อุทัยธานี-เร่งแก้แล้งซ้ำซากลุ่มน้ำสะแกกรัง

อุทัยธานี-เร่งแก้แล้งซ้ำซากลุ่มน้ำสะแกกรัง

ภาพ/ข่าว:วราภรร์ หนูกลัด 

 เร่งแก้แล้งซ้ำซากลุ่มน้ำสะแกกรัง

            ข่าว“บิ๊กป้อม”ระดมทุกหน่วยงานเร่งบูรณาการขับเคลื่อนแผนการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำและน้ำท่วมของลุ่มน้ำสะแกกรังอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านกรมชลประทานขานรับนโยบายเดินหน้าเร่งรัดงานก่อสร้างฝายชั่วคราวกั้นแม่สะแกกรังและเร่งผลศึกษาSEAโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำกั้นปากแม่น้ำสะแกกรัง เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำให้ชาวเมืองอุทัยธานีมีน้ำเพียงพอ ที่จังหวัดอุทัยธานี นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคกลาง เป็นประธานการประชุมติดตามแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ที่ห้องประชุมศษลากลางจังหวัดอุทัยธานี ตามข้อสั่งการของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยมีนายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นายชาดา ไทยเศรษฐ์ สส.จังหวัดอุทัยธานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม จากนั้นได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้างานวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำ ตำบลหนองกลางตง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี

              นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคกลาง กล่าวว่า ตามที่ท่านพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และประธานกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ลงพื้นที่ตรวจราชการการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จ.อุทัยธานีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 และจ.อุทัยธานี ได้ชี้แจงปัญหาเรื่องน้ำและความต้องการของจังหวัด 3 เรื่อง ได้แก่ ขอให้เร่งรัดการพัฒนาอ่างเก็บน้ำมอโค้ อ.บ้านไร่ ขอให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายระบบส่งน้ำจากโครงการผันน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ที่อยู่ระหว่างการศึกษาของสทนช.มายังพื้นที่จ.อุทัยธานีและขอให้เร่งพัฒนาการใช้น้ำบาดาลในพื้นที่แล้งซ้ำซากนายสมเกียรติ กล่าวด้วยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าจังหวัดอุทัยธานี มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาจากทิศตะวันตกไปตะวันออก จึงมักประสบปัญหาน้ำป่าไหลหลากในช่วงฤดูฝนและน้ำแล้งในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากมีแหล่งน้ำต้นทุนไม่เพียงพอ การบริหารจัดการน้ำจึงต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ทำให้เป็นจังหวัดที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค รัฐบาลมีความห่วงใยความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาภัยแล้งเป็นอย่างมากและได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งไปดำเนินการใน 4 ด้านดังนี้
1.ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเร่งสำรวจความเดือดร้อนและเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรวดเร็วและทั่วถึง 2.ให้จังหวัดอุทัยธานีเสนอแผนงานโครงการสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำให้ครอบคลุมในพื้นที่ทั้งระยะสั้นและระยะยาวโดยใช้กลไกของคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด พร้อมสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามาส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ 3.ให้สทนช.รับข้อเสนอในความต้องการของจังหวัดทั้ง 3 เรื่องไปบูรณาการร่วมกับกรมชลประทานและกรมทรัพยากรน้ำบาดาลพิจารณาจัดหาน้ำทั้งน้ำบนดินและใต้ดินร่วมกับทุกหน่วยงานและท้องถิ่นและการประปาส่วนภูมิภาคเพื่อก่อสร้างและขยายระบบประปาเพื่อการอุปโภคบริโภคโดยให้มีแหล่งเก็บน้ำสำรอง ใช้แก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ในระยะเร่งด่วนและระยะยาว 4.ให้สทนช.เร่งบูรณาการขับเคลื่อนแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือในระยะยาวให้เป็นรูปธรรมอย่างเร็วที่สุด
“ได้รับข้อสั่งการจากท่านพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและประธานกองอำนวยการน้ำแห่งชาติเร่งรัดโครงการทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยาวในการแก้ปัญหาปัญหาขาดแคลนน้ำและน้ำท่วมของลุ่มน้ำสะแกกรังโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมให้เร็วที่สุดซึ่งในการประชุมแต่ละหน่วยงานได้ขานรับนโยบายและรีบไปดำเนินการบูรณการความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพต่อไป” นายสมเกียรติ กล่าว

