อุบลราชธานี-ยึดหลัก “บวร” ผนึกกำลังกำลังพัฒนาพื้นที่ “โคก หนอง นา โมเดล”

อุบลราชธานี-ยึดหลัก “บวร” ผนึกกำลังกำลังพัฒนาพื้นที่ “โคก หนอง นา โมเดล”

ภาพ/ข่าว:งานประชาสัมพันธ์ สพจ.อุบลราชธานี

           จ.อุบลฯ ยึดหลัก “บวร” ผนึกกำลังกองทัพและภาคเอกชน กระจาย กำลังพัฒนาพื้นที่ “โคก หนอง นา โมเดล” พร้อมเสริมแกร่งนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ ร่วมสานฝันศูนย์เรียนรู้แก่ชุมชนและสร้างทางรอดโควิด-19

              วันที่ 12 มกราคม 2564 นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี และนายธงชัย ครุฑแสน ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” งบพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 2 แห่ง ได้แก่ วัดป่าศรีแสงธรรม หมู่ 5 บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้รับงบประมาณดำเนินการปรับพื้นที่จำนวน 5 ไร่ ระยะเวลาดำเนินการ 10 วัน ประกอบด้วย งานเคลียริ่ง 5 ไร่ งานขุดหนองและหลุมขนมครก ขนาด 3,500 คิว, งานขุดคลองไส้ไก่ 1,000 คิว รวมทั้งสิ้น 4,500 คิว ปัจจุบันได้ดำเนินการเเล้วเสร็จตามโครงการฯ เเล้ว 100 % ถือเป็นแหล่งเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้กับประชาชนที่สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม พระนักพัฒนาของอำเภอโขงเจียมและจังหวัดอุบลราชธานี ได้ขยายผลเพื่อต่อยอดการดำเนินโครงการฯ โดยการพัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ ในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” เพิ่มอีกในเนื้อที่ 20 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้เเละฝึกปฏิบัติในสถานที่จริงแก่ผู้ที่สนใจในการทำ “โคก หนอง นา โมเดล” ถือเป็นความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลัก “บวร” (บ้าน วัด ราชการ) เป็นกลไกพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็งก่อให้เกิดเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคง ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้

             โดยพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ได้เมตตาให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าในพื้นที่ 20 ไร่ ที่ได้ดำเนินการปรับพื้นที่นี้ มีแผนพัฒนาพื้นที่ให้มีความสวยงามในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อให้เป็นจุด Landmark หรือแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ที่ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสกับความงดงามของเหล่าต้นไม้หลากหลายชนิดเเละดอกไม้หลากสีสัน รวมถึงความร่มรื่นเเละเรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ เเละที่สำคัญคือเรียนรู้เรื่องศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและการพึ่งพาในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานราชการ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชนี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 13 อุบลราชธานี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุบลราชธานี เเละมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นต้น โอกาสนี้ นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี ได้กราบนมัสการและกราบเรียนท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ถึงการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” งบเงินกู้รัฐบาลและงบกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานี มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 3,960 ราย มากที่สุดในประเทศไทย และต้องดำเนินการจัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี เป็นหน่วยดำเนินการ มีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ครัวเรือนพื้นที่​ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต​ครัวเรือนละ 1 คน จำนวน 3,892 คน และผู้เข้าร่วมโครงการจ้างงานสร้างรายได้ (นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ) จำนวน 898 คน รวม 4,790 คน ดำเนินการ 48 รุ่น ๆ ละ 100 คน ใช้สถานที่ฝึกอบรม จำนวน 5 แห่ง ซึ่งวัดป่าศรีแสงธรรม หมู่ 5 บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม แห่งนี้ เป็นหนึ่งในสถานที่จัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้น ฯ และมีแผนรองรับการฝึกอบรม จำนวน 11 รุ่น ๆ ละ 100 คน รวมจำนวน 1,100 วัน แต่ละรุ่นมีระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 5 วัน 4 คืน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล และให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเป็นแกนนำขับเคลื่อนการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดลในพื้นที่เป้าหมาย เกิดแกนนำการพัฒนา เป็นครูกระบวนการ ครูกสิกรรม ครูประจำฐานเรียนรู้การพึ่งพาตนเอง และครูพาทำ ส่งผลให้ชุมชนมีกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการสร้างทางรอดให้กับชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ก่อนขยายผลการพัฒนาพื้นที่ในระยะยาวให้เกิดความยั่งยืนต่อไปด้านนายธงชัย ครุฑแสน ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการปรับพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” งบพัฒนาจังหวัด แปลงตัวอย่าง นายกนกพล เกิ้นสอน ต.บุเปือย อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ดำเนินการปรับพื้นที่จำนวน 6 ไร่ ระยะเวลาดำเนินการ 12 วัน ประกอบด้วย งานเคลียริ่ง 2 ไร่ งานขุดหนองและหลุมขนมครก ขนาด 4,000 คิว, งานขุดคลองไส้ไก่ 1,000 คิว, ปรับระดับแปลงนา 375 คิว และปั้นคันนาทองคำ 375 คิว รวมทั้งสิ้น 5,750 คิว โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลและบุคลากรในการปรับพื้นที่จากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 56 กองบัญชาการกองทัพไทย

