สุพรรณบุรี-เพิ่มศักยภาพสื่อท้องถิ่นตะวันตกเพื่อการสื่อสารสาธารณะและการพัฒนาชุมชน

สุพรรณบุรี-เพิ่มศักยภาพสื่อท้องถิ่นตะวันตกเพื่อการสื่อสารสาธารณะและการพัฒนาชุมชน

ภาพ/ข่าว:มงคล สว่างศรี/ภัทรพล พรมพัก/ธนกฤต แตงโสภา/นพดล แก้วเรือง/ไพรัช ภมรพล/โสภณ สว่างศรี/นิกร สิงห์พิมาตร์/ดนัยภพ สังข์สุวรรณ

เพิ่มศักยภาพสื่อท้องถิ่นตะวันตกเพื่อการสื่อสารสาธารณะและการพัฒนาชุมชน

        สำนักงานกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวทีสัมมนาการพัฒนาพื้นที่สื่อท้องถิ่นตะวันตก เพื่อการสื่อสารสาธารณะและการพัฒนาชุมชน ที่ห้องประชุมโรงแรมศิลาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี นายวีระ พงษ์กังวานนวกุล ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ สำนักงานกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นายชษฐา มั่นคง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) นายสมเกียรติ จันทรสีมา ผอ.สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมเปิดเวทีเสวนาการพัฒนาพื้นที่สื่อท้องถิ่นตะวันตก เพื่อการสื่อสารสาธารณะและการพัฒนาชุมชน โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตัวแทนสื่อท้องถิ่นพื้นที่ภาคตะวันตกเข้าร่วมเสวนา สื่อมวลชนประกอบด้วย สื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ วิทยุชุมชน และสื่ออิสระ ต่าง ๆ ของชุมชนจาก จ.กาญจนบุรี จ.สุพรรณบุรี จ.ราชบุรี และ จ.เพชรบุรี

          การเสวนาครั้งนี้มีหัวข้อชื่อ “ยุคดิจิตอลวิกฤตหรือโอกาสของการทำสื่อท้องถิ่นชุมชน” พร้อมการแบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิดแนวทางงานเพื่อให้เกิด“ศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน(Community Media Learning Center)ในภูมิภาคตะวันตกเอง ซึ่งมีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ มีกลุ่มนักข่าวทั้งสื่อชุมชนสื่อท้องถิ่นกระจายทำงานอยู่ในหลายพื้นที่ ทั้งประเด็นเรื่องอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประเพณีวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การศึกษาติดตามภัยพิบัติ ประเด็นชาติพันธุ์ การเปิดพื้นที่ให้บุคคลเหล่านี้ได้พบกัน มีแหล่งเรียนรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพร่วมกัน มีช่องทางที่จะสื่อสารและสนับสนุนกัน เพื่อที่จะทำให้สื่อชุมชนหรือสื่อท้องถิ่น เดินหน้าต่อไปได้และยังประโยชน์แก่ชุมชนได้จริง ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา “ศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน” (Community Media Learning Center) ในภูมิภาคตะวันตก เพื่อพัฒนารูปแบบ/วิธีการสื่อสารในประเด็นปัญหาของคนทำสื่อในภูมิภาคตะวันตก เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนทำสื่อท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันตก ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และกำหนดวาระการทำงานร่วมกัน เพื่อเปิดโอกาสให้คนทำสื่อท้องถิ่น ทั้งกลุ่มสื่อชาติติพันธุ์ สื่อในพื้นที่เปราะบาง สื่อในพื้นที่ภัยพิบัติ สื่อวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้นำเสนอผลการทำงานของตนเอง ซึ่งย่อมจะทำให้ได้รับผลโดยเกิดแนวทางการพัฒนา “ศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน” (Community Media Learning Center) ในภูมิภาคตะวันตก เกิดการพัฒนาวิธีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะเข้าถึงประชาชนและกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานของคนทำสื่อในภูมิภาคตะวันตกและการสร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างกันต่อไป


สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!