ปราจีนบุรี – จัด ประเพณีสู่ขวัญควายไทย จัดพิธีสู่ขวัญควาย

ปราจีนบุรี – จัด ประเพณีสู่ขวัญควายไทย จัดพิธีสู่ขวัญควาย

ภาพ/ข่าว:มานิตย์ สนับบุญ

           ปราจีนฯ จัดประเพณีสู่ขวัญควายไทย จัดพิธีสู่ขวัญควาย เพื่อตอบแทนบุญคุณความดี หลังจากเสร็จสิ้นการทำนาพบเกษตร-ราชการ –ธุรกิจเฮ – นิยมเลี้ยงควาย เพิ่มมูลค่า พบฟาร์มปราจีนฯมี พ่อพันธุ์ควาย สุดยอดควายไทย คิดมูลค่าพันธุกรรม ราคาแพงถึง 60 ล้านบาท รวม ถึง 2 ตัว เป็น พ่อพันธุ์ควายทั้งคู่ ควายเผือก และ ควายดำ ( มณีแดงและ แก้วฟ้า)

            วันนี้ 14 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรี รายงานว่า ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีสายมิตรปราจีนบุรี ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ได้มีการจัด กิจกรรม ประเพณีสู่ขวัญควายไทย ประจำปี 2565 เริ่มจากพิธีทางสงฆ์ การจัดถวายภัตตาหารพระภิกษุ รวม จำนวน 9 รูป ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ควาย โดย กลุ่มอนุรักษ์ควายไทยตำบลกบินทร์ , สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี และ กลุ่มอนุรักษ์ควายไทยตำบลกบินทร์ จากนั้น เปิดลงทะเบียนเข้าร่วมงาน และ พิธีเปิดงาน ประเพณีสู่ขวัญควายไทย ประจำปี 2565 โดย มี นายโอภาส ชาญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี เป็นผู้กล่าวรายงาน ต่อ นายสฤษดิ์ บุตรเนียรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ปราจีนบุรี เขต ๓ ประธานในพิธี พร้อมประชาชนจำนวนมากกว่า 100คน นำควายกว่า 30 ตัวมาร่วมงานการสู่ขวัญควายนายสฤษฏิ์ กล่าวว่า ประเพณีการสู่ขวัญควาย เป็นการเตือนสติ เตือนจิต เตือนใจ ให้คน มีความกตัญญูกตเวที รำลึกถึงบุญคุณของผู้ที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ตนว่า ได้รับผลประโยชน์อื่นก็มากระทำการ หรือแสดงการตอบแทนบุญคุณ ที่ผู้อื่นได้กระทำแก่ตน อย่างเช่น ควาย คนได้ใช้แรงงานในการไถ คราด พลิกแผ่นดิน อันเป็นของหนัก เพื่อหว่านเพาะปลูกข้าว ปลูกพืชผักในแผ่นดิน จนได้รับผลประโยชน์จากแรงงานของควาย คือได้ข้าวสำหรับบริโภคเลี้ยงชีวิต

