นครสวรรค์ – ผลักดันผลิตภัณฑ์ ”หอมบ้านทุ่ง” เพื่อส่งเสริมการขายบน platform online

นครสวรรค์ – ผลักดันผลิตภัณฑ์ ”หอมบ้านทุ่ง” เพื่อส่งเสริมการขายบน platform online

ภาพ/ข่าว:ชาติชาย เกียรติพิริยะ

            มจร วิทยาเขตนครสวรรค์ ผลักดันผลิตภัณฑ์ ”หอมบ้านทุ่ง” เพื่อส่งเสริมการขายบน platform online ภายใต้โครงการ U2T ตบลหนองยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ทุกภาคส่วนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมโชว์ขบวนวัฒนธรรมพื้นบ้านคึกคัก ยิ่งใหญ่ อนาคตสดใส

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากดำเนินโครงการ U2T ตำบลหนองยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ซึ่งรับผิดชอบส่งเสริมผลิตภัณฑ์ “หอมบ้านทุ่ง” ยาดมจากผิวมะกรูด และสมุนไรพจากหญ้าเอ็นยืด ซึ่งทางอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ นำโดย อาจารย์ พัชรินทร์ อยู่เย็น ประธานหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ผศ.ดร.วสุกิจจ์ เหล่าอินทร์ อาจารย์จาตุรงค์ สุทาวัน และอาจารย์ศักดา พลเข้ม ได้นำเสนอผลการดำเนินงานความก้าวหน้าโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือ U2T ตำบลหนองยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ สรุปผลสำรวจความต้องการของประชาชนในตำบลหนองยาว พบความต้องการ 3 อันดับ ได้แก่ 1.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย 2.ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสร้างรายได้ และ 3.ส่งเสริมการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร ซึ่งโครงการนี้ได้รับความร่วมมือจาก อบต.หนองยาว ชาวบ้านไททรงดำ กลุ่มผู้สูงอายุ วัด กศน.ตำบล ประชาชนร่วมจัดกิจกรรมรำบวงสรวง ศาลเจ้าแม่มะขามยักษ์ อายุ 300 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุรำถวายหลวงพ่อพวงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ อายุหลายร้อยปีประดิษฐานในวิหารวัดหนองยาว และยังร่วมเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ซึ่งพัฒนาออกแบบภายในโครงการ U2T ตำบลหนองยาวอย่างคึกคักเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันต่อไป

           “ทางคณะทำงานโครงการ U2T ประประกอบด้วยอาจารย์รัฐศาสตร์ มจร นครสวรรค์ บัณฑิตจบใหม่และประชาชน รวม 10 คนได้วางแผนพัฒนาโครงการ U2Tไว้ดังนี้ 1.โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หอมบ้านทุ่ง มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงยาดมผิวมะกรูด และน้ำมันนวดสมุนไพรหญ้าเอ็นยืด และเผยแพร่องค์ความรู้แก่ชาวบ้าน 2. โครงการอบรมการขายสินค้าออนไลน์กระตุ้นให้เกิดการปรับตัวและตามให้ทันจึงจัดอบรมการขายสินค้าออนไลน์สามารถนำไปใช้ได้จริงกับสินค้าที่มีอยู่ในตำบลเพื่อขยายตลาดสู่โลกออนไลน์ 3.โครงการสู้โควิดให้ความรู้การป้องกันโควิด-19 เพื่อให้ประชาชนสามารถเฝ้าระวัง และปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง 4.โครงการส่งเสริมความรู้เบื้องต้นด้านอาชีพจัดอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญมีประสบการณ์ด้านต่างๆเพื่อจัดทำคู่มือตำบลเผยแพร่ และ 5.โครงการพัฒนาทักษะผู้สูงอายุ แม่บ้าน เกษตรกรเป็นการสร้างรายได้เสริมแก่ครัวเรือน และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในตำบลอย่างคุ้มค่าต่อไปหลังการเกิดโรคอุบัติใหม่”

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!