นครสวรรค์-ม.ราชภัฏ เชิดชูเกียรติ ศิลปินถิ่นสวรรค์ มอบรางวัลศิลปิน 4 สาขา

นครสวรรค์-ม.ราชภัฏ เชิดชูเกียรติ ศิลปินถิ่นสวรรค์ มอบรางวัลศิลปิน 4 สาขา

ภาพ/ข่าว:ชาติชาย

          เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 มีนาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ “ศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช 2566” ณ ห้องพระบาง อาคาร 15 ชั้น 4 สำหรับศิลปินที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ “ศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช 2566” มีดังนี้
1. สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ คณะมังกรทอง จ้าวพ่อ-จ้าวแม่ปากน้ำโพ และสมาคมกว๋องสิวนครสวรรค์
2. สาขาช่างฝีมือ ได้แก่ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ นครสวรรค์
3. สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นายวัฒนโชติ ตุงคะเตชะ
4. สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ นายนิพนธ์ เที่ยงธรรม
          ในพิธีเชิดชูเกียรติมีการแสดงของ “ศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช 2566” ชื่อชุดการแสดง “สิงโตกว๋องสิว แซ่ซ้องยินดี ศิลปินถิ่นสวรรค์” ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ประธานสภาคณาจารย์ฯ, รองอธิการบดี, ผู้ช่วยอธิการบดี, คณบดีคณะครุศาสตร์, คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, คณบดีคณะวิทยาการจัดการ, คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม, คณะกรรมการส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย, ผู้แทนวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์, รองคณบดีคณะครุศาสตร์, รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา, กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประเภทคณาจารย์ประจำ, รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, อาจารย์ประจำสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ, ผู้แทนกองพัฒนานักศึกษา, ผู้แทนผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, ทีมงานสโมสรนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และนักศึกษาโปรแกรมวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นปีที่ 3
          ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2565 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) และสร้างระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรมเชิงพื้นท/ เป้าประสงค์ที่ 1. มีการใช้ประโยชน์จากวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) แก่สังคมท้องถิ่น/ กลยุทธ์ที่ 3. ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ในชุมชนท้องถิ่น

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!