ขอนแก่น-แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่ 2 ปี 2564

ขอนแก่น-แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่ 2 ปี 2564

ภาพ/ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน

                   ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่ 2 ปี 2564

                     เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 5 สิงหาคม 2564 นายประสาท สมจิตรนึก ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน ผ่านระบบออนไลน์ ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดขอนแก่น

                   นายประสาท สมจิตรนึก ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า จากการแพร่ ระบาดของ COVID- 19 ระลอก สาม ที่ มีความรุนแรงและกระจายเป็นวงกว้าง ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับลดลงในทุกหมวดการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง ตามการเร่งเบิกจ่ายของหน่วยงานต่าง ๆ ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวตามการนำเข้าสินค้าทุน สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ ขยายตัวตามการส่งออก สำหรับรายได้เกษตรกรขยายตัวต่อเนื่อง ตามผลผลิตข้าวนาปรังและมันสำปะหลังจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยกว่าปีก่อน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นตามหมวดพลังงาน จากราคาขายปลีกน้ำมันใน ประเทศเป็นสำคัญ ด้านตลาดแรงงาน ยังคงเปราะบา ง โดยการจ้างงานยังอยู่ ในระดับต่ำ สำหรับภาคการเงิน ( ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ) เงินฝากชะลอตัวจากไตรมาส ก่อน ขณะที่ สินเชื่อขยายตัวต่อเนื่อง ตามความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของภาคธุรกิจ รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน หดตัวมากขึ้น ในทุกหมวดการใช้จ่าย จากผลกระทบการแพร่ระบาดของ COVID- 19 ระลอก สาม ประกอบกับกำลังซื้อที่ยังคงอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม มาตรการรัฐบางส่วนยังช่วยพยุง การบริโภคได้บ้าง สำหรับภาคบริการด้านการท่องเที่ยว หดตัวมากขึ้น สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนอัตราการเข้าพักแรม และรายได้ภาคบริการสาขาโรงแรมและภัตตาคารที่ ลดลงจากไตรมาสก่อน รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง ตามผลผลิตข้าวนาปรังและมันสำปะหลัง ที่เพิ่มขึ้น จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยกว่าปีก่อน ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหดตัว ตามราคาข้าวที่ลดลงต่อเนื่อง จาก ความต้องการของต่างประเทศที่ชะลอลง และส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ราคายางพาราและมันสำปะหลังยังขยายตัวต่อเนื่อง การใช้จ่ายภาครัฐ ขยายตัวต่อเนื่อง ตามการเร่งเบิกจ่ายของหน่วยงานต่าง ๆ โดยรายจ่ายประจำขยายตัวในหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสถาบันอุดมศึกษา ภาครัฐ ด้านรายจ่ายลงทุนขยายตัวในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท

                    และหมวดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวสูงขึ้น ตามการลงทุนหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุนของธุรกิจที่ ผลิตเพื่อการส่งออก อาทิ อุปกรณ์โทรคมนาคม อุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ขณะที่การลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัยชะลอตัวตามอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอการผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่อง จากการผลิตเพื่อส่งออกเป็นสำคัญ อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเยื่อกระดาษ ประกอบกับการผลิตแปรรูปสินค้าเกษตรขยายตัวตามผลผลิตเกษตรที่เพิ่มขึ้น อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา อย่างไรก็ดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมยังอยู่ ในระดับต่ำกว่าภาวะปกติมูลค่าการค้าผ่านด่าน ศุลกากร ขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งการส่งออกและนำเข้าจากจีนเป็นสำคัญ โดยการส่งออกขยายตัวในหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์ประเภท Cloud Storage รวมถึงการส่งออกทุเรียน ตามความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น ด้านการนำเข้าขยายตัวในหมวดโทรศัพท์มือถือ/อุปกรณ์ ชิ้นส่วอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ ร้อยละ 1. 97 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามหมวดพลังงาน จากราคาขายปลีกน้ำมัน ในประเทศ เป็นสำคัญ ขณะที่หมวดอาหารสดหดตัวมากขึ้น

                   จากราคาผักสดแปรรูปและอื่น ๆ ด้านตลาดแรงงาน ยังคงเปราะบาง โดยการจ้างงานยังอยู่ในระดับต่ำภาคการเงิน (ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564) เงินฝากคงค้างชะลอตัว ตามเงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ ลดลง จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่ ทยอยสิ้นสุด อย่างไรก็ตาม เงินฝากคงค้างยังอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID- 19 ตามความต้องการรักษาสภาพคล่องของภาคธุรกิจและประชาชน ด้านสินเชื่อคงค้างขยายตัวต่อเนื่อง จากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ตามความต้องการสภาพคล่องเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนของธุรกิจ และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ขณะที่ สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจชะลอตัว ตามมาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการของภาครัฐที่ทยอยลดลง นายประสาท กล่าว

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!