ประจวบคีรีขันธ์-จัดโครงการแผนพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตสหกิจชุมชนต้นแบบด้านเศรษฐกิจระดับประเทศ

ประจวบคีรีขันธ์-จัดโครงการแผนพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตสหกิจชุมชนต้นแบบด้านเศรษฐกิจระดับประเทศ

ภาพ-ข่าว:พิสิษฐ์ รื่นเกษม

              วันที่ 29 มกราคม พศ.2567 เวลา 14.00 น.นายนิมิตร วงษ์จินดา นายอำเภอบางสะพานน้อย ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในการเปิดงานโดยมี นายธิรวัฒน สุดจันทร์ นายกองค์การบริหารตำบลช้างแรก นายนันทปรีชา คำทองสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายธนวัฒน์ ชื่นชอบทรัพย์ กำนันตำบลช้างแรก นางสาวอังคณาหงษ์ศา เกษตรเกษตรอำเภอบางสะพานน้อย พร้อมทั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตำบลช้างแรกร่วมประชุมและต้อนรับคณาจารย์จากมหาลัยราชภัฏเพชรบุรีและผู้เข้าร่วมประชุม
              จากนั้น ผศ.พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้กล่าวชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์โดยเริ่มจาก 3 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีความก้าวหน้ามากน้อยแค่ไหนเพียงไร บทบาทภารกิจของสถาบันการศึกษา ที่จะให้องค์ความรู้ ติดอาวุธทางความคิด หมายรวมถึงการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมได้อย่างไร โดยเป็นการบูรณาการร่วมกันจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นการพัฒนาอย่างมีทิศทาง และจังหวะก้าวเดิน ก่อให้เกิดการร่วมมืออย่างแท้จริง เพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม
              นายนันทปรีชา คำทอง สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัชเพชรบุรี นำโดย ผศ.พจนารถ บัวเขียว ผศ.ดร.พรรณี คอนจอหอ รองอธิการบดีฯ อ.ปิยวรรณ คุสินธ์ ผอ.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่จากสถาบันการศึกษาดังกล่าว ได้จัดทำโครงการ แผนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตสู่วิสาหกิจชุมชนต้นแบบด้านเศรษฐกิจระดับประเทศ
            โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืช ผลของโกโก้ นำมาแปรรูปได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้คุณภาพที่มาตรฐาน โดยเริ่มที่ต้นน้ำ คือการที่มีสายพันธุ์โกโก้ที่ดี กระบวนการจัดการบริหารแปลงปลูกที่ให้เป็นรูปแบบของเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะได้มาของวัตถุดิบที่มีคุณภาพ กลางน้ำ คิอเกษตรกรมีความรู้ มีการรวมตัวเป็นกลุ่มที่จะจัดการบริหารในรูปของวิสาหกิจชุมชน มีหลักธรรมาภิบาลในการดูแลจัดการบริหารทั้งระบบ ปลายน้ำ คือช่วยจัดหาวิธีการด้านการตลาด เพื่อสร้างรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่มในผลผลิต ให้กลับมาสู่ชุมชน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และพร้อมกันนี้ได้จัดให้มีโครงการชุมขน ดิจิตอล เป็นโครงการต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาต่อยอด ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชนหรือสังคมภายนอกทั่วไปอย่างถูกต้องและเท่าทัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ของสังคมไร้พรมแดน เน้นการพึ่งพาพาตนเอง ตามศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างสังคมตื่นตัว ตื่นรู้
               โดยมีทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบูรณาการร่วมกันในชุมชน อาทิเช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สถานศึกษา เกษตรอำเภอ พัฒนาการอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ กศน.สภาเกษตรกร.จประจวบคีรีขันธ์ สมาชิกเครือข่ายวิถีเกษตรธรรมชาติ กลุ่มโกโก้ตะนาวศรี และพี่น้องเกษตรกรที่สนใจ นายนันทปรีชา กล่าว

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!