ในการนี้ คณะจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฯ ได้ตรวจเยี่ยมการดำเนินการพัฒนาพื้นที่แปลงตัวอย่างฯ ซึ่งมีความคืบหน้าสามารถดำเนินการได้กว่าร้อยละ 80 พร้อมขอบคุณหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ให้การสนับสนุนเครื่องจักรกลและบุคลากรในการปรับพื้นที่ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ โดยเฉพาะการสร้างความมั่นคงทางอาหารและการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้อย่างยั่งยืน นอกจากนั้น ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ยังได้พบปะและให้กำลังใจ “นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ” โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” อำเภอน้ำยืน ที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 20 คน ที่ได้ร่วมศึกษาและพัฒนาพื้นที่แปลงตัวอย่างในวันนี้ โดยขอให้ทุกคนมุ่งศึกษาเรียนรู้หลักทฤษฎีใหม่ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมถึงพยายามพัฒนาตนเองและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการทำงาน เพราะทุกคนถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับโอกาสและถือเป็นตัวแทนของคนหลายล้านคนในการสานต่องานและพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมถึงเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ร่วมไปกับกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อให้สังคมพึ่งตนเองได้อยู่เย็นเป็นสุข ส่งผลประโยชน์ต่อประเทศและระบบนิเวศของโลกเราด้วย พร้อมนี้ขอให้ทุกคนรักษาสุขภาพ ห้ามประมาท การ์ดอย่าตก ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตลอดปีและตลอดไป

จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการอนุมัติงบประมาณดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติการ จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” จำนวน 4,489,200 บาท (สี่ล้านสี่แสนแปดหมื่นเก้าพันสองร้อยบาทถ้วน) และมอบหมายสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานีและหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานโครงการฯ มีกลุ่มเป้าหมาย 25 แปลงตัวอย่าง ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบโคก หนอง นา โมเดล และพัฒนาแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” จำนวน 2 กิจกรรมหลัก คือ 1.กิจกรรมฟาร์มตัวอย่าง ได้แก่ กิจกรรมจิตอาสา สร้างและพัฒนาฐานเรียนรู้ และกิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ 2.กิจกรรมขยายผลแปลงตัวอย่าง 25 แปลง กิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมเวทีสร้างการรับรู้ฟาร์มตัวอย่างและโคก หนอง นา  กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนการขับเคลื่อนแปลงตัวอย่าง / กิจกรรมเวทีขับเคลื่อนแปลงตัวอย่าง 25 แปลง / กิจกรรมเอามื้อสามัคคี สร้างและพัฒนาฐานเรียนรู้ในแปลงตัวอย่าง / กิจกรรมจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

สำหรับความคืบหน้าของการดำเนินงานโครงการฯ ในภาพรวมล่าสุด ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วกว่าร้อยละ 80 โดยอยู่ระหว่างการดำเนินกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ควบคู่ไปกับการสร้างและพัฒนาฐานเรียนรู้ในแปลงตัวอย่าง ทั้ง 25 แปลง ซึ่งมีแปลงตัวอย่างที่ดำเนินการปรับพื้นที่เสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 6 แปลง ได้แก่ 1)แปลงตัวอย่าง พระครูวิมลปัญญาคุณ วัดป่าศรีแสงธรรม ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม 2)แปลงตัวอย่าง นางฉวี กุกำจัด ต.ตาเกา อ.น้ำขุ่น 3)แปลงตัวอย่าง นางนิ่มนวล จันทปัญญา ต.หนองนกทา อ.เขมราฐ 4)แปลงตัวอย่าง นายสุพล บุญรักษา ต.นาคาย อ.ตาลสุม 5)แปลงตัวอย่าง นายประวิท นักบุญ ต.ค้อทอง อำเภอเขื่องใน และ 6) แปลงตัวอย่าง นายสมพงษ์ จำปาวงศ์ ต.วารินชำราบ อ.วารินชำราบ 7) แปลงตัวอย่าง นายนครชัย สุภาษร ต.นาแวง อ.เขมราฐ โดยในส่วนของแปลงตัวอย่าง ที่เหลือจำนวน 18 แปลง ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการปรับพื้นที่และพัฒนาศูนย์เรียนรู้ โดยรอความพร้อมของเครื่องจักรกลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการตามลำดับ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการพัฒนาพื้นที่ทั้ง 25 แปลง ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2564 ทั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์ สนับสนุนเครื่องจักรกลและบุคลากรในการปรับพื้นที่จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เป็นการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี, สำนักงานชลประทานที่ 7 อุบลราชธานี, หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 56 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา, แขวงทางหลวงชนบทอุบลราชธานี, แขวงทางหลวงอุบลราชธานีที่ 1, แขวงทางหลวงอุบลราชธานีที่ 2, ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต13 อุบลราชธานี, สำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี, คูโบต้าเจริญชัยอุบลราชธานี บริษัท บางกอกโคมัตสุเซลส์ จำกัด ศูนย์อุบลราชธานี

ติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ และพิกัดที่ตั้งแปลงตัวอย่างได้ทางลิ้งค์ https://www.google.com/maps/d/viewer?mid=1wZdnschLsBA5hmCcF8vDnRHL3gDJJvYF&ll=15.270965364358736%2C105.11330000000001&z=11

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

 

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!