อุตรดิตถ์-แถลงข่าวสืบสานวัฒนธรรมประเพณีและของดีอำเภอท่าปลา

อุตรดิตถ์-แถลงข่าวสืบสานวัฒนธรรมประเพณีและของดีอำเภอท่าปลา

ภาพ/ข่าว:พูลชัย ราชประสิทธิ์ น.ส.พัทธนันท์ ราชประสิทธิ์ นายจักรพรรณ จันทร์แฉ่ง ทีมข่างอินทีสยามออนไลน์ จ.อุตรดิตถ์

แถลงข่าวสืบสานวัฒนธรรมประเพณีและของดีอำเภอท่าปลา

            เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 22 กันยายน 2565 ที่บริเวณลานอเนกประสงค์ข้างเทศบาลตำบลท่าปลา นายชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา นายก อบจ.อุตรดิตถ์ประธานในพิธี นายจักรพรรณ สุวรรณภักดี นายอำเภอท่าปลา นายสมชาย ไชยพันธ์ เลขาธิการนายก อบจ.อุตรดิตถ์ ร่วมกันแถลงข่าว โดยมีนายสุรินทร์ ปริมาณ นายกเทศบาลตำบลท่าปลา กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายนันทสิทธิ์ โพธิ์งาม ผอ.กองการเจ้าหน้าที่ รักษาการแทนผอ.กองการศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ นางสาวอมรวรรณ ตรีเนตร ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม พ.ต.อ สายชล โพธิขอม ผกก.สภ.ท่าปลา คอยให้การต้อนรับและร่วมแถลงข่าว งานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีและของดีอำเภอท่าปลา ปี 2565(ออกพรรษาแห่ผีตลก หนึ่งเดียวในโลกที่อำเภอท่าปลา)ปีนี้เป็นครั้งที่ 6 จัดที่ลานอเนกประสงค์ข้างอำเภอท่าปลาในวันที่ 5 – 11 ตุลาคม 2565 ที่จะถึงนี้การจัดงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 1,000,000บาท โดยมีเทศบาลตำบลท่าปลาเป็นเจ้าภาพ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ 250, 000 บาท บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดอุตรดิตถ์ 50,000 บาท องค์กรส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอท่าปลาและส่วนท้องที่อำเภอทำปลาสนับสนุนกิจกรรมการจัดบูธวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น,ท้องที่ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่อำเภอทำปลาร่วมการจัดงาน อำเภอทำปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นราษฎรที่อพยพมาจากพื้นที่อำเภอทำปลาเดิม จากการก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์

             เมื่อปี พ.ศ. 2512 ประชาชนเคยดำรงชีวิตกันอย่างมีความสุขตามธรรมชาติ ตามคำกล่าวที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ได้หายไปภายหลังจากที่ราษฎรได้อพยพครอบครัวของตนเองมาจับจองหาที่อยู่อาศัย ตามป่าเขารกร้างและดำรงชีวิตอยู่กันอย่างลำบาก บางครอบครัวไม่เคยพบเจอกันอีกเลย ภายหลังจากการอพยพ ราษฎรไม่มีที่ทำการเกษตรประกอบอาชีพ และไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินและที่อยู่อาศัย จึงต้องใช้วิธีการอพยพแรงานไปต่างจังหวัดเพื่อหารายได้จากการรับจ้างเลี้ยงดูครอบครัวทำให้ระดับการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในปัจจุบันอยู่อย่างลำบากค่อนข้างยากจนด้อยโอกาส ขนบธรรมเนียมประเพณีประจำปี เช่น ประเพณี ทานก๋วยสลาก ประเพณีแห่ผีตลก วันสงกรานต์ ก็ยังคงมีกิจกรรมอนุรักษ์และสืบทอดให้เห็นกันอยู่ในปัจจุบันน้อยมาก ทำให้เกิดการเสื่อมถอย และขาดการให้ความสำคัญกับการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญและมีคุณค่าต่อจิตใจของประชาชน วัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟู ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีท้องอื่น เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น และเพื่อเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรและประชาชนด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นโดยจะมีการจัดพิธีกรรมการเข้าหัวผีตลกที่วัดท่าปลาก่อนการเคลื่อนขบวนในพิธีเปิดงาน การจัดขบวนวัฒนธรรมประจำถิ่นที่มีความโดดเด่นแต่ละท้องถิ่น- จัดบูธวัฒนธรรมเด่นของแต่ละตำบล การละเล่นผีตลกในลานวัฒนธรรม การจัดพิธีงานก๋วยสลาก การสืบสานการทอผ้ามรดกล้ำค่าของชาวท่าปลา (ผ้าทอมือลายงูเหลือม) ประเพณีแห่ผีตลกอำเภอท่าปลา มีมานานหลายร้อยปี ชาวตำบลท่าแฝกจะจัดขึ้นในเทศกาลงานบวชพระ ซึ่งในอดีตการบวชพระของชาวท่าแฝก (ท่าปลาเก่า) จะบวชพร้อมกันปีละครั้ง แต่ชาวตำบลท่าปลาเรียกว่า “ผีตลก” จัดขึ้นในทศกาลออกพรรษ ในสมัยพุทธกาลในวันออกพรรษาของทุกปีพระพุทธเจ้าเปิด โลกให้สัตว์นรกได้มีโอกาสรับ ส่วนบุญส่วนกุศล จะมีพวกผีเปรต สัตว์นรกทั้งหลายขึ้นมาสู่โลกมนุษย์ ชมการแสดงแสงสีเสียง ” 100 ปี อำเภอท่าปลา 50 ปี เขื่อนสิริกิติ์ 90 ปีพระพันปีหลวง” นำเสนอความวิถีชีวิตและความเป็นมาของชาวท่าปลา ในอดีตก่อนการอพยพจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์

             จนถึงการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของวิถีชีวิตชาวท่าปลา จากโครงการตามพระราดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรี การประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง (ภาพเก่าที่เกี่ยวกับอำเภอท่าปลาในอดีต) การประกวดนางงามวัฒนธรรมลูกหลานคนท่าปลาเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ของดีอำเภอท่าปลาในระหว่างครองตำแหน่ง – การประกวดร้องเพลงไทยถูกทุ่ง (ตัวแทนท้องถิ่นหรือท้องที่)การประกวดอาหารประจำถิ่น การออกร้านค้าชุมชน OTOP การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทศไทยเขื่อนสิริกิติ์จังหวัดอุตรดิตถ์ กิจกรรมบันเทิง มีดนตรี/มวยไทย /รำวงย้อนยุค/ ลานวัฒนธรรมอำเภอท่าปลาพิธีกรรมการเข้าหัวผีตลกที่วัดทำปลา/ขบวนแห่ผีตลก -ขบวนวัฒนธรรมประจำถิ่นวิถีชีวิตคนทำปลา -สินค้า OTOP เช่น มะม่วงหิมพานต์ ผลิตภัณฑ์ปลา,ปลาซิวแก้ว,ปลาย่าง, ผ้าทอ พื้นเมือง, ผลไม้จากนางพญา ทุเรียน ลางสาด,ลองกอง, ผลไม้ป่าที่ส่งเสริมการปลูกดาว ฯลฯ

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!