              ด้านดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดแผนการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำสะแกกรังว่า ขณะนี้กรมชลประทานได้เร่งรัดจัดทำแผนแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อุทัยธานีอย่างเป็นระบบทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวให้เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้ขานรับตามข้อสั่งการของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สำหรับสถานการณ์ปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง ปัจจุบันมีความต้องการใช้น้ำในช่วงฤดูฝน 250.60 ล้านลบ.ม. ฤดูแล้ง 236.74 ล้านลบ.ม. ซึ่งขณะนี้กรมชลประทานมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำจำนวน 268 โครงการ ความจุรวม 225 ล้านลบ.ม.แบ่งเป็นพื้นที่ชลประทาน 243,200 ไร่และร้อยละ 14 เป็นพื้นที่เกษตร ส่วนความคืบหน้าในการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกกรังสู่โครงการเขื่อนแม่วงก์ขณะนี้มีความก้าวหน้าเป็นลำดับ ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้มีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้นจากรายได้เฉลี่ย162.180 บาท/ครัวเรือน/ปีเป็น 258,85บาท/ครัวเรือน/ปี เพิ่มผลผลิตข้าวจาก 700-740 กก.ไร่เป็น 860-870ไร่ ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำได้ 11 ล้านกิโลวัตต์/ชม.คิดเป็นมูลค่า 47ล้านบาท/ปี เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำประปาและน้ำอุปโภคบริโภคคิดเป็นมูลค่า 122 ล้านบาท/ปีและยังช่วยส่งน้ำรักษาระบบนิเวศน์ท้ายน้ำ 7.0 ล้านลบ.ม./เดือนในช่วงหน้าแล้งอีกด้วย ส่วนแผนบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรังตอนล่างระยะเร่งด่วนมีแผนงานก่อสร้างโครงการปตร.พร้อมอาคารประกอบการพัฒนาบึงน้ำทรง งบประมาณ 120 ล้านเพื่อเพิ่มการระบายน้ำและส่งน้ำให้พื้นที่เกษตร 5,000-7,000 ไร่ช่วยเหลือพื้นที่ต.น้ำทรง อ.พยุหะครี จ.นครสวรรค์และเติมน้ำแม่น้ำสะแกกรัง โครงการพัฒนาบึงขุมทรัพย์ งบประมาณ 200 ล้านช่วยเพื่อการอุปโภคบริโภค 200 ครัวเรือน การเกษตร 3,000 ไร่ในพื้นที่ต.เกาะเทโพ อ.เมือง จ.อุทัยธานี การปรับปรุงคลองหอมจันทร์ งบประมาณ 60 ล้านบาทเตรียมเสนองานปี 2566 เพื่ออุปโภคบริโภค 70 ครัวเรือน การเกษตร 2,000ไร่ในพื้นที่ต.น้ำทรงอ.พยุหะคีรีจ.นครสวรรค์และงานฝายหัวงานและอาคารประกอบโครงการฝายยางบ้านวังสาธิต งบประมาณ 135 ล้านบาทช่วยเหลือพื้นที่เกษตร 2,500 ไร่ในพื้นที่บ้านวังสาธิต ต.หนองไผ่แบน อ.เมืองจ.อุทัยธานี นอกจากนี้กรมชลประทานยังได้วางแนวทางการดำเนินการในระยะต่อไปอีกด้วย โดยเตรียมเสนอแผนงานโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาแม่น้ำสะแกกรังจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์และกำแพงเพชรให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 นี้ พร้อมเชื่อมั่นว่าการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำและน้ำท่วมของลุ่มน้ำสะแกกรังอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีแหล่งกักเก็บน้ำที่เพียงพอรองรับสถานการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต“กรมชลประทานจะเร่งรัดการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำกั้นปากแม่น้ำสะแกกรังให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการฯได้ตามแผนที่กำหนด พร้อมทั้งเร่งรัดงานก่อสร้างฝายชั่วคราวกั้นแม่สะแกกรังต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานีให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามข้อสั่งการของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยฝายดังกล่าวมีระดับน้ำเก็บกักที่สันฝายอยู่ที่ระดับ+14.50 ม.รทภ.อัตราการระบายน้ำผ่านฝายสูงสุดประมาณ 850ลบ.ม./วินาที หากแล้วจะช่วยกักเก็บน้ำสำหรับการเกษตรได้2,000ไร่และช่วยเหลือการอุปโภคของประชาชนได้ 1,270 ครัวเรือน” รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!