ปราจีนบุรี-ระวังภัย! หนาวนี้ช้างป่าอ่างฤาไน 13 ตัว ยกโขลงบุกสวนกล้วย อบต.สาว ต.วังท่าช้าง

ปราจีนบุรี-ระวังภัย! หนาวนี้ช้างป่าอ่างฤาไน 13 ตัว ยกโขลงบุกสวนกล้วย อบต.สาว ต.วังท่าช้าง

ภาพ/ข่าว:มานิตย์ สนับบุญ

          เมื่อเวลา 18.00 น. วันนี้ (22 พ.ย.66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้รับแจ้งจากผู้นำท้องถิ่น ที่หมู่บ้านคลองหันแดง ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี พบโขลงช้างป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา ( ในเขตป่าราบต่ำผืนสุดท้ายของไทยป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา,จ.สระแก้ว,จ.ชลบุรี,จ.จันทบุรีและ .ระยอง ) รวมจำนวน 13 ตัว อพยพข้ามฝั่งมาหากินในพื้นที่ดังกล่าว โดยโขลงช้างป่าได้พากันยกพลบุกเข้ากัดกินและเหยียบย่ำสวนกล้วยของผู้เสียหายคือ น.ส.นรมล ระยองชาว สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าช้าง (ส.อบต ) ม.7 ทำให้สวนกล้วยน้ำว้าที่ปลูกไว้ 3 ไร่ กำลังออกเครือใกล้เก็บผลผลิตเสียหายเกือบยกแปลง และโขลงช้างป่า ยังได้พากันยกโขลงบุกเข้ากัดกินและเหยียบย่ำสวนกล้วยน้ำว้าแม่ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าช้าง (ส.อบต.)ต่ออีก 15 ไร่เสียหายอีกด้วย
          น.ส.นรมล กล่าวว่า วันนี้มีลูกบ้านได้มาบอกว่ามีโขลงช้างป่า 13 ตัว จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา ข้ามฝั่งเข้ามาหากิน ยกโขลงมากัดกินกล้วยในสวนจึงแจ้งผู้นำหมู่บ้านและชุดจิตอาสาเฝ้าระวังช้างป่า ต.วังท่าช้าง ให้ทราบเพื่อเฝ้าระวังและผลักดัน พร้อมทั้งประกาศแจ้งเตือนลูกบ้านให้ระวังอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สินที่อาจเกิดจากโขลงช้างป่าดังกล่าว ซึ่งคาดว่า โขลงช้างป่าจะหลบซ่อนอยู่ในป่าทึบข้างหมู่บ้าน ล่าสุดยังไม่มีการพบเห็นโขลงช้างป่าดังกล่าวแต่อย่างใด คาดว่าในช่วงค่ำเจ้าหน้าที่ชุดผลักดันและจิตอาสา จะลงพื้นที่แกะรอยและผลักดันออกจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัยของชาวบ้าน

          ขณะที่ นายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน กล่าวว่า สำหรับช้างป่าในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานที่มีพฤติกรรมเกเรดื้อรั้นไม่ยอมกลับเข้าป่า ในแถบ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี นั้น เบื้องต้นเริ่มตรวจสอบพบบ้างแล้ว โดยเฉพาะในฝั่งจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นช้างเดี่ยวตัวผู้หรือช้างโทน ที่มีพฤติกรรมเป็นสเก๊าต์หน้า หรือเป็นชุดตรวจสอบหาแหล่งอาหาร ก่อนที่จะกลับไปตามโขลงมาร่วมหากิน ซึ่งกลุ่มนี้กำลังอยู่ในระหว่างการสำรวจข้อมูลและอาจจะต้องใช้การกักบริเวณเข้าช่วยจัดการปัญหาเป็นการเร่งด่วน. ในการหาพื้นที่ที่กักบริเวณช้างป่าที่มีพฤติกรรมเกเร ไม่ยอมเข้าป่าและออกมาสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านเป็นประจำ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งต้องเร่งสำรวจและดำเนินการเร่งด่วนภายใน 30 วัน และเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยทางอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ให้นโยบายแร่งด่วนให้ทุกป่าอนุรักษ์ได้จัดทำแผนเร่งด่วนในพื้นที่ของตัวเองให้มีการวางแผนร่วมกันกับทุกภาคส่วนเพื่อจัดการปัญหา เพื่อให้เดินหน้าไปในแนวทางเดียวกัน ตามแนวทาง 6 หลัก ประกอบด้วย 1. การจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของช้างป่า 2. แนวป้องกันช้างป่า 3. ชุดเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่า และเครือข่ายชุมชน 4. การช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า 5. การจัดการพื้นที่รองรับช้างป่าอย่างยั่งยืน และ 6. การควบคุมประชากรช้างป่า ด้วยวัคซีนคุมกำเนิด นายประวัติศาสตร์ กล่าว และกล่าวต่อไปว่า ล่าสุด ได้รายงานสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี) คืนวันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ชุดระวังป่า 4 เฝ้าระวังและผลักดันช้างป่า บริเวณพื้นที่ บ้านทุ่งแฝก เหตุการณ์ทั่วไป) เจ้าหน้าที่สายตรวจส่วนกลาง (ระวังป่า 1 ,2 ,3 ) ชุด NCAPS พร้อมด้วยจิตอาสาเฝ้าระวังช้างป่า ร่วมกันเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าโดยใช้โดรนเป็นอุปกรณ์ตรวจการณ์บริเวณพื้นที่ฐานเฝ้าระวังช้างป่าคลองตาเบ้า ท้องที่บ้านคลองตาหมื่นน้อย ม.6 ต.ทุ่งโพธิ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี เวลา 20.30 น. รับแจ้งจากชาวบ้านว่าพบช้างป่า 1 ตัวออกหากินบริเวณพื้นที่ทางการเกษตร พิกัดที่ 47P 816125N 1567351E เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการเข้าผลักดันช้างป่าให้กลับขึ้นเขาเพื่อหากินยังป่าธรรมชาติต่อไป เขตการจัดอุทยานแห่งชาติทับลาน 1 (นาดี) ชุดสายตรวจลาดตระเวนที่ 20 (ห้วยคำภู) (หยุดพักภายหลังการออกลาดตระเวนในป่า) เขตการจัดอุทยานแห่งชาติทับลานที่ 2 (สวนห้อม) ชุดสายตรวจลาดตระเวนที่ 2 (ซับเม็ก) (ปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนเนื่องจากไม่ได้รับแจ้งช้างออก) เขตการจัดอุทยานแห่งชาติทับลานที่ 3 (คลองน้ำมัน ) ชุดสายตรวจลาดตระเวนที่ 2 (ซับสะเดา) (ปฏิบัติภารกิจออกตรวจลาดตระเวนเนื่องจากไม่ได้รับแจ้งช้างออก) เขตการจัดอุทยานแห่งชาติทับลานที่ 4 (ลำปลายมาศ) ชุดสายตรวจลาดตระเวนที่ 1 (ด่านละกอ) (ปฏิบัติภารกิจรอบสแตนบายดักซุ่มเนื่องจากไม่ได้รับแจ้งช้างออก) เขตการจัดอุทยานแห่งชาติทับลานที่ 5 (ภูลำใย) ชุดสายตรวจลาดตระเวนที่ 1 (หาดจอมทอง)(ออกตรวจลาดตระเวนเนื่องจากไม่ได้รับแจ้งช้างออก) ทั้งนี้ วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2566 อุทยานแห่งชาติทับลาน ได้ออกตรวจเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่า จำนวน 2 ครั้ง พบช้าง 1 ตัว ไม่พบความเสียหาย

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!