ปทุมธานี-SMEs เสนอทางออกแก้โควิด นำเข้าวัคซีนเสรีก่อนสายไป

ปทุมธานี-SMEs เสนอทางออกแก้โควิด นำเข้าวัคซีนเสรีก่อนสายไป

ภาพ/ข่าว:อนันต์ วิจิตรประชา

SMEs เสนอทางออกแก้โควิด นำเข้าวัคซีนเสรีก่อนสายไป

            วันที่ 3 เมษายน 64 นายธีรวงศ์ สรรค์พิพัฒน์ ประธานเครือข่ายเอสเอ็มอีรุ่นใหม่ (newgen SMEs) เสนอรัฐบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้วิกฤตโควิดให้กับประชาชนว่า รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการแก้วิกฤตซึ่งควรมีนโยบายเร่งด่วนแข่งกับเวลาดังนี้

1. เปิดเสรีการนำเข้าวัคซีนโดยเร่งด่วนที่สุด ให้ใช้มาตรฐานวัคซีนที่ได้รับการรับรองจากต่างประเทศแทนการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นการชั่วคราวไม่น้อยกว่า 1 ปี ชีวิตประชาชนที่แข่งกับเวลาในแต่ละวันสำคัญกว่ามาตรฐานอย. ควรคำนึงถึงผู้ที่ต้องทรมานกับโรคโควิดในทุกนาทีและเศรษฐกิจไทยเป็นสำคํญกว่าสิ่งใด
2. กีดกัดระบบผูกขาดในเรื่องวัคซีนอย่างเด็ดขาด และทันที การนำเข้ายิ่งมากยิ่งเป็นผลดีในภาวะที่วิกฤตยังไม่สามารถควบคุมได้ การซื้อวัคซีนในเวลานี้มีความสำคัญกว่าการซื้อยุทธโธปกรณ์เป็นอย่างมาก เมื่อมีการติดโควิดจะนำไปสู่การใช้งบมหาศาลในการเยียวยารักษาและเรื้อรัง เช่น การตั้งเตียงสนาม การใช้ยา และบุคคลากรทางการแพทย์ ควรแก้ที่ปัญหาตัดไฟแต่ต้นลม การนำเข้าวัคซีนเร็วขึ้นมากเท่าไรยิ่งเป็นผลดีกว่ากับประชาชนเท่านั้น งบที่ใช้จ่ายในการซื้อยุทธโธปกรณ์มาป้องกันประเทศมากจากภาษีในภาคเศรษฐกิจ ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจดีงบในการจัดซื้อก็เพิ่มขึ้นในทันที
3. การผลิตวัคซีนเองเป็นเรื่องถูกต้องก็ต่อเมื่อสามารถผลิตได้เร็วกว่าการนำเข้า และผลิตเพื่อขายต่างประเทศนั้นอาจเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหวังผลกำไร นโยบายใดที่เอื้อต่อเอกชนรายหนึ่งรายใดย่อมไม่สัมพันธ์กับการแก้ไขปัญหาวิกฤตเฉพาะหน้า รัฐบาลควรเปิดเสรีในห้วงวิกฤติอย่างชัดเจน ไม่สร้างความสับสนในนโยบาย ซึ่ง กรณี sinovac ที่หลายประเทศสั่งห้ามเพราะมีผลข้างเคียงและประสิทธิภาพต่ำเชิงเปรียบเทียบ กลับสามารถนำเข้าเพิ่มได้ ขณะที่เอกชนรายอื่นยังประสบกับปัญหาทางกฎหมาย
4.รัฐบาลควรใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดฉีดให้กับประชาชน เชื่อว่ารัฐบาลเห็นคุณค่าของคุณภาพชีวิตประชาชนมากกว่าราคาวัคซีน กรณีที่สามารถนำเข้าวัคซีนได้ช้า เมื่อเปิดเสรีการนำเข้าแล้วข้อเท็จจริงจะปรากฎว่าเอกชนสามารถนำเข้าได้เร็วกว่ารัฐบาลหรือไม่ ทั้งยังสามารถเพิ่มทางเลือกการใช้ยี่ห้อวัคซีนให้กับประชาชน ยังเป็นการลดภาระการใช้งบซื้อวัคซีนในทางตรงอีกด้วย
