สระบุรี – จัดกิจกรรม”โครงการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก

สระบุรี – จัดกิจกรรม”โครงการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก

ภาพ/ข่าว:สมภพ พิมมะศร

            จัดกิจกรรม”โครงการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก สานต่อธนาคารต้นไม้ปลูกป่า3อย่างประโยชน์4อย่าง ฝ่ายชะลอน้ำแหล่งอาหารชุมชน

             ที่จ.สระบุรี สำนักงานธ.ก.ส.จังหวัดสระบุรี ธ.ก.ส.สาขาวิหารแดง ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน จัดกิจกรรม”โครงการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก สานต่อธนาคารต้นไม้ปลูกป่า3อย่างประโยชน์4อย่าง ฝ่ายชะลอน้ำแหล่งอาหารชุมชน” ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ พอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. บ้านเขาน้อยจอมสวรรค์ หมู่ 7 ต.เจริญธรรม อ.วิหารแดง จ.สระบุรี มี . นาย ฉลวย อินทร์ชัย นายกองค์การบริหารส่วน ต.เจริญธรรม อ.วิหารแดง เป็นประธาน พร้อมด้วย หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ชาวบ้านและเด็กนักเรียนทั้ง 3 โรงเรียน โดยมี นาย วรโชติ คงกิติมานนท์ ผู้จัดการธนาคาร ธ.ก.ส.สาขาวิหารแดง ให้การต้อนรับ ภายในงานมี ชาวบ้านช่วยกันนำอาหารทั้งคาวและหวานมา ทำบุญเลี้ยงพระ พร้อมปล่อยปลาตะเพียน 2000 ตัว และปลูกต้นไม้

             นาย วรโชติ คงกิติมานนท์ ผู้จัดการธนาคาร ธ.ก.ส.สาขาวิหารแดง กล่าววัตถุประสงค์ว่า โครงการนี้มีจุดกำเนิดเริ่มต้นจากการที่ภาคเกษตรกร ประสบปัญหาเกี่ยวกับฝนแล้งน้ำท่วม พอถึงช่วงหนึ่งที่ฝนทิ้งช่วงไปแล้ว และน้ำหายไป ภาคเกษตรกรเราก็เกิดปัญหาในเรื่องฝนแล้ง ที่นี้ทางธ.ก.ส.เองก็มีหลักน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขอพ่อหลวง ร.9 มาในเรื่องน้ำคือชีวิต เมื่อน้ำมีชีวิตเราจะสังเกตว่า ถ้าที่ไหนมีแหล่งน้ำ ที่นี่ก็จะมีสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ เราก็เลยมาคิดว่าจะทำอย่างไร จะช่วยแก้ปัญหาให้กับชุมชน เขาน้อยตรงนี้ ซึ่งก็มีการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาตรงนี้ ปัญหาของการที่จะใช้แหล่งน้ำ พัฒนาให้อยู่ได้นาน ก็เลยเกิดเป็นจุดประกาย ในเรื่องการทำฝายชะลอน้ำตัวแรก ซึ่งฝายชะลอน้ำตัวนี้ ในเบื้องต้นได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในชุมชนเขาน้อยนี้ ขณะเดียวกันก็ได้รับความสนับสนุนจากอบต.เจริญธรรม ตลอดจนเครือข่ายภาคเอกชนของอิตาเลี่ยนไทย เข้ามาสนับสนุนในเรื่องของปูน ในการทำฝายชะลอน้ำ ซึ่งจุดเริ่มต้นของฝายตัวแรก ในปีต่อไปก็จะเป็น ฝ่ายตัวที่ 2 ตัวที่3 ซึ่งปัจจุบันนี้มีทั้งหมด 5 ฝายแล้ว ในพื้นที่ชุมชนเขาน้อยตรงนี้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ช่วยแก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน หรือประชาชนในแถบนี้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากว่าชุมชนนี้มีน้ำใช้ตลอดปีแล้ว ไม่ต้องกังวน หลังจากที่เรามีน้ำแล้ว ก็ได้ต่อเยอะในเรื่องของการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ก็จะมีระดับใต้ดิน เรี่ยดิน และเหนือดิน ซึ่งชาวบ้านก็ได้ใช้ประโยชน์ และ 2 ปีที่ผ่านมานี่ ก็จะชัดเจนเลยว่า ประโยชน์ชุมชนได้รับอย่างแท้จริง ในส่วนของภัยโควิด ชุมชนอื่นได้รับผลกระทบ แต่ชุมชนตรงนี้เขาได้รับผลกระทบในเรื่องอาหารการกิน ส่วนในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ก็ใช้ประโยชน์ตลอดลำน้ำนี้ ซึ่งชุมชนนี้จะมีการพัฒนาต่อยอดขึ้นไปอีก ในเรื่องของการที่จะมีประมง ปศุสัตว์ เข้ามาช่วยสนับสนุน ตอนนี้ก็จะเห็นว่ามีการเลี้ยงแพะ เป็นการเกษตรที่หลากหลาย ไม่ใช่เกษตรเชิงเดี่ยว ขณะเดียวกันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับหนี้สิน ก็สืบทอดต่อยอดจากโครงการนี้ ธ.ก.ส.ก็ดำเนินการ แก้หนี้แก้จน การแก้หนี้แก้จนก็คือ ให้เกษตรกลับมาอยู่กับพื้นที่ พัฒนาพื้นที่ของตนเอง สร้างชุมชนให้เข้มแข็งยั่งยืน ตามหลักของพ่อหลวง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทาง ธ.ก.ส.เองก็พยายามที่จะน้อมนำหลักตัวนี้มาใช้สนับสนุนให้กับทางชุมชน ซึ่งเราจะเห็นว่าการปลูกป่า หรือการสร้างฝายมันต้องมีการพัฒนาต่อเนื่อง และจะเห็นว่าวันนี้มีกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากเด็กนักเรียนถึง 3 โรงเรียน ที่อยู่ในพื้นที่เขาน้อยนี้ ซึ่งตรงนี้ที่เราเห็นเด็กเข้ามา จะเป็นเรื่องของการปลูกฝังให้กับเด็กๆ ได้ตระหนักและนำไปต่อยอด สืบทอด สานต่อ เจตนารมณ์ตรงนี้ ก็เป็นเรื่องของความยั่งยืนของชุมชนนี้

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!