มน.ประสบผลสำเร็จสารตรวจสอบไกลโฟเชตและพาราควอท ใช้ได้จริง

มน.ประสบผลสำเร็จสารตรวจสอบไกลโฟเชตและพาราควอท ใช้ได้จริง

ภาพ/ข่าว:อนุชา แก้วคำมา

         อาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้คิดค้นชุดตรวจสอบวัดสารพิษพาราควอท และไกลโฟเซท ในน้ำ ผัก ผลไม้ ให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อป้องกันสารพิษเข้าสู่ร่างกายของผู้บริโภค โดยใช้งานง่าย แม่นยำ และมีราคาถูกกว่าการนำไปใช้ทดสอบในห้องแลป

         เมื่อวันที่ 24 ต.ค.62 ผศ.ดร.วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์ และรองศาสตราจารย์ ดร.รัตนา สนั่นเมือง อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะ เปิดเผยว่า ได้ร่วมกันวิจัยคิดค้นชุดทดสอบพาราควอท และไกลโฟเซต สารเคมีกำจัดวัชพืช หรือยาฆ่าหญ้าที่เกษตรกรไทยนิยมใช้ในพื้นที่เกษตรกรรมต่างๆ ถึงแม้ว่าจะมีการแบนสารเคมี 3 ตัว แล้วก็ตาม แต่ในอนาคตก็เกษตรกรก็ยังมีการแอบนำมาใช้อยู่ ซึ่งการคิดค้นตรวจสอบสารพิษทั้งพาราควอทและไกลโฟเซต และเกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้อย่างง่ายและประหยัด เนื่องจากราคาถูกกว่าการตรวจในห้องแลปที่มีค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรได้ตรวจสอบสารพิษก่อนนำไปใช้หรือบริโภคได้
           ผศ.ดร.วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ทางคณะผู้วิจัยนั้นได้รับทุนการวิจัยตรวจสอบวัดค่าของยาฆ่าหญ้าพาราควอท เนื่องจากมีเกษตรกรทุกพื้นที่ใช้จำนวนมาก และส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมให้เกษตรกรในการรับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยการวิเคราะห์หาปริมาณสารพาราควอทโดยทั่วไปนั้นต้องอาศัยหลักการวิเคราะห์เชิงเครื่องมือ มีขั้นตอนการวิเคราะห์ ที่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์สูง ไม่เหมาะสำหรับนำไปใช้ตรวจสอบหาปริมาณสารพาราควอท ตกค้างในสิ่งแวดล้อมในระดับเบื้องต้นแบบคัดกรองและรวดเร็วได้ ชุดทดสอบหาปริมาณสารพาราควอทแบบเทียบสีมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถแก้ไขปัญหาดังที่กล่าวมาได้ ซึ่งการตรวจวิเคราะห์สามารถทำได้อย่าง รวดเร็ว สามารถทราบปริมาณที่ปนเปื้อนโดยอ่านค่าจากแถบสีมาตรฐาน และนำไปใช้ตรวจวัดในภาคสนามได้
            สำหรับชุดทดสอบหาปริมาณสารพาราควอทแบบเทียบแถบสีมาตรฐานประกอบด้วยสารทดสอบ 3 ชนิด แถบสีมาตรฐาน สำหรับเทียบหาปริมาณ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ คู่มือการใช้ชุดทดสอบ และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายเฉพาะบุคคล สามารถนำไปใช้ทดสอบหาปริมาณสารพาราควอทตกค้างในระดับต่ำกว่า 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยสามารถทราบผลการตรวจสอบได้ในระยะเวลาไม่เกิน 10 นาทีต่อหนึ่งตัวอย่าง ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการตรวจสอบได้มาก มีความถูกต้องแม่นยำในการหาปริมาณสารพาราควอทในตัวอย่าง น้ำ ผัก และเมล็ดธัญพืช สามารถใช้ ทดสอบตัวอย่างได้ 480 ถึง 510 ตัวอย่าง สามารถ นำไปใช้ทดสอบหาปริมาณพาราควอทในตัวอย่างน้ำ ผัก และเมล็ดธัญพืชได้ โดยใช้เวลาตรวจสอบ รวดเร็ว สามารถอ่านปริมาณความเข้มข้นได้จากแถบสีมาตรฐาน สามารถนำชุดทดสอบไปใช้ในภาคสนามได้แบบพกพาได้ ซึ่งขณะนี้ได้จดอนุสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
            ขณะชุดตรวจสอบไกลโพเซต ได้พัฒนาชุดตรวจสอบ ออกมาลักษณะเช่นเดียวกันกับชุดทดสอบพาราควอท แต่ชุดไกลโฟเซต นั้นสามารถตรวจสอบได้ละเอียดกว่า มีค่าถึง 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร เกษตรกรก็สามารถนำไปใช้ได้ง่ายเช่นกัน ซึ่งในชุดตรวจสอบพาราควอท นั้นจะมีอยู่ราคาที่ 1,000 บาท สามารถใช้ได้ 100 ครั้ง ขณะที่ไกลโพเซต สามารถใช้ได้ถึง 80 ครั้ง โดยขณะนี้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายพื้นที่ติดต่อจะนำไปใช้เกษตรกรไปใช้ เพื่อป้องกันสารพิษได้อย่างง่าย ขณะที่ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้นำชุดทดสอบสารพาราควอทและชุดไกลโฟเซต วางจำหน่ายไว้ที่สหกรณ์บริการและส่งเสริมนวัตกรรมฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร หรือ ผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่ ผศ.ดร.วิภารัตน์ เชื้อชวด ขัยสิทธิ์ โทรศัพท์ 0 8147 46105, 05596 3427 , e-mail: wipharatc@nu.ac.th

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!