อุตรดิตถ์-ททท.สนง.แพร่-อุตรดิตถ์ร่วมกันประชาสัมพันธ์แคมเปญ “Eat ตะระดุต..อุตรดิตถ์”

อุตรดิตถ์-ททท.สนง.แพร่-อุตรดิตถ์ร่วมกันประชาสัมพันธ์แคมเปญ “Eat ตะระดุต..อุตรดิตถ์”

อุตรดิตถ์-ททท.สนง.แพร่-อุตรดิตถ์ร่วมกันประชาสัมพันธ์แคมเปญ "Eat ตะระดุต..อุตรดิตถ์"

ภาพ/ข่าว:พูลชัย ราชประสิทธิ์
เมื่อเวลา 10:00 น.ของวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2566 ณ บ้านสวนป้าเรียน ต.ฝายหลวง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ จากการนำของนายสมหวัง พ่วงบางโพ ผวจ.อุตรดิตถ์ นาง วันทนา พ่วงบางโพ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอุตรดิตถ์ นาย ศิวัช ฟูบินทร์ นายอำเภอลับแล นางชลธิชา ฟูบินทร์ นายกกิ่งกาชาด อำเภอลับแล พร้อมด้วย นายอนัน สีแดง ผอ.ททท.สนง.แพร่-อุตรดิตถ์ร่วมกันประชาสัมพันธ์ แคมเปญ “Eat ตะระดุต..อุตรดิตถ์” ตอน Durian Lover อุตรดิตถ์ปังไม่ไหว !! ทุเรียน หลง-หลิน ลับแล No.1 เมืองไทย ทยอยออกผลผลิตสู่ตลาด ยอดจองทะลัก นักท่องเที่ยวบุกฟินกินถึงสวน
                นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผวจ. กล่าวว่า จังหวัดอุตรดิตถ์เนื้อหอมเกินต้าน  ช่วงนี้กระแสทุเรียนเต็มหน้าฟิดสื่อออนไลน์ แต่นัมเบอร์วันทุเรียนอร่อย ต้องยกให้ทุเรียนอุตรดิตถ์ โดยเฉพาะทุเรียนสายพันธุ์หลง หลินลับแล (GI ของ จ.อุตรดิตถ์) หรือที่ได้ฉายาว่า “ทุเรียนเทวดาเลี้ยง” ปลอดสารพิษ เพราะปลูกบนภูเขาสูง ผลผลิตจะออกในช่วงประมาณเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม สนนราคาต่อกิโลกรัมเริ่มต้น 300 บาท สาเหตุที่ราคาสูงก็เพราะผลผลิตมีไม่มากและรสชาติมีเอกลักษณ์ ความอร่อยที่ทานคำแรกก็รู้โดยทันทีว่าไม่เหมือนพื้นที่อื่น    ทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ทุเรียนหมอนทอง 74.419 %ทุเรียนหลงลับแล 11.87% ทุเรียนหลินลับแล 2.02% ทุเรียนพื้นเมือง 11.70% โดยมีพื้นที่เพาะปลูก 4 หมื่นไร่ ครอบคลุม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลับแล อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอำเภอทำปลา มีเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนกว่า 7 พันราย ซึ่งทุเรียนถือว่าเป็น
พืชเศรษฐกิจสำคัญ ที่สามรถสร้างรายได้ให้แก่จังหวัดอุตรดิตถ์ ประมาณ 4 พันล้านบาท/ปี โดยเฉพาะรายได้จากการส่งออกทุเรียนสายพันธุ์ หลง หลินลับแลไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาท
