ปราจีนบุรี-ปชช.นับ 1,000 คนเฝ้าชมดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุด

ปราจีนบุรี-ปชช.นับ 1,000 คนเฝ้าชมดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุด

ภาพ/ข่าว:มานิตย์ สนับบุญ

ประชาชนนับ 1,000 คนเฝ้าชมดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดแม้ฟ้าปิดแต่ได้ดูสมใจ

          เมื่อเวลา 22.00 น.วันที่ 21 ก.ค.63 ผู้สื่อข่าวรายงานที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา หอดูดาวภูมิภาค ภาคตะวันออกที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯที่สุด ได้จัดกิจกรรมชม “ปรากฏการณ์ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2563” พบประชนให้ความสนใจ พาบุตรหลานมาชมปรากฏการณ์ตั้งแต่หัวค่ำอย่างคึกคัก มากกว่า 1,000 คน
          โดยทางหอดูดาวฯได้เข้มงวด การรักษามาตรการความปลอดภัย เว้นระยะห่างให้สวมหน้ากากอนามัย ,วัดอุณหภูมิผู้เข้าร่วมกิจกรรม ,ล้างมือด้วยเจลฆ่าเชื้อ พร้อมกันนี้ ภายในงานได้ จัดเตรียมกล้องโทรทรรศน์ จำนวน 4 ตัว สำหรับส่องดาวเสาร์ใกล้โลก ,ดาวพฤหัสบดี และ ที่พิเศษสุด คือ ลุ้นส่องดาวหางนีโอไวท์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) โดยช่วงหัวค่ำต่างพากันพลาดหวัง เนื่องจากท้องฟ้าปิดเต็มไปด้วยเมฆฝน โดยเฉพาะความหวังที่จะได้ลุ้นส่องดาวหางนีโอไวท์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) ด้วยกล้องสองตา หรือ ตาเปล่า จนเวลา 21.00 น. ท้องฟ้าเปิดบางส่วนสลับเป็นช่วงๆ เมฆเริ่มบางเบาจึงสามารถมองเห็นดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดีได้สมใจ โดยประชาชนต่างพากันเข้าคิวเป็นแถวตอนเรียงหนึ่งหลังกล้องโทรทรรศน์ทั้ง 4 ตัว ที่มีเจ้าหน้าที่ตั้งกล้องโทรทรรศน์ไว้บริการ โดยได้ดูดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4 นิ้ว หรือมีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป สมใจเต็มที่ตามที่รอคอย มองเห็นวงแหวน A และวงแหวน B แยกกันอย่างชัดเจน โดยมีช่องแบ่งแคสสินีอยู่ตรงกลางระหว่างวงแหวนทั้งสอง พร้อมกับสังเกตเห็นดาวพฤหัสบดี ปรากฏสว่างใกล้กับดาวเสาร์ในช่วงเวลาเดียวกันอีกด้วย เมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ มองเห็นแถบเมฆบนดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์บริวาร 4 ดวงได้อย่างชัดเจน
          ด.ญ.เรไร สุจีรานนท์ อายุ 11 ปี พร้อมคุณแม่ กล่าวว่า “เดินทางมาจากกรุงเทพฯ ย่านประชาชื่น หลังทราบข่าวจากเว็ปไซต์ เฝ้าติดตามหลังดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ลูก ๆ (เรไร,ก้อนเมฆ,สายลม) ชอบอยากเห็นวงแหวนดาวเสาร์ จึงขับรถพาลุก ๆมาชมกัน ซึ่งพากันสมหวัง ก่อนหน้าลูก ๆ มีความรู้พื้นฐานวงแหวน A วงแหวน B และ ช่องแบ่งแคสสินี ได้มาชมเห็นจึงสนุกสนาน”
          นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดาราศาสตร์ไทย และที่ปรึกษาหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า “ ประชาชนให้ความสนใจมาดุดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุด และดาวาง มาแต่หัวค่ำ โดยหัวค่ำฟ้าปิด และ ฟ้าเปิดช่วงดึก สามารถชมดาวเสาร์ – ดาวพฤหัสบดี ผ่านกล้องโทรทรรศน์ได้สมใจ ส่วนดาวหาง แม้พลาดชมในวันนี้ แต่เรายังสามารถสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) ซึ่งเป็นช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ขณะนี้ดาวหางเริ่มแซงดวงอาทิตย์ขึ้นมา กลายเป็นดาวหางช่วงหัวค่ำ สามารถสังเกตการณ์ด้วยกล้องสองตา ยังไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้อง 2 ตา หรือ กล้องถ่ายรูป DSLR. ที่สามารถเปิดหน้ากล้องได้นาน ท้องฟ้าเปิดสามารถถ่ายภาพติด คาดว่าจะเห็นได้ดีที่สุดวันที่ 23 ก.ค.63 และชมต่อไปได้อีกถึงวันที่ 30 ก.ค.63 ที่ดาวหางเข้าใกล้และเส้นโคจรพ้นแสงสนธยาแล้ว แสงสนธยาคือแสงสีส้ม ๆ ช่วงอาทิตย์ตกดินวิธีการสังเกตใช้กล้องสองตาส่งองทันที หลังเห็นดวงอาทิตย์ขอบแดง ๆ ให้ใช้กล้อง 2 ตาส่องหาดาวหางทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สูงจากของฟ้า 17 องศา – 20 องศา” และนายวรวิทย์ กล่าวต่อไปว่า “ หลังจากนี้ ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์จะปรากฏบนท้องฟ้าใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งในช่วงวันที่ 20-23 ธันวาคม 2563 ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏเคียงดาวเสาร์ ใกล้กันที่สุดในรอบ 397 ปี ห่างกันเพียง 0.1 องศาจนมองเห็นราวกับว่าเป็นดาวดวงเดียวกัน เรียกว่า “The Great Conjunction”หากใช้กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 100 เท่า จะเห็นดาวเคราะห์ทั้งสองปรากฏอยู่ในช่องมองภาพเดียวกันได้สังเกตได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณระหว่างกลุ่มดาวคนยิงธนูและกลุ่มดาวแพะทะเลถือเป็นปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยาก น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง” นายวรวิทย์กล่าวในที่สุด

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!