ท่าเรือแหลมฉบัง หาผู้ร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนรายใหม่ หลังใกล้หมดสัญญาเช่า

ท่าเรือแหลมฉบัง หาผู้ร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนรายใหม่ หลังใกล้หมดสัญญาเช่า

ภาพ/ข่าว:นิราช/พิชญ์ฐญา ทิพย์ศรี 

         ท่าเรือแหลมฉบัง หาผู้ร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนรายใหม่ หลังใกล้หมดสัญญาเช่า บริษัท ที่ปรึกษาฯ จัดงานการรับฟังการทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) ครั้งที่ 2 เพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 1 เพื่อหาผู้ร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนรายใหม่ หลังใกล้หมดสัญญาเช่าในปี 2568-2569 นี้

              วันนี้ 6 พ.ค.65 เรือเอก กานต์ เมนะรุจิ รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง เป็นประธานเปิดการรับฟังการทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) ครั้งที่ 2 ในโครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ท่าเทียบเรือ บี 1 บี 2 บี 3 บี 4 และ เอ 5 ท่าเทียบเรือแหลมฉบัง โดยมี นายมัฑนาวดี สุทธิรัตนศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและประชาสัมพันธ์ ตลอดจนผู้แทนกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ในนามกลุ่มที่ปรึกษา CIFG Consortium พร้อมคณะผู้บริหารท่าเรือแหลมฉบัง ผู้แทนองค์กรเอกชน นักธุระกิจ สื่อมวลชน เข้าร่วมรับฟัง ณ โรงแรมโนโวเทลมารีน่า ศรีราชา จ.ชลบุรี โดย เรือเอก กานต์ กล่าวว่า “เพื่อบอกเหตุผลและรูปแบบต่างๆ ที่เราคาดการณ์ว่าอาจจะมีการนำไปใช้ เพื่อไปจัดทำสัญญาใหม่ ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ต้องการนำเสนอระบบเทคโนโลยี ข้อจำกัดต่างๆ แต่ละรูปแบบจะร่วมทำอย่างไร เทคโนโลยีจึงจะมีการพัฒนา เพื่อให้เอกชนได้ให้ความคิดเห็น เพื่อสุดท้ายแล้วแหลมฉบัง จะได้เลือกหนทางที่ดีที่สุด เพื่อสร้างรายได้ผลประกอบการภาคเอกชน ที่จะมาร่วมลงทุนให้ได้ดีที่สุด จะเลือกของขนาดท่าเรือแต่ละจุดอยู่ที่ประมาณเท่าไร เพราะความยาวหน้าท่า ส่งผลต่อขนาดของเรือที่เข้ามาใช้บริการ แต่ในขณะเดียวกันความลึกของพื้นที่จะเป็นตัวกำหนดของขนาดเรือเช่นเดียวกัน เพราะฉนั้นจุดสมดุลจึงประกอบกันทั้งสองส่วน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เอกชนต้องการอย่างไร ทางท่าเรือต้องพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติมเพื่อเตรียมการให้ภาคเอกชนให้ได้มากที่สุด เพื่อมุ่งหวังให้เกิดรายได้กับประเทศให้ได้มากที่สุด”

             สัญญาเช่าโครงการให้เอกชนร่วมลงทุน บริหาร และประกอบการของท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ใกล้จะสิ้นสุดสัญญา จึงจำเป็นต้องศึกษาแนวทางการดำเนินโครงการ ที่ให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน บริหาร และประกอบการ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของท่าเรือแหลงฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคม และยุทธศาสตร์ของประเทศ รวมทั้งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
ท่าเรือแหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย จึงให้กลุ่มที่ปรึกษา CIFG Consortium ดำเนินการศึกษาทบทวนความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และสิ่งแวดล้อมของท่าเทียบเรือ สำหรับโครงการจัดประชุมการรับฟังการทดสอบความสนใจของนักลงทุน ซึ่งได้มีการจัดประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 นี้ เพื่อให้ข้อมูลพื้นฐานโครงการทางเลือกและรูปแบบการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน สถานะความพร้อมของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและดำเนินโครงการ ซึ่งกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ได้รับทราบข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโครงการเป็นอย่างดี

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!