ลุ้น..!!รองอธิบดีกรมประมงคนใหม่ ครม.เปิดว่างสองตำแหน่ง ”ประจวบ เจี้ยงยี่“ มีสิทธิ์เข้าวิน

ลุ้น..!!รองอธิบดีกรมประมงคนใหม่ ครม.เปิดว่างสองตำแหน่ง ”ประจวบ เจี้ยงยี่“ มีสิทธิ์เข้าวิน

ภาพ-ข่าว:

              คณะรัฐมนตรีมีมติโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4 ตำแหน่ง ประกอบด้วย นางสาวนฤมล สงวนวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นผู้ตรวจราชการ นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง ไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ตรวจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ตรวจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
             ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่า กรมประมงจะมีตำแหน่งระดับรองอธิบดีว่างลงถึงสองตำแหน่ง คือ ตำแหน่งที่นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดี ที่ขยับขึ้นไปเป็นอธิบดี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้วเมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา และวันนี้ ครม.ย้าย ย้ายนายถาวร ทันใจ รองอธิบดี ไปเป็นผู้ตรวจฯอีกคน คาดว่า ต้นเดือนกุมภาพันธ์ จะมีการเปิดรับสมัครคนที่จะขอขึ้นเป็นรองอธิบดีกรมประมงที่ว่างลงสองตำแหน่ง ซึ่งกรมประมงเป็นกรมที่สำคัญในการดูแลเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารของคนเราด้านสัตว์น้ำ มีภารกิจมากมายที่จะต้องร่วมกันขับเคลื่อนร่วมกับข้าราชการในกรม และประชาชน-สังคม จึงต้องได้คนดี มีความรู้ความสามารถ ตั้งใจจริง เฉพาะด้านการประมงมาทำงาน

            “ประจวบ เจี้ยงยี่” ประมงจังหวัดลำปาง เป็นคนหนึ่งที่น่าจะสมัครลงชิงตำแหน่งรองอธิบดีกรมประมงแทนตำแหน่งที่ว่างลง “สนใจเรียนทางด้านการประมง จึงไปเรียน ระดับ ปวช.ถึง ปวส.ที่วิทยาลัยการประมงสงขลาติณสูลานนท์ ระหว่างที่เรียนชั้น ปวส 1. กรมประมงเปิดสอบรับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ประมง จึงไปสอบเข้ารับราชการ และสอบได้เมื่อเรียนจบชั้น ปวส.จึงบรรจุเข้ารับราชการที่กรมประมง ตั้งแต่ปี2534 เป็นต้นมา

              กล่าวได้ว่าประจวบมีประสพการณ์ทำงานโชกโชน ตระเวนไปทำงานมาแล้วทั่วประเทศ บรรจุเข้ารับราชการครั้งแรกเมือ18มิถุนายน 2534 ที่งานอนุรักษ์ทรัพยากรประมงทะเลภาคใต้ตอนบน จ.ชุมพร รับผิดชอบ จ.ชุมพร ประจวบ และสุราษฎร์ธานี จากนั้นถูกย้ายไปตามความเหมาะสม และจังหวะก้าว สุดท้ายเข้ามารับตำแหน่งที่ส่วนกลางในตำแหน่งผู้อำนวยการเรือตรวจการ ระหว่างนั้นก็ถูกนายกลั่นแกล้งโยกไปเป็นประมงจังหวัดลำปาง เอาง่ายๆว่าเป็นคนที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย เช่น โครงการฟอกทรายคืนทะเล โครงการบริหารจัดการแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และอีกมากมาย เหมาะแก่การเอาลูกหม้อผู้รับงานประมงมานั่งเป็นรองอธิบดีกรมประมง
               ล่าสุดได้ร่วมกิจกรรมกับ #นายหัวไทร กับโครงการ ”ลำพันคืนถิ่น ป่าพรุควนเคร็ง“ ด้วยการนำปลาดุกลำพันจากป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส มาปล่อยคืนธรรมชาติป่าพรุควนเคร็ง ที่ปลาดุกลำพันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว และกำลังเตรียมการปล่อยปลาดุกลำพันครั้งต่อไปอีก ถ้าพิจารณากันโดยใจไม่ลำเอียง ด้วยจิตใจที่เป็นธรรม ”ประจวบ เจี้ยงยี่“ เหมาะที่จะขยับขึ้นเป็นรองอธิบดีกรมประมง

