สตูล-ทดสอบ”เรือไฟฟ้า”นำร่องที่”ปากบารา”

สตูล-ทดสอบ”เรือไฟฟ้า”นำร่องที่”ปากบารา”

ภาพ-ข่าว:ชิดชนก พุดทอง

             ประธานสมาพันธ์ SME ไทย สตูล จับมือ ศูนย์พัฒนายานยนต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ภาคีเครือข่าย ร่วมทดสอบ เรือไฟฟ้านำร่องที่ปากบารา พร้อมให้คำแนะนำการผลิตเครื่องยนต์เรือไฟฟ้า
              นายจักรพรรณ วัลแอล ประธานสมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทย จ.สตูล กล่าวว่า พลังงานไฟฟ้า ในตอนนี้เป็นกระแสมาก เราจึงมองว่าการที่จะให้ชาวบ้านหรือผู้ประกอบการโดยเฉพาะ เอสเอ็มอีไทย นั้น มีนโยบายที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากโดยการลดต้นทุนโดยเฉพาะในพื้นที่ จ.สตูล เอง นั้นจะมีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ที่จะต้องใช้เรือ เป็นหลัก เราจึงได้ นำเรือไฟฟ้ามาทดลองในพื้นที่ จ.สตูล ในวันนี้ เพื่อจะได้ลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวโดยขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการหลายท่าน ให้ความสนใจซึ่งทางเราก็ยินดีให้คำปรึกษาในเรื่องของข้อมูล
            ผศ.สาวิตร์ ตัณฑนุช ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนายานยนต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัย มีพันธกิจที่สำคัญว่าเราจะพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าอย่างไรที่จะสามารถเข้าถึงชุมชนได้ จึงเป็นที่มาในการ คิดทำเรือ ไฟฟ้า โดยเฉพาะสงขลาเอง นั้นอยู่ทางใต้ และ จะใช้เรือ เป็นตัวหลักในการเดินทางทางน้ำ เราจึงได้ ศึกษาการทำเรือไฟฟ้า โดยเริ่มจากเรือหางยาวไฟฟ้าในปี 2561 และได้เริ่มใช้งานในตลาดน้ำคลองแหและได้นำ เรือไปร่วมกิจกรรมทางน้ำในงานแห่เทียนพรรษาโดยร่องเรือทางน้ำ
             สำหรับในพื้นที่ จ.สตูล ในวันนี้ ทางทีมเราได้รับเชิญจากสมาพันธ์ เอสเอ็มอี ไทย จ.สตูล ได้ ติดต่อประสานงานมาโดยนำเรือมาทดสอบวิ่งในทะเล สตูล เพื่อจะดูผล ว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีปัญหาอะไร บ้าง เพราะทะเล สงขลากับ ทะเลสตูล นั้นต่างกัน เพื่อจะได้นำข้อบกพร่องไปแก้ไข จึงได้ นำเรือไฟฟ้ามาวิ่งในพื้นที่ จ.สตูล ซึ่งผลการทดรอง เราต้องไปเพิ่มกำลังขับอีกเนื่องจากว่า พื้นที่สตูลนั้น จะมีคลื่นลมที่แรง กว่าทางสงขลา เพราะฉะนั้นมอเตอร์ที่ใช้ เราออกแบบมา ในราคาแค่ 7 หมื่นบาท ซึ่งถ้าลักษณะในลำน้ำโดยทั่วไปในราคา 7 หมื่นบาท ก็สามารถที่จะใช้งานได้ดังนั้นหลังจากนี้ เราก็จะกลับไปปรับปรุงระบบมอเตอร์ ให้มีความแรงขึ้นเพื่อให้ สามารถใช้กับพื้นที่ สตูล
               สำหรับพื้นที่ จ.สตูล นั้น จุดมุ่งหมายที่ ทางสตูล ต้องการนั้นต้องการความเร็ว 10-15 ไมล์ทะเล แต่มอเตอร์ เราขนาดเล็ก เมื่อมาใส่กับเรือลำใหญ่ ทำให้ การวิ่งล้าช้า และประกอบกับพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเลสตูล นั้น ไกล ดังนั้น จะต้องเสริมแบตเตอร์รี่เข้าไปให้สามารถวิ่งได้ ถึง 4 ชั่วโมง โดย แบตเตอร์รี่ 1 ก้อนนั้นสามารถวิ่งได้ 2 ชั่วโมง ซึ่งแบตเตอร์รี่ตัวนี้ เป็นตัวที่ใช้กับ ยานยนต์ไฟฟ้า โดยเป้าหมายเราต้องการที่จะใช้กับเรือท่องเที่ยว เพราะสถานที่ท่องเที่ยว นั้น เราสามารถรู้พิกัดการท่องเที่ยวได้ ว่าใช้ระยะเวลาเดินทางกี่ ชั่วโมง ระยะทางเท่าไหร่ เราจะสามารถคำนวณการใช้แบตเตอร์รี่ได้ อัตราการใช้พลังงานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ชั่วโมงใช้พลังงานอยู่ที่ 4-6 บาท เมื่อเทียบกับน้ำมันซึ่งใช้อยู่ประมาณ 70-100 บาท
              ดังนั้นความต่างของการใช้พลังงาน จะสามารถได้เปรียบ เป็นอย่างมากอุปกรณ์ของเราสามารถกันน้ำได้ หมด ถึงแม้นว่า อุปกรณ์จะ หล่นลงกลางทะเล ก็สามารถนำกลับมาใช้ได้ เหมือนเดิม โดยไม่ต้องรอให้ แห้ง ก็สามารถนำกลับมาใช้ได้ ตามปกติ ถือว่า เป็นการกันน้ำได้ดี แต่ปัญหา ในเรื่องของเกลือ นั้น เราจะต้องมีการพัฒนา เรื่องนี้อีก เพื่อจะได้ยืดอายุการใช้งานแบตเตอร์รี่ได้ มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ทางเราก็ไม่ได้ หวงวิชา ทุกท่านสามารถ ที่จะนำไปดัดแปลง ทำใช้เองได้ โดย ทาง เราจะไม่จดลิขสิทธิ์ และพร้อมที่จะให้คำแนะนำในการ ผลิต และการใช้ให้อีกด้วย

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!