อุบลราชธานี-จัด เทศกาล”ยลเทียนพรรษา มรดกล้ำค่า เมืองดอกบัว”แทนการแห่เทียนพรรษา

อุบลราชธานี-จัด เทศกาล”ยลเทียนพรรษา มรดกล้ำค่า เมืองดอกบัว”แทนการแห่เทียนพรรษา

ภาพ-ข่าว:กิตติภณ เรืองแสน

          วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 นายเกริกชัย ผ่องแผ้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการจัดเทศกาล “ยลเทียนพรรษา มรดกล้ำค่า เมืองดอกบัว” ประกอบด้วยผู้แทน นายก อบจ.อุบลราชธานี ,ผู้แทนนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานีและผู้แทนสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ,ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานีรวมทั้งภาครัฐภาคเอกชน ภาคสื่อมวลชนร่วมหารือกับแกนนำชุมชนภาคประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจสร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
          โดยเฉพาะภาคประชาชนได้มีข้อกังวลถึงสถานการณ์ผู้ป่วย covid 19 จังหวัดอุบลราชธานี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นห่วงความไม่ปลอดภัยของประชาชนกับการจัดเทศกาล “ยลเทียนพรรษา มรดกล้ำค่า เมืองดอกบัว” รวมวิตกกังวลมาตรการคุมเข้มโควิด และกำหนดควบคุมคนเข้างานไม่เกิน 2,500 คนต่อรอบ นั้น
           นายเกริกชัย ผ่องแผ้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เผยว่า การจัดเทศกาล “ยลเทียนพรรษา มรดกล้ำค่า เมืองดอกบัว” ระหว่าง 22-28 ก.ค.64 นี้ จังหวัดอุบลราชธานี งดการแห่เทียนพรรษา งดการจำหน่ายอาหาร โดยเน้นการสื่อสารสร้างการรับรู้ผ่านสื่อออนไลน์ เป็นหลัก เช่นกิจกรรม เยือนวิถีชุมชน คนทำเทียนตามคุ้มวัดในเขตเทศบาล 12 คุ้มวัด
           เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติช่างเทียน ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่า ของชาวอุบลรวมทั้งเพิ่มมูลค่าแนะถิ่นกิน เที่ยวของกินของฝาก และแชร์ผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นครั้งแรก ประชาชนอยู่ไหน ๆ ก็สามารถชมงานเทียนออนไลน์ ถ่ายรูปเทียนออนไลน์โดยไม่ต้องเข้าร่วมงาน ผ่านแอปน้องเทียนธรรมและรวมการเฉพาะกิจแอดมินเพจชาวอุบลฯทั่วประเทศ
            สำหรับประเด็น การควบคุมประชาชน เข้าชมงาน ในบริเวณทุ่งศรีเมือง ตามการคำนวณของ line map การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภายในบริเวณพื้นที่ทุ่งศรีเมือง สามารถจุคนได้ 2,500 คน เป็นมาตรการควบคุมจำกัดคนเข้าชมงาน เพื่อคุมเข้มห่างไกล covid โดยผู้เข้าชมงานต้องลงทะเบียนล่วงหน้า จำนวน 2,000 คน walk-in ไม่เกิน 500 คน ไม่เน้นการรวมคน แต่อย่างใด
            ด้านสถานการณ์ผู้ป่วยโควิดจังหวัดอุบลราชธานี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ เดินทางมาจาก กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล และเป็นชาวอุบล เดินทางเข้ามารักษาตัวในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอุบลฯ พร้อมดูแลรักษาภายใต้โครงการคนอุบลไม่ทอดทิ้งกัน
           โดยอัตราผู้ป่วยที่เดินทางจาก กทม.เข้ารักษาที่จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 91 และผู้ป่วยที่รักษา อยู่ที่บ้านของตนเองหรือเถียงนา Model ร้อยละ 8 ส่วนอีกร้อยละ 1 เป็นการแพร่ระบาดในพื้นที่หรือโดยเฉลี่ย 2 คนต่อวัน นับเป็นการควบคุมการแพร่ระบาด เชื้อไวรัสโควิด19 สามารควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกัน การแพร่ระบาด จังหวัดฯได้เข้มงวด การรวมคนเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่เดียวกัน อย่างเต็มที่ โดยมีการคัดกรอง ตามมาตรการ คุมเข้มโควิดอย่างใกล้ชิด

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!