              ปี 2562 ขยับอีกครั้งไปเป็นหัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง สำนักงานประมงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สามารถบริหารจัดการการทำการประมงหมีกโดยเครื่องมือครอบหมึก โดยเริ่มจากการทำประชาคม ชุมชนประมงตลอดแนวชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ นำความต้องการของชุมชน มาเสนอกรมประมง จนสามารถนำอรื่องเข้าคณะกรรมการประมงจังหวัด จนออกมาเป็นประกาศคณะกรรมการประมงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใหเทำกาาฝรปนะมงด้วยเรือครอบหมึกได้ โดยใช้อวนตาไม่ต่ำกว่า3.2ซม และทำนอกชายฝั่งไม่ต่ำกว่า500เมตร และห่างเกาะ ไม่น้อยกว่า 300เมตร จึงนำมาสู่ความอุดมสมบูรณ์ของหมึกตลอดแนวชายฝั่งอีกครั้ง เนื่องจากมีพื้นที่ให้พ่อแม่พันธุ์และลูกหมึกวัยอ่อนอยู่อาศัย นำมาซี่งรายได้ของขุมชนเพิ่มขึ้น ไม่ค้องอพยพถื่นฐานไปต่างถิ่น สังคมมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น อีกครั้งหนึ่งหลังจากปัญหาสัตว์น้ำไม่สมดุลย์กับการจับได้รับการแก้ไขด้วยมาตรการดังกล่าว
               ปี 2564ไปรับตำแหน่งประมงจังหวัดบึงกาฬ เมืองแห่งพญานาต ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำภานใต้หลักคิด “ทำสิ่งที่มีอยู่ ให้ดีที่สุด” เพราะการแปรรูปเป็นอาชีพที่มีมาแต่ดั้งเดิมของชาวอีสาน โดยร่วมมือกับ อาจารย์ขาบ “สุทธิพงษ์ สุริยา ขับเคลื่อนชุมชนมีชีวิต โซ่พิสัย ของจังหวีดบึงกาฬ จนอบรมการแปรรูปสัตว์น้ำ และให้ชื่อปลาตากแห้งเรียงเป็นตับตับว่า “ปลาเข้าแถว”จนติดตลาด -ส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในแม่น้ำโขง เพื่มมูลค่า และผลักดันไปให้ถึง จีไอ เพราะการเลี้ยงในแหล่งน้ำไหล ทำให้ปลาแข็งแรง เนื้อแน่น และไม่มีกลิ่นคาว

               ปี2565 ไปรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองตรวจการประมง ดำเนินกิจกรรมต่างๆมากมาย ทั้งด้านงานปราบปราม งานมวลชน และงาน csr ต่างๆ ภายใต้หลักคิด “งานเป็นผล คนเป็นสุข” ภายใต้คุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา เป็นตัวขับเคลื่อนการทำงาน ได้ริเริ่ม โครงการ ฟอกทรายคืนสู่ทะล สร้างจิตสำนึกแก่เยาวชน และภาคประชาชน ให้รักษ์และหวงแหนท้องทะเลซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัสัตว์น้ำ อันเป็นอาหารหลักประเภทโปรตีนของมนุษย์,โครงการบริหารจัดการแหล่งอาศัยสัตว์น้ำเพิ่มรายได้สร้างอาชีพแก่ชุมชนโดยใช้แพไม้ไผ่ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยให้สมาชิกชุมชนประมงท้องถิ่นดำเนินการ ในกิจกรรม จะกำหนดพื้นที่อนุรักษ์แหล่งพ่อแม่พันธุ์และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยรับให้บริการนักท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชม ธรรมชาติ เป็นการควบคุมพื้นที่อนุรักษ์ควบคู่กับการสร้างรายได้ของชุมชนจากนักท่องเที่ยว ,นำระบบดัชนีมวลกายเข้ามาขับเคลื่อนบุคลากร สร้างสมรรถณะทางกาย และสร้างวินัย แก่บุคคลากร สร้างภาพลักษณ์แก่องค์กรให้เป็นที่ยอมรับจากประชาชน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!