                  ในขณะที่คนได้ไถ คราด บางทีก็ดุด่า เฆี่ยนตีควาย ซึ่งทำโดยไม่ได้ตั้งใจ ทั้งที่กำลังมีแอก ต่างคออยู่ หนักแสนหนัก เหนื่อยแสนเหนื่อย เมื่อคนระลึกบุญคุณของควาย ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณ ไม่มีส่วนที่ได้รับผลประโยชน์อันใด ชาวนา จึงมีการหาวิธีที่จะตอบแทนคุณของควาย อโหสิกรรมต่อควาย โดยวิธีสู่ขวัญควาย และ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสานประเพณีการสู่ขวัญควาย ให้คงอยู่สืบต่อไปมิให้สูญหาย และกล่าวต่อไปว่า ควายในปัจจุบันไม้ได้ใช้แรงงานแล้ว แต่สามาถนำมาพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจ อาทิ นำมูลมาทำปุ๋ยคอก รวมกับดินเกษตร นำมาผลิตเนื้อเพื่อการบริโภคหรือเพิ่มมูลค่าได้ หรือการลดพลังงานนำไปสู่เศรษฐกิจแบบพอเพียงที่สามารถทำได้ ” ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ใน พิธี สู่ขวัญควาย มีนายสถาพร อรัญญะ เป็นหมอสู่ขวัญพื้นบ้าน อ.กบินทร์บุรี โดยก่อนสู่ขวัญมี ของเช่นไหว้ หรือ เครื่องสู่ขวัญ ที่ประกอบด้วย ดอกไม้ธูปเทียน น้ำขมิ้น ส้มป่อย ด้ายสายสิญจน์ นำมาเป็นของบูชาในการทำพิธีสู่ขวัญควาย หรือ สู่ขวัญควาย เมื่อสู่ขวัญควายเสร็จแล้ว มีการเลี้ยง ให้ควายกินฟาง หญ้าอ่อน เอาอกเอาใจ เอาดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมา ไปให้ควาย คนไทยถือว่า ควาย เป็นสัตว์ใหญ่ และ มีบุญคุณแก่ตน เพราะช่วยในการไถ การทำไร่นา เพื่อเป็นการเรียกขวัญและกำลังใจรวมทั้งขอขมาต่อควาย หลังจากที่ถูกใช้งาน ไถนา และ ถูกเฆี่ยนตี ตลอดจนการดุด่าต่างๆ ซึ่ง บททำขวัญควาย จะสะท้อนความรู้สึกเมตตากรุณาต่อควาย ในคำสู่ขวัญควาย กล่าวถึงการเอาฟาง-หญ้าอ่อน หวานอร่อยมาให้ควายเคี้ยวกิน เป็นการให้รางวัลแก่ควาย และ พิธีผูกเขาควาย เพื่อเรียกขวัญควาย โดย สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี และ กลุ่มอนุรักษ์ควายไทยตำบลกบินทร์ อันเป็น ความสำนึกผิด ที่เคยรุนแรงต่อ ควาย ด้าน นายพรหมพิริยะ หรือเอก สอนศิริ อายุ54ปี อดีตนายกสมาคมควายไทย เจ้าของสอนสิริฟาร์มควายไทย หมู่2 ต.บางยาง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า สถานการณ์ควายไทยปัจจุบัน มีทิศทางขยายเพิ่มขึ้น มีการปรับปรุงพันธุ์ ควายไทย เป็นผลตอบแทนให้เกษตรกรสมน้ำ สมเนื้อ ดูแลปลดหนี้สิน เป็นอาชีพหลักในอนาคต ตนเองเลี้ยงควาย ระบบปิดในโรงเรือน แบบยืนโรง มีควายพันธุ์ไทย รวม 360 ตัว สามารถนำมาพัฒนามูลค่าทางเศรษฐกิจ หลากหลาย อาทิ นำมูลมาทำปุ๋ย หมักปุ๋ยคิก ทำดิน ปลูกต้นไม้ จำหน่าย ทำอาหารเลี้ยงไส้เดือน ขาย ผลิตน้ำเชื้อควาย – ขายผลิตภัณฑ์พันธุกรรม -ลูกควาย ตัวละ 200,000 – 1,000,000 บาท / ตัว ส่วน