นครสวรรค์-กองสาธารณสุข อบจ.เสนอแผนงาน/โครงการ

นครสวรรค์-กองสาธารณสุข อบจ.เสนอแผนงาน/โครงการ

ภาพ/ข่าว: ชาติชาย 

กองสาธารณสุข อบจ.นครสวรรค์ รายงานการนำเสนอโครงการและแผนการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พศ.2566

          เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 15 มีนาคม 2566 พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ ร่วมรับฟังรายงานการประชุม ของกองสาธารณสุข อบจ.นครสวรรค์ ซึ่งรายงานการนำเสนอโครงการ และการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมด้วย นายเชิดพันธุ์ มาศรี, นางสุดฤทัย เศรษฐนันท์ รองนายก อบจ.นครสวรรค์ นายสันติ จันทร์เผิบ รองปลัด อบจ.นครสวรรค์ โดยมี นางสาวทัศนีย์ โชติกเจริญสุข เลขานุการอบจ. รักษาราชการแทน ผอ.กองสาธารณสุข พร้อมด้วยหัวหน้าฝ่าย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมศูนย์สั่งการและควบคุมการปฏิบัติ อบจ.นครสวรรค์
          วัตถุประสงค์ในการประชุม เพื่อรายงานการนำเสนอโครงการและการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกองสาธารณสุข ประกอบด้วย โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โครงการรณรงค์ป้องกันเชื้อ เอช ไอ วี โครงการรณรงค์ป้องกันต้านภัยยาเสพติด โครงการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) จ.นครสวรรค์ โครงการทบทวนพัฒนาและประเมินแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ของ อบจ.นครสวรรค์ เพื่อนำสู่แผนฯระดับตำบล และงานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ จ.นครสวรรค์
          จากนั้นเป็นการรายงานผลการตรวจสอบ ตรวจนับครุภัณฑ์ ของ รพ.สต.ในสังกัด อบจ.นครสวรรค์ ทั้ง 99 แห่ง รวม 14 อำเภอ รวมครุภัณฑ์จำนวน 12,409 รายการ รวมไปถึงการรายงานผลปัญหาและอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหา สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้ด้วย

          นายก อบจ.นครสวรรค์ กล่าวว่า “การนำเสนอในครั้งนี้เราได้แนวทางการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น อยากจะฝากให้เพิ่มเติมการสร้าง Timeline หรือห้วงเวลาในการทำงานของทั้งระยะการทำงานแรกถึงระยะสุดท้ายนั้น ควรวางรายละเอียดการทำงานที่ชัดเจนให้สะดวกและง่ายขึ้น ระยะท้ายที่สุดควรมีการประเมินผลลัพธ์ และฝากเจ้าหน้าที่ดำเนินโครงการให้เน้นเหตุผลในการดำเนินการซึ่งควรนำประโยชน์ของชาวบ้านประชาชนเป็นหลัก และอีกโครงการหนึ่งที่เห็นด้วยคือโครงการการแก้ปัญหายาเสพติดในโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาของกลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่อบจ.ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้โดยจะนำแนวคิดของเด็กนักเรียน friend Zone ที่เข้ามามีส่วนร่วมช่วยปรับทัศนคติที่เป็นเชิงลบของนักเรียนให้เป็นเชิงบวกได้ และสำหรับการดำเนินงานชุมชนเข้มแข็งนั้นเราจะมีการนำ รพ.สต.เป็นหลักเพื่อเชื่อมโยงความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และงบประมาณที่จะดำเนินการจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานภาครัฐอื่น โดยโครงการอบจ.นครสวรรค์ จะไม่สร้างการทำงานแบบครบวงจร แต่จะเป็นการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ซึ่งเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน”

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!