“วาจาจริงเป็นสิ่งไม่ตาย”ประชาธิปัตย์

“วาจาจริงเป็นสิ่งไม่ตาย”ประชาธิปัตย์

ภาพ-ข่าว:นายหัวไทร

               “สัจจัง เว อมตะวาจา” แปลความได้ว่า “วาจาจริงเป็นสิ่งไม่ตาย”เป็นคำที่ “สรรเพชญ บุญญามณี” สส.สงขลา เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ ยกขึ้นมากล่าวอ้างกับสถานการณ์ความขัดแย้งในพรรคประชาธิปัตย์ในเวลานี้

                 สรรเพชญ เป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ เลือดใหม่ของประชาธิปัตย์ ที่ได้รับเลือกเป็น สส.สมัยแรกในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา สรรเพชญ เป็นทายาททางการเมืองของ “นิพนธ์ บุญญามณี” อดีตรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย เลือดใหม่อย่าง “สรรเพชญ” ถือว่า “ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น” และน่าจะมีพ่อเป็นเทรนเน่อร์ที่ดี

                3 เดือนที่ผ่านมา ได้เห็นบทบาทของสรรเพชญ “ทำหน้าที่ได้รับที” ในสภาได้เห็นการอภิปรายสะท้อนปัญหา ปรึกษาหารือในหลายประเด็น เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากสี่แยกเกาะยอ การตั้งคำว่า เรื่องการก่อสร้างอาคารหอยสังข์ที่คาราคาซังมาเป็นสิบปี ในพื้นที่ก็เกาะติดมาตลอด 3 เดือน เสร็จภารกิจในสภาก็เดินหน้างานในพื้นที่ ประเดิมด้วยการเดินสายเจอกงสุลของแต่ละประเทศ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน กล่าวได้ว่า เลือดใหม้ประชาธิปัตย์ “สรรเพชญ บุญญามณี” คือ “ดาวฤกษ์” คนหนึ่งที่น่าติดตามผลงาน ส่วน “สัจจัง เว อมตะวาจา” หรือวาจาจริงเป็นสิ่งไม่ตาย เป็น “พุทธสุภาษิต” ที่ติดอยู่กับโลโก้ประชาธิปัตย์มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งพรรค ตั้งแต่ยุค “ควง อภัยวงศ์” ผู้ก่อตั้งพรรค และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก และถือเป็นพุทธสุภาษิตที่ชวาประชาธิปัตย์ยึดถือปฏิบัติมายาวนาน

                การที่ “สรรเพชญ” ยก “สัจจัง เว อมตะวาจา” ขึ้นมากล่าวอ้างในเวลานี่เหมือนต้องการจะสะท้อนให้เห็นสถานการณ์ความขัดแย้งในพรรคประชาธิปัตย์ มีใครบางคน บางกลุ่มก้อนไม่รักษา “สัจจัง เว อมตะวาจา” กลับไปกลับมา

                 สถานการณ์ในประชาธิปัตย์ขัดแย้งชัดเจนระหว่างขั้วของ “เฉลิมชัย ศรีอ่อน” รักษาการเลขาธิการ ที่ประกาศวางมือทางการเมืองไปแล้ว หลังนำพาพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ยับเยินในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา โดยมีนายกฯชาย เดชอิศม์ ขาวทอง รองหัวหน้าพรรคภาคใต้ แทน-ชัยชนะ เดชเดโช เป็นแนวร่วมขับเคลื่อน ซึ่งเป็นกลุ่มที่โหวตเห็นชอบให้เศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรี กลุ่มนี้จะมี สส.อยู่ในมือ 16 คน ต่อไปนี้จะเรียกว่า “กลุ่ม 16”
                 กลุ่มของชวน หลักภัย เป็นกลุ่มที่ไม่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย มี ”บัญญัติ บรรทัดฐาน-จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์-นิพนธ์ บุญญามณี” เป็นแนวร่วม โดยชวน-บัญญัติโหวตไม่เห็นชอบ
จุรินทร์โหวตงดออกเสียง และมีสรรเพชญ ที่งดออกเสียงด้วย กลุ่มของเฉลิมชัยมีความพยายามสูงยิ่งในการขอเข้าร่วมรัฐบาล แต่พรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้เทียบเชิญ กลุ่มของเฉลิมชัยถึงขั้นส่งตัวแทนไปพบ “ทักษิณ”ถึงฮ่องกง แต่ได้รับการปฏิเสธ แม้กระทั้งนาทีสุดท้ายก่อนโหวตเพียงไม่กี่นาที ยังมีการพูดคุย-ต่อรอง “กลุ่มจะโหวตให้ ไม่ได้ร่วมรัฐบาลก็ไม่เป็นไร แต่จะเป็นอะหลั่ยให้ เผื่อพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคงอแง สุดท้ายกลุ่ม 16 ก็พากันโหวตเห็นชอบให้เศรษฐา เป็นนายกรัฐมนตรีในนาทีสุดท้ายของการโหวต

