพื้นที่กลับไปอยู่ในพื้นที่ของป่าอนุรักษ์ พร้อมกับแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนให้เฝ้าระวังหน้าที่จะคอยกัน ไม่ให้ช้างป่าหมู่บ้านอาจจะทำความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ระยะต่อไปจะหารือกันงานกันในทุกๆฝ่ายผลักดันช้างป่าให้กลับพื้นที่อนุรักษ์ ไม่ให้ออกมาหากินในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ส่วนการช่วยเหลือเยียวยาให้แก่เกษตรกรที่ได้รับการเสียหายเร่งการช่วยเหลือตามกฎเป็นของทางราชการที่กำหนดไว้ ส่วนใหญ่ช้างป่าที่เข้ามาหากินในพื้นที่ของเกษตรกรลักษณะฉาบฉวยไม่ได้เสียหายแบบ 100% ทางอบต.จะสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือตามตามสมควร นั้นได้เดินทางไปเยี่ยมให้กำลังใจครูนาตยา เรืองศรี ที่ถูกช้างป่าเข้ามาพังยุ้งข้าวและกินเปลือกไปกินเมื่อคืนวานก่อน
                 ด้านนายสุนทร คมคาย แกนนำวิสาหกิจชุมชนว่าที่ผู้สมัคร สส.ปราจีนบุรีพรรคก้าวไกล เขต3 และอาสาสมัครเฝ้าระวังผลักดันช้างป่า ต.เขาไม้แก้ว อ. กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า โขลงช้างป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขา อ่างฤาไน( ในผืนป่าราบต่ำแห่งสุดท้ายในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออกจ.ฉะเชิงเทรา จ.สระแก้ว จ.จันทบุรี จ. ชลบุรี จ.ระยอง) จำนวนมากกว่า100ตัว(บวก)ดังกล่าว ข้ามฝั่งมาจากพื้นที่ริยต่อจ.ฉะเชิงเทรา ชาวบ้านทำการผลักดัน เมื่อกลางดึก ช่วงคนเผลอ้ช้าวันนี้ก็หวรกลับคืนมาไม่ยอมกลับคืนถิ่นเดิม โดยยกโขลงเข้ามาพัก ที่อยู่อาศัยที่บริเวณสวนป่ายูคาลิปตัสที่ถูกปล่อยรกร้างว่างเปล่าของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่หมดสัญญาการทำสัมปทานจากกรมป่าไม้เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื้อที่รวมมากกว่า 2,000 ไร่ ตั้งแต่ช่วงสมัยอดีตพลตรีสนั่น หรือเสธฯหนั่น ขจรประศาสตร์อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ ที่มี โขลงช้างป่าได้เข้ามาอาศัยอยู่ก่อนหน้ากว่า30ตัว(บวก) โขลงช้างป่ารวมจำนวนกว่า 100 ตัว(บวก) ได้ข้ามฝั่งจากแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา เข้ามาหากินและ อาศัยอยู่ ในสวนป่ายูคาลิปตัสร้างดังกล่าวหลังถูกผลักดัน โดยในแต่ละวัน ในช่วงกลางคืนจะยกโขลงออกหากิน ถึงจะถูกผลักดันก็ ไม่ยอมยกโขลง กลับคืนผืนป่าราบต่ำฯ ถิ่นที่อยู่ดั้งเดิม ที่ป่า แปดริ้ว หรือ จ.ฉะเชิงเทรา เพราะพื้นที่ฝั่งต.วังท่าช้าง ต.เขาไม้แก้วมีแหล่งอาหารคือไร่อ้อย – ไร่มันสำปะหลังที่ช่วงแล้ง-หนาวนี้กำลังให้ผลผลิต-กำลังตัดส่งโรงหีบน้ำตาล และมีที่อยู่พร้อม
              นายสุนทร กล่าวต่อไปว่า ได้เสนอเป็นนโยบายพรรคก้าสไกลใรกาแก้ไขปัญหาช้างป่าภาคตะวันออก เสนอแนวทาง เพื่อแก้ไขแหล่งอยู่อาศัยของโขลงช้างป่า ที่เข้ามาใช้สวนป่ายูคาลิปตัสร้าง ที่ครบสัมปทานไปแล้วนี้ เป็นไปได้หรือไม่ที่ทางรัฐบาลฯหรือกรมป่าไม้ จะมอบหมายอำอาจทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) อาทิ องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ได้เข้าไปดูแล-จัดสรรให้ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรต่างๆ(?) หรือ ทำพื้นที่ทั้งฝั่งปราจีนบุรี-แปดริ้วแถบป่าพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว แบบซาฟารี มีการปลูกอาหาร แหล่งน้ำ คูกันช้างป่า นายสุนทร กล่าว
              ต่อมา นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ได้ตรวจสอบพื้นที่ ที่ช้างป่ากว่า 100 ตัวขณะกำลังกินอ้อยในพื้นที่บ้านวังกวาง หมู่ที่ 11 ต.วังท่าช้าง โดยตรวจสอบภาพกลุ่มช้างป่าจากโดรนซึ่งถ่ายภาพในมุมสูง และ เวลา 16.10 น. ตรวจเยี่ยมประชาชนที่ช้างป่าทำลายกำแพงคอนกรีต 2 ด้าน ซึ่งเป็นบ้านของนางบุญจันทร์ ทองใส บ้านเลขที่ 308/1 หมู่ที่ 4 ต.วังท่าช้าง จากนั้น เวลา 16.50 น. ตรวจเยี่ยมประชาชนที่อาคารคอนกรีต(ยุ้งฉางข้าว)ที่ใช้เป็นที่เก็บข้าวเปลือก ตัวอาคารกำแพงพังเสียหายทั้งสองด้าน ข้าวเปลือกในยุ้งฉางข้าวได้รับความเสียหาย
            ทั้งนี้ นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ประธานที่ประชุม ได้แจ้งกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาช้างป่า ดังนี้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบทางราชการ , ให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1และส่วนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการผลักดันช้างให้อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ , ขอให้ทุกส่วนราชการระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ผลักดันช้างป่า โดยพึงระลึกเสมอ ว่า ” ช้างป่าทำอันตรายคนได้ แต่คนทำอันตรายช้างป่าไม่ได้ ตลอดจนต้องหามาตรการป้องกันช้างป่าและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า” , ขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาช้างป่า
           โดยพิจารณาทำคูกั้นช้าง หรือทำคูกั้นช้างเป็นสวนสัตว์เปิดเพื่อทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว ต่อไป , ขอให้ กอ.ปภ.จ.ปราจีนบุรี ประสานกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อหารือแนวทางการแด้ไขปัญหาช้างป่าบุกรุกทำลายบ้านเรือนประชาชน ทำลายพืชผลทางการเกษตร จากการหารือในที่ประชุมฯจะเห็นได้ว่า พฤติกรรมของช้างป่าที่บุกรุกพื้นที่เกิดจาก ช้างป่ามีความต้องการหาอาหารใหม่ๆในพื้นที่ ได้แก่ อ้อย ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง ฯลฯ ขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาช้างป่าโดยแจ้งผู้เข้าร่วมประชุมให้เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!