เพชรบูรณ์-เบรคสธ.เพชรบูรณ์แพร่ข้อมูลค่า PM2.5 อ้างเครื่อง“ดัทบอย”ไม่มาตรฐาน

เพชรบูรณ์-เบรคสธ.เพชรบูรณ์แพร่ข้อมูลค่า PM2.5 อ้างเครื่อง“ดัทบอย”ไม่มาตรฐาน

ภาพ/ข่าว:สนม บุญจันทึก

        เบรคสธ.เพชรบูรณ์แพร่ข้อมูลค่า PM2.5 อ้างเครื่อง“ดัทบอย”ไม่มาตรฐาน-ป้องกันปชช.ตื่นตระหนก นศ.มรภ.เพชรบูรณ์ถูกปัดหลังขอข้อมูลทำรายงานแจ้งให้ขอทสจ.เพชรบูรณ์แทน

        วันที่ 17 ม.ค.63 ผุ้สื่อข่าวรายงานว่า ประเด็นการเผาไร่อ้อยทำให้ค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งเกินมาตรฐานที่จ.เพชรบูรณ์ ยังคงอยู่ในความสนใจของชาวเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัดฯและโรงงานน้ำตาลถูกชาวโซเซียลรุมซัดอ่วม ล่าสุดทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ ยังปัดให้ข้อมูลและเผยแพร่ค่าฝุ่น PM2.5เพิ่มเติม โดยอ้างว่าทางสำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม(ทสจ.)เพชรบูรณ์ ท้วงติงกลางที่ประชุมเมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีนายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นประธานฯว่า เป็นเครื่องตรวจคุณภาพอากาศขนาดไม่ได้มาตรฐานกรมควบคุมมลพิษ เกรงสร้างความตื่นตระหนกให้ประชาชน พร้อมอ้างถึงหนังสือเวียนของกองบก.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้ใช้เครื่องมือวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษและข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(จิสด้า)อ้างอิงเท่านั้น
          นอกจากนี้ในวันนี้ได้มีกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ปี 2 คณะมนุษยศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ เดินทางไปที่สำนักงาน สธ.จ.เพชรบูรณ์ เพื่อขอข้อมูลทำรายงานสิ่งแวดล้อมส่งอาจารย์ แต่ถูกปฏิเสธพร้อมบอกปัดให้ไปขอข้อมูล จากสำนักงานทสจ.เพชรบูรณ์แทน ต่อมากลุ่มนักศึกษาจึงไปสำรวจดูเครื่องวัดคุณภาพอากาศที่ติดตั้งใต้บริเวณอาคารสำนักงานสธ.จ.เพชรบูรณ์ โดยนส.สุภาพร พิมพ์ดี นักศึกษาฯระบุว่า สาเหตุที่เลือกหัวข้อเรื่องค่าฝุ่นPM2.5 เพราะกำลังอยู่ในความสนใจของชาวเพชรบูรณ์ และมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนเป็นวงกว้าง คิดว่าเรื่องปัญหา PM2.5 ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
           สำหรับเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศขนาดพกพาหรือ “ดัทบอย” ที่ติดตั้งที่สำนักงาน สธ.จ.เพชรบูรณ์และที่โรงพยาบาลวิเชียรบุรีนั้น หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มอบให้ติดตั้งเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ตามโครงการ“วิจัยการติดตามและประเมินภาวะหมอกควันเพื่อการบริหารจัดการ ภายใต้แผนงานประเทศไทยไร้หมอกควัน ซึ่งโครงการนี้ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ที่จะศึกษาองค์ประกอบทางเคมี ความเป็นพิษของอนุภาคฝุ่นในอากาศ ผลกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงการเฝ้าระวังตรวจวัดปริมาณฝุ่นในอากาศ โดยมีการติดเครื่องฯในจังหวัดไม่มีสถานีและพื้นที่มีความเสี่ยงสูงก่อน และพัฒนาระบบฐานข้อมูล ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยข้อมูลหมอกควันเพื่อการวิจัย

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!