ชัยนาท-สส.เต้ มาเขื่อนเจ้าพระยา เป็นห่วงในปี 2565 จะเกิดสถานการณ์น้ำวิกฤตเหมือนกับปี 2554

ชัยนาท-สส.เต้ มาเขื่อนเจ้าพระยา เป็นห่วงในปี 2565 จะเกิดสถานการณ์น้ำวิกฤตเหมือนกับปี 2554

ภาพ/ข่าว : ธนพนธ์ แสงทอง 

            ที่ห้องประชุมสำนักงานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าพระยา เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (ส.ส.เต้) ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ พร้อมคณะ เข้ารับฟังการรายงานสถานการณ์น้ำ โดยนายประพันธ์ สพเสถียร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าพระยา จากนั้นลงพื้นที่ดูสถานการณ์น้ำที่บริเวณสันเขื่อนเจ้าพระยา ล่าสุด เขื่อนเจ้าพระยามีระดับน้ำเหนือเขื่อน 16.20 เมตร(รทก.) ท้ายเขื่อนอยู่ที่ 8.58 เมตร(รทก.) อัตราการระบายน้ำลงสู่พื้นที่ท้ายเขื่อนอยู่ที่ 499 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ เปิดเผยว่า การเดินทางมาที่เขื่อนเจ้าพระยาครั้งนี้ เนื่องจากเป็นห่วงในปี 2565 จะเกิดสถานการณ์น้ำวิกฤตเหมือนกับปี 2554 เพราะเป็นเซ็นเตอร์ของการระบายน้ำ เข้าสู่กรุงเทพฯ นนทบุรี และเข้าสู่อ่าวไทยทั้งหมด ได้ทราบข้อมูลย้อนหลังจากผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าพระยา คาดการณ์ว่าอาจเกิดวิกฤตอีกรอบ หากเรามีการเตรียมตัวกันแต่เนิ่นๆ 3-4 เดือน น่าจะทำให้ผลกระทบน้อยลง ปีนี้หากมีการควบคุมดีความเสียหายจะน้อยลง

             ทั้งนี้ กรุงเทพฯจะต้องรับน้ำจากเจ้าพระยาทั้งหมด ได้รับผลกระทบตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝนเป็นต้นมา ทำให้ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานครทำงานหนัก พยายามแก้ปัญหาน้ำท่วมที่สามารถทำได้ ทั้งเรื่องของน้ำฝนที่ตกเหนือเขื่อนเจ้าพระยา น้ำทะเลหนุนสูง และน้ำจากฝนที่ตกลงมา จึงเป็นข้อมูลที่จะได้นำไปเสนอแนะรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาระยะยาว การแก้ไขระยะสั้นอาจเสนอแนะได้บางส่วนว่างต้องเตรียมตัวอย่างไร กทม.จะต้องทำอย่างไร หากเป็นไปได้ต้องได้ความชัดเจนเรื่องภูมิประเทศ ปัจจุบันเห็นว่าลำน้ำต่างๆเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งจะมีโอกาสไหมที่เราจะสร้างลำน้ำขึ้นโดยมนุษย์เพื่อผันน้ำอีกส่วนหนึ่งออกอ่าวไทยเพื่อลดภาระที่เขื่อนเจ้าพระยาจะต้องรับทั้งหมด เพื่อช่วยพร่องน้ำสัก 1,200-1,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะสามารถช่วยลดวิกฤตลงได้ ฉะนั้น ในอนาคตหากมีโอกาสในการเสนอ หรือเป็นนโยบายพรรคที่จะเสนอการขุดลำน้ำด้วยฝีมือมนุษย์ในการช่วยพร่องน้ำออกสู่ทะเล จะเป็นการลดภาระระยะยาวว่าสามารถทำได้หรือไม่ต้องดูภูมิประเทศด้วย และอีกแนวคิดคือการสร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเลกับน้ำจืดเพื่อป้องกันน้ำกร่อย แต่ต้องดูเรื่องวิศวกรรมหลายด้านว่าทำได้หรือไม่ นี่คือสิ่งที่ทางพรรคต้องคิดต่อไป ในช่วงที่รัฐบาลเหลือเวลาอยู่จะเสนอแนะไป ถ้าเป็นรัฐบาลชุดหน้าจะเป็นการเสนอแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งในระยะยาว เพื่อให้พื้นที่เกษตรกรรม 150 ล้านไร่ สามารถใช้น้ำได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งระบบนิเวศน์ เกษตรกร อุตสาหกรรม อุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องดำเนินการต่อไป

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!