                ด้าน นายศิวัช ฟูบินทร์ นายอำเภอลับแล กล่าวเสริมว่า กว่า 959 ไร่ของ พื้นที่เพาะปลูกเป็นภูเขาสูงและที่ลาดชัน ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือและทางด้านตะวันออกของจังหวัดอุตรดิตถ์ สภาพภูมิประเทศเป็นป่าสลับชับซ้อน  ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย (สีสัมอิฐ หรือที่เรียกว่าดินแดงผาผู้ ซึ่งเมื่อถึงฤดูฝนจะมีน้ำไหลบ่าลงจากยอดเขาสู่พื้นที่ราบที่มีความลาดชัน นำพาเอาแร่ธาตุอาหารมาเติมให้กับพื้นที่การเกษตร และมีสภาพอากาศเหมาะสมต่อเจริญเติบโตของทุเรียน มีบรรยากาศเย็นในยามพลบค่ำ มืดเร็ว เพราะมีภูเขาสูง (หรือที่เรียกว่าดอย) แสงอาทิตย์ จากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเช่นนี้ ทำให้ทุเรียนอุตรดิตถ์มีรสชาติและกลิ่นที่เป็นลักษณะเฉพาะ  เป็นอัตลักษณ์ คือมีรสชาติหวานมันกำลังดี กลิ่นไม่แรง ประกอบกับไม่มีฝนตกมากในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงระยะที่ทุเรียนเริ่มแก่ จึงส่งผลให้เนื้อทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีความพิเศษกว่าทุเรียน
จากแหล่งอื่น คือมีเนื้อแห้ง เนื้อทุเรียนสีเหลืองเข้ม ซึ่งความพิเศษเหล่านี้เมื่อรวมกันเกิดเป็นความอร่อยที่ลงตัว   โดยเฉพาะสายพันธุ์ “หลงลับแล” ลักษณะเฉพาะ คือ ผลกลมหรือกลมรี มีกลิ่นอ่อน เนื้อมีสีเหลืองเข้ม เนื้อเหนียวละเอียด ไม่เละ รสชาติหวานมัน หอมอ่อนๆ และสายพันธุ์ “หลินลับแล” ลักษณะเฉพาะ คือ ผลทรงกระบอก คล้ายผลมะเฟือง เนื้อจะมีสีเหลืองอ่อน เนื้อแห้ง ไม่เละ รสหวานมันครีมมีกลิ่นหอมไม่แรง และที่สำคัญเมล็ดลีบ
ทางด้านของนายอนันต์ สีแดง ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงาน แพร่,อุตรดิตถ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่,อุตรดิตถ์ ต้อนรับฤดูกาลทุเรียน ชูแคมเปญ “Eat ตะระดุต..อุตรดิตถ์”ตอน Durian Lover เสิร์ฟเมนูประสบการณ์ผลไม้ท้องถิ่นกินอร่อย กับทุเรียนสายพันธุ์ หลง หลิน ลับแล “ฉายาทุเรียนเทวดาเลี้ยง ออกผลผลิต 1 ปี มีเพียง 1 ครั้ง” กระตุ้นการเดินทางและเพิ่มค่าใช้จ่ายในพื้นที่ สอดรับนโยบาย
ส่งเสริมการท่องเที่ยวของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด คือ อุตรดิตถ์เที่ยวได้ทั้งปี 365 วันที่อุตรดิตถ์ ผ่านรูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวในสวนทุเรียนที่ร่วมแคมเปญ ทั้ง 9 แห่ง โดยกำหนดเงื่อนไข ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมากิน มาซื้อมาใช้จ่ายในสวนทุเรียน ขั้นต่ำ 500 บาท รับส่วนลดทันทีจาก ททท. 100 บาท กิจกรรมเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2566 จำกัดสิทธิ์ 500 ท่านแรกเท่านั้น
             สามารถติดตามรายละเอียดแคมเปญ ได้ที่ Facebook Page : ททท.สำนักงานแพร่ โทรศัพท์ 054 521127 นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวที่วางแผนมาท่องเที่ยวจังหวัดอุตรดิตถ์ สามารถหาซื้อทุเรียนได้ที่ ตลาดผลไม้หัวดง สวนทุเรียนที่เข้าร่วมแคมเปญ รวมถึงหาซื้อได้ทั่วไปตามสวนทุเรียนชุมชนในอำเภอลับแล

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!