สิงห์บุรี-จัดงานตามรอยเสด็จประพาสต้น พระปิยมหาราช ครั้งที่ 13

สิงห์บุรี-จัดงานตามรอยเสด็จประพาสต้น พระปิยมหาราช ครั้งที่ 13

ภาพ/ข่าว:จีรแมน ขำฉา

จังหวัดสิงห์บุรี จัดงานตามรอยเสด็จประพาสต้น พระปิยมหาราช ครั้งที่ 13

         วันที่ (7 ส.ค. 62) เวลา.09.39 น. นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี เป็นประธานวางพวงมาลาดอกไม้ถวายสักการะอนุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปิดงานตามรอยเสด็จประพาสต้น พระปิยมหาราช ครั้งที่ 13 ณ พิพิธภัณฑ์เมืองพรหมบุรี ตำบลหัวป่า อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมี นายบรรหาร ตัณหยง สภาวัฒนธรรมตำบลหัวป่า และนักเรียน ให้ต้อนรับพาเยี่ยมชมอาคารพิพิธภัณฑ์ เมืองพรหมบุรี ฉลอง 100 ปี เสด็จประพาสต้น เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป ภายในพิพิธภัณฑ์เมืองพรหมบุรีจะมีการจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ เช่น ศิลปินแห่งชาติ เช่น ชาย เมืองสิงห์ ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี เป็นต้น มีงานศิลปะต่างๆ มากมาย ข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อนวิถีชีวิตของชาวบ้านเมืองพรหม เช่น ข้อง คันไถ ถังตวง ซึ้ง ไห อุปกรณ์หาปู หาปลา เช่น ยอ แห ไซ เป็นต้น มีนิทรรศการตามรอยพระบาทของรัชกาลที่ 5 ที่เคยเสด็จมายังวัดชลอน และมีประวัติต้นกำเนิดของแม่ครัวหัวป่าอีกด้วย

           โดย นายนิสิต ดียิ่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโรงช้าง ร่วมกับชาวบ้านตำบลหัวป่า อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ร่วมกันจัดงาน ตามรอยเสด็จประพาสต้น พระปิยมหาราช ครั้งที่ 13 จัดขึ้น ณ วัดพรหมเทพาวาส ตำบลหัวป่า จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ที่ได้เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎร ณ วัดพรหมเทพาวาส ในวันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม 2449 สำหรับตำบลหัวป่า เป็นเรื่องราวของชาวบ้านปรากฏชื่อขึ้นในทำเนียบการทำอาหารอร่อยเยี่ยมยอดในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้มีโอกาสทำอาหารถวาย รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเสวย ตามประวัติเสด็จประภาสต้นเมืองสิงห์ ในทำเนียบประวัติเมืองพรหมบุรีกล่าวไว้ชัดเจนว่าแม่ครัวเครื่องคาว ได้แก่ อำแดงเกลี้ยง อำแดงยิ่ง อำแดงแพ อำแดงสรวงแม่ครัวเครื่องหวาน ได้แก่ อำแดงหงส์ อำแดงสิน อำแดงพลับ อำแดงพาและเครื่องเสวยที่จัดถวายครั้งนั้นก็ ได้แก่ แกงมัสมั่น แกงบอน แกงบวน ต้มปลาร้าหัวตาล ขนมจีนน้ำยา ส่วนเครื่องหวาน คือ ขนมปิ้ง สังขยา ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน และข้าวตอกน้ำกะทิปรากฏว่าการรับเสด็จฯ โดยคณะแม่ครัวบ้านหัวป่าคราวนั้นรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเป็นอย่างยิ่ง และมักจะเอ่ยอ้างถึงคณะแม่ครัวคณะนี้จนติดพระโอษฐ์เสมอว่า “อาหารอร่อยอย่างกับฝีมือแม่ครัวหัวป่า”

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!