แม่ควายหลังคลอดนำมารีดนม ผลิตนมควายจำหน่าย ในแต่ละวัน ทำโยเกิต นมสดควาย สบู่ ผลิตรกควาย นำมาทำแคปซูล เป็นต้น ที่ฟาร์ม มีพ่อพันธุ์ควายไทย แบบควายดำ 1 ตัว และ แบบควายเฝือก 1 ตัว รวม 2 ตัว มูลค่าทางพันธุกรรมตัวละ 70 ล้านบาท โดยพ่อพันธุ์ตัวแรก แก้วฟ้า ลักษณะเด่น คือ เป็นควายสีเผือก มีลำตัวใหญ่ หนา สูง 168 ซม. น้ำหนัก 1,400 กก. และควายสีดำในเมืองไทยตอนนี้ไม่สามารถมีตัวไหนที่ใหญ่เท่าแก้วฟ้าได้ ในส่วนของลูกแก้วฟ้านั้น ที่มีอยู่ในฟาร์มตอนนี้ ถ้าเป็นตัวสีดำเริ่มราคาเริ่มต้นที่ 350,000 บาท ถ้าเป็นสีเผือกราคาเริ่มต้นที่ 450,000 บาท และ ลูกของแก้วฟ้าราคาสูงสุดที่เคยจำหน่ายได้คือ 1,500,000 บาท แต่ลูกของแก้วฟ้าตอนนี้ก็มีตัวที่ราคาสูงอยู่ แต่ทางฟาร์มยังไม่ขายจะเก็บไว้ประกวดเพื่อโชว์สายพันธุ์ของแก้วฟ้าต่อไป ในส่วนของราคา น้องแก้วฟ้า วัดจากมูลค่าที่มีอยู่ในฟาร์มปัจจุบันนี้ คือ ตั้งไว้ 2,000,000 เหรียญ ซึ่งทางราคานั้น ตั้งไว้คือ ทางฟาร์ม มีแม่พันธุ์ 200 ตัว ผลิตลูกปีละ 1 ตัว ถ้าลูกเป็นตัวเมียเริ่มต้นราคา 300,000 บาท ถ้าเป็นตัวผู้ 200,000 บาท เฉลี่ยคือ 2,500,000 บาท เฉพาะลูกของแก้วฟ้า 1 ปีก็ 200 ตัว ก็คูณไป ก็จะได้ปริมาณการเงินเท่านี้ แต่ถ้ามีคนมาขอซื้อตนก็ยังไม่ขาย เพราะแก้วฟ้าเป็นควายตัวเดียวในประเทศไทยและในโลกที่มีพันธุกรรมที่โดดเด่นที่สุด และ พ่อพันธุ์หนุ่มสุดร้อนแรงตัวที่ 2 อย่าง ‘มณีแดง’ ควายไทย อายุ 7 ปี ที่มีรูปร่างบึกบึน แถมยัง กวาดรางวัลแกรนด์แชมป์ ตามรอยเจ้าแก้วฟ้าไปแบบติดๆ โดย น้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ควายทั้งคู่ ควายเผือก และ ควายดำ ( มณีแดงและ แก้วฟ้า) สามารถทำราคาได้มาก ถึงโดสละกว่า 1,000 บาท รวมๆ แล้ว เป็นรายได้ให้กับ สอนศิริฟาร์ม ได้มากสูงถึงปีละ หลายล้านบาท แก้วฟ้า และ มณีแดง คือ ความภาคภูมิใจของ สอนศิริฟาร์มควายไทย พร้อม เชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกร หันมาให้ความสำคัญ และ ใส่ใจทุกกระบวนการเลี้ยง เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่คาดหวัง และ ทำให้ควายไทยมีคุณภาพ สามารถส่งออกสู่ตลาดต่อไปได้ในอนาคต” กล่าว ด้านนายชัดเจน บัวพรม อายุ 40 ปี กล่าวว่า มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว อยู่บ้านคลองทราย อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี เป็นคนใจรักสัตว์ เลี้ยงควายเอาไว้ใช้แรงงาน ใช้ตัดหญ้า เมื่อก่อนในสวนเราใช้เครื่องจักรตัดหญ้า ไม่มีเวลาหน้าฝน เดี๋ยวนี้ก็ใช้ในการตัดหญ้าโดยควายเป็นการถาวร ไม่ต้องใช้เครื่องจักร ใช้หญ้า มีควายจำนวน 25 ตัว เลี้ยงไปเรื่อยๆ นาย ชัดเจน กล่าว

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!