พระนครศรีอยุธยา-จัดทำเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 20 ปี (พ.ศ.2566 – 2585)

พระนครศรีอยุธยา-จัดทำเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 20 ปี (พ.ศ.2566 – 2585)

พระนครศรีอยุธยา-จัดทำเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 20 ปี (พ.ศ.2566 - 2585)

ภาพ/ข่าว:นราเอก ตันศิริ : นพดล บำเพ็ญสัตย์

เมื่อวันที่ 22 พฤษาคม 2566 ที่ชั้น 2 The Hall ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายกกชัย ฉายรัศมีกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับบุคคล เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด 20 ปี ภายใต้โครงการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 20 ปี (พ.ศ.2566 – 2585) โดยมี นางสรัญญา เพชรยวน ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้กล่าวรายงาน มีส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จาก 16 อำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 300 คน
              ตามที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 กำหนดให้คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) กำหนดเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดครั้งละยี่สิบปี ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และต้องคำนึงถึงเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค ความต้องการและศักยภาพของประชาชนในจังหวัด และจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดที่มีรายละเอียดเป้าหมายการพัฒนาสอดคล้องกับการพัฒนาเป้าหมาย ยี่สิบปี ทั้งประเด็นการพัฒนา เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย แนวทางการพัฒนา แผนงาน/โครงการสำคัญ กิจกรรมในโครงการ ตลอดจนงบประมาณและระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการ โดยคำนึงถึงความต้องการและศักยภาพ ของประชาชนในจังหวัด มาตรา 24 ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับบุคคลอันประกอบไปด้วย หัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลาง หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน
              ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหลักเกณฑ์ในการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด 20 ปี ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่แต่ละจังหวัดโดยใช้ศักยภาพของจังหวัดและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ มาเป็นหัวใจสำคัญในการกำหนดเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาจังหวัด

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!