สุพรรณบุรี-ประชาชนนักท่องเที่ยวร่วมประเพณีตักบาตรกลางน้ำสืบทอดมากว่า100 ปี

สุพรรณบุรี-ประชาชนนักท่องเที่ยวร่วมประเพณีตักบาตรกลางน้ำสืบทอดมากว่า100 ปี

ภาพ/ข่าว:มงคล สว่างศรี

ประชาชนนักท่องเที่ยวร่วมประเพณีตักบาตรกลางน้ำสืบทอดมากว่า100 ปี

             ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานเปิดงานประเพณีตักบาตรกลางน้ำ ที่บริเวณริมแม่น้ำท่าจีนหน้าศาลเจ้าพ่อตลาดคอวัง ตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า โดยมีนายอมรวุฒิ อนันตทพยเมธี นายกเทศมนตรีตำบลบ้านแหลม พร้อมคณะผู้บริหารและประชาชนและนักท่องเที่ยว ร่วมจำนวนมาก โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ตีฆ้องเปิดงาน คณะกลองยาวและนางรำ แต่งกายชุดไทย มารำวงย้อนยุคกันอย่างสนุกสนาน

             นายอมรวุฒิ อนันตทพยเมธี นายกเทศมนตรีตำบลบ้านแหลม กล่าวว่าประเพณีตักบาตรกลางน้ำนี้ ประชาชน 2 ตำบล ประด้วยตำบลบ้านแหลม และตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า ได้ร่วมสืบสานกันมายาวนานกว่า100ปี เพื่อต้องการอนุรักษ์ประเพณีไว้ให้ประชาชน เด็กและเยาวชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีที่เก่าแก่อันดีงาม ตั้งแต่สมัยปู่ ย่าตายาย ซึ่งได้จัดสืบทอดกันมานับ 100 ปี ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติไทย ส่งเสริมให้ทุกคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ทำให้เกิดความร่วมมือ และสามัคคีขึ้นในชุมชนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในสังคมไทยปัจจุบัน โดยจะมีพระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ กว่า 100 รูป ที่อยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จำนวน 31 วัด พายเรืออีแปะออกมารับบิณฑบาตกลางลำน้ำท่าจีนจากบริเวณหน้าตลาดคอวังถึงวัดเจ้าขาว ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร พายเรือรับบิณฑบาต จากท่าน้ำหน้าตลาดคอวังยาว ไปถึงวัดเจ้าขาว ระยะทาง 1 กิโลเมตร จะมีพุทธศาสนิกชน ประชาชนนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ที่มาร่วมทำบุญนำข้าวสารอาหารแห้งมาใส่บาตรพระสงฆ์อยู่ริมแม่น้ำ เป็นการสืบสานประเพณีตักบาตรกลางน้ำ ซึ่งถือเป็นงานบุญใหญ่ที่เทศบาลตำบลบ้านแหลม และเทศบาลตำบลตะค่า ร่วมกับจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยถือเอาวันแรม 12 ค่ำ เดือน 12 ที่สืบทอดมายาวนานกว่า 100 ปี ความเป็นมาประเพณีตักบาตรกลางน้ำ จากการบอกเล่าของผู้สูงอายุกว่า 80 ปี เล่าว่า ในสมัยก่อนเมื่อถึงฤดูทำนา ชาวบ้านจะพักอาศัยที่ขนำโรงนาชั่วคราว ทำนาเสร็จจึงจะกลับบ้าน ทำให้ว่างเว้นจากการทำบุญตักบาตรไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น เมื่อว่างเว้นจากการทำนา ชาวบ้านจึงนิมนต์พระมารับบิณฑบาตพร้อมกัน โดยกำหนดวันทำบุญไว้เป็นการแน่นอน คือทุกวันแรม 12 ค่ำ เดือน 12 แต่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!