                 ส่วนกลุ่มของชวน หลีกภัย ไม่ประสงค์จะนำพาพรรคเข้าร่วมรัฐบาล แต่ต้องการทำหน้าที่ฝ่ายค้านอย่างเข้มข้น เป็นฝ่ายค้านที่มีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาลอย่างจริงจัง พร้อมสนับสนุน “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” กลับมาเป็นหัวหน้าพรรค รับบทบาทหนักในการฟื้นฟูพรรคอย่างทุ่มเท ซึ่งถ้าหันซ้ายมองขวาก็ยังหาใครเหนือกว่าอภิสิทธิ์ไม่มี แต่กลุ่มเฉลิมชัยก็เฟ้นหาคนลงแข่ง ก็ไปคว้า “นราพัฒน์ แก้วทอง” รองหัวหน้าพรรคภาคเหนือ มาลงแข่ง หลังจากเข็น “ดร.เอ้-สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์” ไม่ขึ้น ความขัดแย้งในพรรคประชาธิปัตย์ก่อตัวขึ้นในการเลือกหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ แทน “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์”ที่รับผิดชอบต่อผลการเลือกตั้ง จึงลาออกไป เมื่อสองขั้วเชียร์คนละคนกัน และเป้าหมายต่างกันชัดเจน

                เกมล้มประชุมถูกกำหนดขึ้นเมื่อมีการประเมินว่าฝ่ายของตัวเองยังไม่มีโอกาสชนะ จากการคุมเสียงของโหวตเตอร์ ยังไม่พอ จากจุดอ่อนของข้อบังคับพรรคที่ให้น้ำหนักกับ สส.ปัจจุบันถึง 70% ส่วนโหวตเตอร์อื่นๆ มีน้ำหนักเพียง 30% ในขณะที่กลุ่มของเฉลิมชัย กุมเสียง ส.ส.อยู่มากกว่า 16 คน แต่กลุ่มของนายชวนจะกุมเสียงสาขา ตัวแทนจังหวัด และอื่นๆ ซึ่งมีน้ำหนักแค่ 30% โหวตอย่างไรกลุ่มของนายชวนอย่างไรก็แพ้ การประชุมใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ล้มลงแล้วถึงสองครั้ง ซึ่งในการจัดประชุมแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท สองครั้งก็ 6 ล้านบาทเข้าไปแล้ว ปัญหาในพรรคประชาธิปัตย์มาแตกหักเมื่อมีการประชุม สส.เพื่อกำหนดท่าทีในการโหวต มีแค่ 3 แนวทางคือ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ และงดออกเสียง แต่เมื่อพรรควางตัวเป็นฝ่ายค้าน “เห็นชอบ” จึงถูกยกไป มีการแลกเปลี่ยนกันว่าจะไม่เห็นชอบ หรืองดออกเสียง เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า “งดออกเสียง” แต่ “ชวน-บัญญัติ-ขออนุญาตต่อที่ประชุมจะขอโหวตไม่เห็นชอบ

               รองโฆษกพรรคแถลงข่าวชัดเจนว่า มติเสียงส่วนใหญ่ให้งดออกเสียง “เดชอิศม์ ขาวทอง”ก็โพสต์ในเฟสบุ๊คในเวลาต่อมาว่า พรรคมีมติให้งดออกเสียง แต่เมื่อถึงเวลาโหวต มี สส.16 คน ยกมือเห็นชอบ 6 คน งดออเสียง และ 2 คน ไม่เห็นชอบ

               เดชอิศม์ ขาวทอง นำทีม 16 สส.แถลงข่าวในวันต่อมาเหมือนกับว่าพรรคไม่ได้มีมติอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อใกล้เวลาโหวต สส.ในกลุ่มก็มานั่งคุยกัน และเห็นร่วมกันว่าจะยกมือเห็นชอบ โดยไม่หวั่นเกรงต่อการถูกขับออกจากพรรค ถ้าถูกตั้งกรรมการสอบ เดชอิศม์ไม่หวั่นเกรงเพราะมีเสียง สส.อยู่ในมือจำนวนมาก กับเสียงที่ต้องใช้ในการขับสมาชิกออกจากพรรค 3/4 น่าจะเพียงพอ แถมตั้งเป็นปุจฉาไว้ด้วยว่า “ไม่รู้ว่าใครจะขับใคร”

               “ไม่รู้ว่าใครจะขับใคร” เป็นหอกที่แหลมคมพุ่งไปยัง “ชวน หลักภัย” ตรงๆเลย เพราะชวนเป็นคนออกมาคอกย้ำว่า นายกฯชายเป็นคนพูดเองว่า ”ใครไม่ปฏิบัติตามมติพรรคก็ต้องลาออกไป” ถึงเวลานี้ไม่รู้ว่า กลุ่มนายกฯชาย หรือกลุ่มนายกฯชวนต้องลาออกไป แต่ที่สำคัญสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ “สัจจัง เว อมตวาจา” วาจาจริงเป็นสิ่งไม่ตาย

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!