ราชบุรี-นายอำเภอโพธารามเปิด”สวนพิณชาย..”วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกอินทผลัม

ราชบุรี-นายอำเภอโพธารามเปิด”สวนพิณชาย..”วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกอินทผลัม

ราชบุรี-นายอำเภอโพธารามเปิดสวนพิณชายของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกอินทผลัม

ภาพ/ข่าว:ประทีป อยู่แช่ม

              (วันที่ 27 ก.ค. 2556)  ที่สวนพิณชาย ต.นางแก้ว อ.โพธาราม ซึ่งเป็นสถานที่ปลูกอินทผลัม ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกอินทผลัม ได้มีการเปิดสวนโดย มีนายศุภชัย ครุฑ นายอำเภอโพธาราม เดินทางมาเป็นประธาน มีนายมงคล นาคเนียม นายกเทศบาลตำบลเขาขวาง หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการใช้น้ำสำนักงาน ชลประทานที่ 13 ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตรสาขาเขาขวาง ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรโพธาราม เกษตรอำเภอโพธาราม พัฒนาที่ดินจังหวัดราชบุรี กำนันตำบลนาง แก้ว ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย คณะครูนักเรียนโรงเรียนวัดนางแก้ว ให้การต้อนรับ

             ซึ่งไฮไลท์ของงานได้มีการแข่งขันตำส้มตำที่ใช้ลูกอินทผลัม ซึ่งรสชาติอร่อยหอมหวานกรอบ และผู้ชนะจะได้รับรางวัลจากนายมงคล นาคเนียม นายกเทศบาลตำบลเขาขวาง เป็นครกและสากทองคำ(เปลว) ซึ่งสร้างเสียงฮาไปลั่นทุ่ง นอกจากนั้นยังนำลูกอินทผลัมมาแปรรูปเป็นอินทผลัมลอยแก้ว และอินทผลัมปั่น ซึ่งมีรสชาติที่หอมหวานเป็นที่ชื่นชอบของแขกที่ร่วมงาน ซึ่งระหว่างที่นายอำเภอกล่าวเปิดงานเสร็จ ได้มีการใช้โดรนทางการเกษตรบินนำกระเช้าที่ใส่ผลผลิตอินทผลัมบินลงมามอบให้กับนายอำเภอ
          นายศุภชัย ครุฑดำ นายอำเภอโพธารามกล่าวว่ารู้สึก ยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในการเปิดฤดูกาล“ชิม ช๊อป แชะ แชร์” เป็นศูนย์เรียนรู้สวนพิณชายอินทผลัมวิสาหกิจ ชุมชนกลุ่มผู้ปลูกอินทผลัมบ้านนางแก้วในวันนี้
          จากการกล่าวรายงานของประธานกลุ่ม จะเห็นได้ว่า การ ปรับเปลี่ยนการเกษตรแบบเดิม มาเป็นการทำการเกษตรแบบประณีต จะได้ผลผลิตต่อไร่มีมูลค่าที่สูงขึ้น ยิ่งถ้ามีการแปรรูปเพื่อเพิ่ม มูลค่า จะทำให้เพิ่มกิจกรรมและเป็นการกระจายรายได้แก่สมาชิกกลุ่ม   ตลอดจนคนในชุมชนเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่รูปแบบ BCG โมเดล เป็นที่ยอมรับมากขึ้นซึ่งประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากร ชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่า สูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึง การนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็น การพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม ได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยเปลี่ยนข้อ ได้เปรียบที่ไทยมีจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็นความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!