อำเภอเมืองประจวบฯยอมรับมีคำสั่งศาลให้ย้ายสาร บีที ปลอมขยะพิษ 32.8 ล้าน

 อำเภอเมืองประจวบฯยอมรับมีคำสั่งศาลให้ย้ายสาร บีที ปลอมขยะพิษ 32.8 ล้าน

ภาพ/ข่าว:ณัฐพัชญ์ วงษ์ประเสริฐ 

             อำเภอเมืองประจวบฯยอมรับมีคำสั่งศาลให้ย้ายสาร บีที ปลอมขยะพิษ 32.8 ล้าน ออกจากหอประชุมตั้งแต่ปี 2562

               เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม นายธนนท์ พรรพีภาส นายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ได้เร่งรัดติดตามตรวจสอบการจัดซื้อสารบีที หรือเชื้อแบคทีเรีย กำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ปัจจุบันมีการเก็บสารบีที มูลค่า 32.8 ล้านบาท ที่หอประชุมอำเภอเมือง และสารบีที มูลค่า 24.7 ล้านบาท ในอาคารใกล้เมรุร้าง วัดนาหูกวาง อ.ทับสะแก ซึ่งเก็บไว้นานถึง 10 ปี ในสภาพหมดอายุการใช้งานและอาจมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันยังไม่มีการนำไปบำบัดตามหลักวิชาการ หลังจากฝ่ายปกครองจัดซื้อเพื่อกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว เมื่อเดือนสิงหาคม 2555 แต่ถูกทักท้วงว่าเป็นสินค้าที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรฯ ฝ่ายปกครองจึงไม่ลงนามซื้อขาย

             นายธนนท์ กล่าวว่า สำหรับสาร บีทีที่เก็บไว้ในหอประชุมอำเภอ ที่ผ่านมาศาลประจวบคีรีขันธ์มีคำพิพากษาตั้งแต่ปี 2562 ให้เจ้าของบริษัทผู้ขายสินค้านำสารพิษไปทิ้ง ภายหลังคณะกรรมการแก้ปัญหาระดับจังหวัด แจ้งให้ปลัดอำเภอเมืองไปแจ้งความดำเนินคดี แต่หลังจากนั้นอาจจะไม่ได้ติดตามคดีให้ถึงที่สุด ล่าสุดอำเภอได้ขอคัดคำพิพากษา จากนั้นได้ประสานไปยังอธิบดีกรมวิชาการเกษตรเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดว่า สารเคมีในบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดเป็นสารพิษอันตรายหรือไม่ ก่อนเคลื่อนย้ายไปทำลาย มีรายงานว่า สำหรับสาร บีที มูลค่า 24.7 ล้านบาท ที่ซุกไว้ในเมรุร้าง วัดนาหูกวาง อ ทับสะแก ยังไม่ทราบแนวทางปฏิบัติจากอำเภอทับสะแก ขณะที่หลังจากผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ระบุว่า สาร บีที ทั้ง 2 แห่งเป็นวัตถุอันตรายประเภท 2 เป็นขยะพิษ จากการตรวจสอบ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 จากนั้นขอให้จังหวัดเร่งพิจารณาดำเนินการเคลื่อนย้ายโดยเร็ว แต่ขณะนี้สารเคมีดังกล่าวยังไม่ได้เคลื่อนย้ายออกไปบำบัดตามหลักวิชาการจากการตรวจสอบระหว่างปี 2553-2555 จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ประกาศเขตพิบัติฉุกเฉินพื้นที่ระบาดแมลงศัตรูมะพร้าวต่อเนื่องหลายอำเภอ ใช้งบซื้อสาร บีที กว่า 180 ล้านบาท แต่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรไม่ได้ทักท้วง ก่อนนำไปแจกจ่ายให้เกษตรกร สำหรับข้ออ้างว่ามีมหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่งให้การรับรองจากผลวิจัยการใช้สารบีที ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขณะนั้น ต้องยืนยันว่าการจัดซื้อ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เหตุใดหลังกรมวิชาการเกษตรทักท้วง จึงยุติการจัดซื้อทันที สำหรับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( ปภ.) ขณะนี้ยังมีปัญหากับสำนักงบประมาณกรณีใช้งบทดรองราชการจัดซื้อสารบีที 180 ล้านบาท เพราะหลังจากปี 2555 ปภ.ได้ประกาศยกเลิกการประกาศเขตภัยพิบัติจากศัตรูพืชทุกจังหวัดทั่วประเทศ

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!