รพ.สต.บ้านรวมไทยพัฒนา1 ร่วม กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดทำลูกประคบ

รพ.สต.บ้านรวมไทยพัฒนา1 ร่วม กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดทำลูกประคบ

ภาพ/ข่าว:ชวลิต วิกุลชัยกิจ

              รพ.สต.บ้านรวมไทยพัฒนา1 ร่วม กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดทำลูกประคบ ใว้ใช้เองด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย โดย. กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลมไทยพัฒนา สนับสนุนโดย.อบต.รวมไทยพัฒนา

              เมื่อวันที่ 21 ม.ย.2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านรวมไทยพัฒนาที่ 1 ใด้จัดทำ โครงการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ปี 2565 โดยให้ความรู้ และ ฝึกการทำลูกประคบ ณ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านรวมไทยพัฒนา 1 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดย มี นายสุธรรม คำสุวรรณ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ หัวหน้ารพ. สต.บ้านรวมไทยพัฒนา 1นางพิมพร ชาววิวัฒน์ เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านรวมไทยพัฒนา1 มึวิทยากร นางสาวประกายมาศ มัชฌิมา แพทย์แผนไทยปฏิบัติการผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.อารีย์คุณ พรรณีย์กุลการ เจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย

              ร่วม กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดทำลูกประคบ ใว้ใช้เองด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย โดย. กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลรวมไทยพัฒนา สนับสนุนโดย.อบต.รวมไทยพัฒนา โครงการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ปี 2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านรวมไทยพัฒนา 1 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาทางด้านแพทย์แผนไทยที่เกี่ยวกับสมุนไพร และการนวดประคบที่ช่วยเสริมสร้างการเพิ่มน้ำนมได้ กลุ่มเป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์ และ หญิงหลังคลอดในพื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่ หมู่ 2, หมู่ 4, หมู่ 5, หมู่ 7, หมู่ 8, และ หมู่ 10 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 70 คน

             น.ส.อารีย์คุณ พรรณีย์กุลการ เจ้าหน้าที่ แพทย์แผนไทย รพ.สต.บ้านรวมไทยพัฒนาที่1 กล่าวว่า การทำลูกประคบสมุนไพรไว้ใช้เอง ทำง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก จะช่วยลดอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัด ยอก ลดอาการบวมอักเสบ ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้เนื้อเยื่อ-พังผืดยืดตัว ลดการติดขัดของข้อต่อและ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนทำให้เลือดลมเดินสะดวก ลูกประคบสมุนไพร วัสดุ/อุปกรณ์ เขียง มีด หม้อดินปากเล็ก เตา ครก ผ้าด้ายดิบ เชือกด้าย กะละมัง ทัพพี ถาด

วัตถุดิบ
1 หัวไพล 500 กรัม
2 ขมิ้นชัน 100 กรัม
3 ตะไคร้ 20 กรัม
4 มะกรูด (ผิว) 100 กรัม
5 ใบมะขาม 300 กรัม
6 เกลือ 60 กรัม
7 การบูร 30 กรัม
8 พิมเสน 30 กรัม
วิธีทำ
1 นำขมิ้นชัน หัวไพล ตะไคร้ มะกรูตมาล้างให้
สะอาดตากให้แห้งจนสะเด็ดน้ำ มะกรูดนำมาฝานเอาเฉพาะผิว
2 นำทั้งหมดมาหั่น เสร็จแล้วใส่ในครกตำหยาบ นำไปตากแดดให้แห้ง ใบมะขามก็ตากแดดให้แห้งด้วย
3 นำสมุนไพรที่ตากแดดแห้งแล้วมาผสมกับเกลือ การบูรและพิมเสนมาผสมคลุกรวมกันในกะละมังจนกระทั่งเป็”น
เนื้อเดียวกัน
4 นำสมุนไพรที่ผสมเข้าด้วยกันแล้วมาแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน แล้วใส่ลงบนผ้าดิบที่เตรียมไว้ ยกชายผ้าทั้งสี่มุม
ขึ้นแล้วใช้เชือกมัดให้แน่นเป็นลู กประคบ สรรพคุณ ไพลแก้ปวดเมื่อยร่างกาย ลดอาการอักเสบ ขมิ้นชันช่วยลดอาการอักเสบและแก้โรคผิวหนัง ผิวมะกรูดมี
น้ำมันหอมระเหยแก้ลมวิงเวียน ตะไครัจะเป็นตัวที่แต่งกลิ่นในระหว่างที่ทำการประคบ ช่วยบำรุงหัวใจ ใบมะขาม เป็นตัวยาแก้อาการคันตามต่างกาย และยังช่วยบำรุงผิวหนัง เกลือจะเป็นตัวดูดความร้อนและนำพาตัวยาทั้งหมด ในลูกป ระคบให้ซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น การบูร พิมเสนช่วยแต่งกลิ่นและบำรุงหัวใจ

นายธวัชชัย คำแก้ว สาธารณสุขอำเภอพบพระ กล่าวถึง การจัดทำโครงการที่ดี มีประโยชน์ต่อประชาชน ของ รพ.สต.รวมไทยพัฒนา 1 โดยกล่าวว่า ศาสตร์ความรู้การดูมารดาหลังคลอด ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย มีมาแต่โบราณและได้รับการพัฒนาต่อยอด มาถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหลัง คลอดบุตร ซึ่งจะทำให้ธาตุในร่างกายทั้ง 4 คือ ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ เกิดภาวะสมดุล โดยจะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยขับน้ำคาวปลา,ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย,ช่วยลดอาการคัดตึงเต้านม,ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด,ลดการอ่อนเพลีย และช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องกระชับ หน้าท้องยุบลง ซึ่งจะมีวิธีการ นวด,การประคบสมุนไพร,การทับหม้อเกลือ,การอบไอน้ำ,การนั่งถ่าน,การพอกผิว ในระหว่างการคลอดลูก แม่ได้ใช้พลังงานไปมากในการเบ่งคลอค รวมทั้งมีการฉีกขาดของ เนื้อเยื่อต่างๆ และต้องเสียเลือด แม่หลังคลอดต้องมีการพักพื้นร่างกาย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ห้ามทำงาน หนัก เพื่อให้เนื้อเยื่อ อวัยวะและระบบต่างๆ โดยเฉพาะมดลูกกลับคืนสู่สภาวะปรกติโดยเร็ว เพื่อที่แม่ จะได้แข็งแรง สามารถให้นมลูก และเลี้ยงดูลูกน้อยได้อย่างมีความสุข ในฐานะผู้บริหาร สาธารณสุขอำเภอพบพระ พร้อมผลักดันให้มีโครงการในพื้นที่ ในด้านการดูแลสุขภาพมารดาก่อนและหลังคลอด ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ซึ่งชาวบ้าน ในอำเภอพบพระ สามารถไปขอรับบริการที่ รพ.สต.หรือ รพ.พบพระได้ ในวัน เวลาที่ สถานบริการสาธารณสุขนั้นๆ กำหนดไว้ พื้นที่ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เป็นพื้นที่ ประชาชนส่วนใหญ่ได้ปลูกพืชสมุนไพรไว้ จำนวนมาก มีมากมายหลายชนิด และเป็นทางเลือก เป็นพื้นที่เหมาะสมในการผลักดันโครงการ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ด้วยความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลรวมไทยพัฒนา รพ.สต.บ้านรวมไทยพัฒนาที่1 อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่น และพี่น้องประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านรวมไทยพัฒนา 1 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จะเปิดให้บริการด้านแพทย์แผนไทย ในช่วงเดือนตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!