ประจวบคีรีขันธ์ -จัดแข่งขันทักษะวิชาการด้านหุ่นยนต์

ประจวบคีรีขันธ์ -จัดแข่งขันทักษะวิชาการด้านหุ่นยนต์

ประจวบคีรีขันธ์ -จัดแข่งขันทักษะวิชาการด้านหุ่นยนต์

ภาพ/ข่าว:กูลเสวก เสวกวรรณกร
เมื่อวันที่ 27 ส.ค.66 ที่ศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน จ.ประจวบฯ ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการ จ.ประจวบฯ เป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขันทักษะวิชาการด้านหุ่นยนต์ โครงการนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และอากาศยานไร้คนขับ (Rakwittaya Robotics Game 2023 : Theme Ocean Protection) ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีนายทรงศักดิ์ โต๊ะทอง ศึกษาธิการจังหวัดประจวบฯ น.ส.ณภัชชา สุวรรณศรี รองผู้อำนวยการโรงเรียนรักษ์วิทยา นายอมรเทพ อ่วมมีเพียร ผจก.ทั่วไปศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน คณะกรรมการ คณะครูนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆราว 500 คนร่วมในการแข่งขัน
                              โรงเรียนรักษ์วิทยา อ.ปราณบุรี จ.ประจวบฯ ร่วมกับชมรมครูหุ่นยนต์ไทย ชมรมวิทยาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย และบริษัท เอ็ม รีพับบลิค อีเว้นท์ จำกัด (ในนามผู้แทนลิขสิทธิ์ส่วนงานประเทศไทยการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ) ได้จัดการแข่งขันทักษะวิชาการด้านหุ่นยนต์ โครงการนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และอากาศยานไร้คนขับ ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและเยาวชนในระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ด้านหุ่นยนต์ โครงการนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และอากาศยานไร้คนขับ พร้อมแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จำนวน 4 ถ้วยรางวัล จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 25 – 27 ส.ค.นี้ มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 260 คน 188 ทีม มาจากโรงเรียนทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย
                              โดยแบ่งการเข่งขันออกเป็น 12 รายการ ชิงถ้วยพระราชทานฯจำนวน 4 รายการ ได้แก่ 1.หุ่นยนต์บังคับมือรักษ์ชายหาดแบบขาเดินควบคุมด้วยริโมทแบบสาย (ระดับประถมศึกษา) 2.หุ่นยนต์บังคับมือรักษ์ชายหาดเคลื่อนที่ด้วยล้อควบคุมรีโมทแบบสาย (ระดับมัธยมศึกษา) 3.หุ่นยนต์อัตโนมัติรักษ์ชายหาด Robot Gathering (ระดับมัธยมศึกษา) 4.โครงงานหุ่นยนต์ รักษ์-ดิน น้ำ ลม ไฟ (ระดับประถมศึกษา และ ระดับมัธยมศึกษา) / แข่งขันชิงถ้วยเกียรติยศ 8 รายการ ได้แก่ 1.หุ่นยนต์ม้าวิ่งเร็วปั่นพลังงานไฟฟ้าด้วยมือ (ระดับปฐมวัย-ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2) 2.หุ่นยนต์บังคับมือเตะจุดโทษ รีโมทแบบสาย (ระดับชั้นประถมศึกษา-ระดับชั้นมัธยมศึกษา) 3.หุ่นยนต์บังคับมือสู้แบบขา 2 ตัว ควบคุมด้วยรึโมทแบบสาย (ระดับมัธยมศึกษา) 4.หุ่นยนต์ Sumo 500 g. Remote Control (ระดับชั้นประถมศึกษา) 5.หุ่นยนต์ Sumo 1000 g. Remote Control (ระดับชั้นมัธยมศึกษา) 6.หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ Line following Robot (ระดับชั้นประถมศึกษา – ระดับชั้นมัธยมศึกษา) 7.หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติทำภารกิจ Mission Challenge (ระดับชั้นมัธยมศึกษา) และ 8.อากาศยานไร้คนขับ FPV Racing Simulator (ระดับชั้นมัธยมศึกษา) นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัด Work Shop อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างหุ่นยนต์หกขาบังคับมือให้กับนักเรียนและเยาวชนที่มีความสนใจโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยโรงเรียนรักษ์วิทยา ชมรมครูหุ่นยนต์ไทย ชมรมวิทยาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย และบริษัท เอ็ม รีพับบลิค อีว้นท์ จำกัด จัดทีมงานและวิทยากรในการอบรมในครั้งนี้
สำหรับผลการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชนะเลิศประเภทหุ่นยนต์บังคับมือรักษ์ชายหาดแบบขาเดินควบคุมด้วยริโมทแบบสาย (ระดับประถมศึกษา) ได้แก่ ทีมแปดริ้วโรโบช็อป จากชมรมแปดริ้วโรโบช็อป / ชนะเลิศประเภทหุ่นยนต์บังคับมือรักษ์ชายหาดเคลื่อนที่ด้วยล้อควบคุมรีโมทแบบสาย (ระดับมัธยมศึกษา) ได้แก่ ทีม WMS5 จากโรงเรียนเวียงมอกวิทยา จ.ลำปาง / ชนะเลิศประภทหุ่นยนต์อัตโนมัติรักษ์ชายหาด Robot Gathering (ระดับมัธยมศึกษา) ได้แก่ ทีม CKB จากโรงเรียนทิวไผ่งาม กรุงเทพฯ / ชนะเลิศโครงงานหุ่นยนต์ รักษ์-ดิน น้ำ ลม ไฟ (ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา) ได้แก่ ทีม PDS ROBOT-2 จากโรงเรียนสาธิตพหลโยธินรามินทรภักดี จ.ราชบุรี โดยผู้ชนะเลิศทั้งหมดเข้ารับรางวัลถ้วยรางวัลพระราชทานฯ ด้วยความดีใจ.

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!