ชลบุรี-ประชุมโครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

 ชลบุรี-ประชุมโครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

ภาพ/ข่าว:นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี 

             ประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งระยะที่ 2 พื้นที่หาดกระทิงลาย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งระยะที่ 2พื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณหาดกระทิงลาย

              (19 พ.ค.65) ณ อาคารวิสุทธาจาร วัดประชุมคงคา นายวิวัฒน์ มหาผลศิริกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิดการประชาสัมพันธ์โครงการและประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งระยะที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณเทศบาลตำบลบางละมุง (หาดกระทิงลาย) ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่แนวชายฝั่งประมาณ 1,208 กิโลเมตร ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท แมคโคร คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและจัดทำแผนหลักแนวทาง และมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นในไปลักษณะเชิงพื้นที่หรือในลักษณะกลุ่มหาดอย่างบูรณาการ ส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ตามระบบกลุ่มหาด ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ให้กับชายฝั่ง ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างบูรณาการและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง

              ทั้งนี้ในการดำเนินการศึกษา ต้องดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับการประชาสัมพันธ์ และการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์ และประชุมรับฟังความคิดเห็น จำนวน 3 ครั้ง และการประชุมเชิงวิชาการเฉพาะด้านวิศวกรรมการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 1 ครั้ง ซึ่งการประชุมในวันนี้ เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการและประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 “เพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำโครงการ ความเป็นมาของโครงการ เหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์โครงการ แนวทางการป้องกันชายฝั่งเบื้องต้น ทางเลือกการป้องกันชายฝั่งที่เหมาะสมอย่างน้อย 3 ทางเลือก รายละเอียดของแต่ละทางเลือก และข้อดีข้อเสียของทุกทางเลือก พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการ” โดยเชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ด้านการท่องเที่ยว และภาคประชาชน เพื่อร่วมรับฟังข้อมูลโครงการ และร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!