5. โปร่งใสเปิดเผยราคา เงื่อนไขการจ่ายเงิน และปริมาณการซื้อวัคซีน sinovac หรือตราสินค้าอื่นจากเอกชนอย่างชัดเจน เพราะรัฐบาลสามารถนำเข้าได้เอง ไม่มีเหตุผลต้องให้เอกชนนำเข้าและซื้อผ่าน เช่น เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 องค์การเภสัชกรรมได้นำเข้าวัคซีนจากจีน เที่ยวบินTH675 บัญชีราคาสินค้าเลขที่ TH858120200203 03-02-2564 เลขที่ชำระภาษีอากร 1190 045070 24-02-2564 ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม 98,514,700.80 คิดภาษี 6,896,029.06 ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 105,410,729.86 ปริมาณที่นำเข้า 192,000 โดส คิดราคาเป็นโดสละ 549.01 บาทรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว (อินโดนิเซียราคาโดสละ 423.51 บาท อ้างอิงจาก https://interaksyon.philstar.com , อินเดียซื้อราคา 431.89 บาท อ้างอิงจาก https://www.indiatoday.in, ช่วงต้นปีทีมข่าว BBC รายงานว่าราคา sinovac ไม่สามารถระบุได้ชชัดเจนแต่จากการสอบถามพยาบาลภาคสนามที่เมืองอี้อูราคาประมาณ 45-60 ดอลล่าร์สหรัฐซึ่งขาดเอกสารรองรับที่ชัดเจน และไม่น่าเป็นไปได้อาจมีความเข้าใจผิดทางข้อมูลเพราะจีนฉีดเองราคากลับแพงกว่าขายให้อินโดนิเซีย หรืออินเดีย) ซึ่งแสดงให้ว่าภาครัฐมีเจตนาที่ดีได้นำเข้าวัคซีนด้วยตนเองผ่านองค์การเภสัชกรรม ดังนั้นถ้ารัฐบาลมีเหตุผลจำเป็นต้องซื้อผ่านเอกชนที่เป็นผู้นำเข้าโดยมีกลุ่มบริษัทของเจ้าสัวใหญ่ถือหุ้นบริษัท Sinovac Life Sciences ผู้ผลิต วัคซีนซิโนแวคอยู่ส่วน 15.03% เมื่อซื้อปริมาณหลายล้านโดสราคาจึงไม่ควรแพงกว่าที่ภาครัฐนำเข้าเอง เพราะราคาภาครัฐเป็นราคาที่นำเข้าขั้นต่ำเพียง 192,000 โดสเท่านั้น อีกทั้งเจ้าสัวธนินท์เป็นตัวอย่างของผู้ดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่ใจกว้าง เปิดโอกาสให้กับนักธุรกิจรายอื่นได้เติบโต และเป็นผู้สนับสนุนให้สามารถนำเข้าวัคซีนได้เสรีด้วยความจริงใจ เห็นได้จากโครงการ CSR ของเจ้าสัวธนินท์ที่ผ่านมีจิตใจที่ต้องการช่วยสังคมมากกว่าตนเอง ย่อมไม่ต้องการเอาผลกำไรเกินควรกับการค้าวัคซีนในการช่วยชีวิตคนไทยให้เป็นตราบาปแต่อย่างไร รัฐบาลควรเจรจากับเจ้าสัวโดยตรงและประกาศราคาซื้อที่ชัดเจนต่อโดสเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่รัฐบาลนำเข้าเองว่าถูกกว่า เร็วกว่า หรือมีด้านดีอย่างไร เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นของทุกฝ่าย โดยอาจแถลงผ่านโฆษก ศบค. ในการเสริมสร้างความความเข้าใจที่ถูกต้อง ป้องกันความสับสนของประชาชน ในที่สุดรัฐบาลจะได้ใจประชาชนเป็นอันมาก
6. ยกระดับความหน้าเชื่อถือของรัฐบาล เพราะที่ผ่านมารัฐบาลตั้งใจทำงานกันอย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดเป็นวงกว้างโดยไม่จำเป็น ควรพิจารณาการทำงานของโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์เช่น การแถลงต่อสาธารณะว่า “ส่วนประชาชนเราอยู่อย่างนี้มาโดยตลอด วัคซีนจะมาช้าหรือเร็วแทบไม่ได้มีผลกับคนไทย เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น คือ เรามีหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าในการป้องกันอนามัยส่วนตัว ไม่ต้องเจ็บจากการฉีดวัคซีน ใช้เงินน้อย ขอให้ใส่หน้ากากตลอดเวลาอยู่ในพื้นที่ชุมชน” อาจสร้างความสับสน และกระทบต่อภาพลักษณ์ของการแก้ไขปัญหาโควิดได้

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!