สปสช.เขต 5 ติดตามประเมินหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอิสระฯม.50(5)จังหวัดประจวบฯ

สปสช.เขต 5 ติดตามประเมินหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอิสระฯม.50(5)จังหวัดประจวบฯ

ภาพ/ข่าว:ณัฐพัชญ์ วงษ์ประเสริฐ 

สปสช.เขต 5 ติดตามประเมินหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอิสระฯม.50(5)จังหวัดประจวบฯ

          วันที่ 16 ส.ค.2565 ได้รับการเปิดเผยจาก น.ส.ธนพร บางบัวงาม ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่า เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพฯ หมู่บ้านเตชินี 5 ถ.มหาราช อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ นางทิพาพรรณ หอศิวาลัย รองผู้อำนวยการสำนักงาน สปสช.เขต 5 ราชบุรี พร้อมคณะ มี นายวันชัย เหี้ยมหาญ คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข (อคม.)ระดับเขต 5 น.ส.ใจทิพย์ สอนดี หัวหน้างาน สปสช.เขต 5 และทีมเจ้าหน้าที่ สปสช.เขต 5 ร่วมติดตามประเมินหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอิสระอื่นตามมาตรา 50(5) ของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จ.ประจวบฯ หรือหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอิสระฯจังหวัดประจวบฯ ซึ่งเป็นหน่วยที่ 1 ในเขต 5ราชบุรี ที่ผู้แทนคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข (อคม.)ได้เข้าตรวจประเมินหน่วยรับเรื่องร้องเรียนฯมาตรา 50(5) ที่ต้องตรวจความพร้อมในการให้บริการสุขภาพตามมาตรฐานบริการตามเกณฑ์ที่กรรมการควบคุมฯไว้จำนวน 25 คน โดยมี น.ส.ธนพร บางบัวงาม ผู้ประสานงานศูนย์ฯ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ให้การต้อนรับ พร้อมนำเสนอผลการดำเนินงานของหน่วยรับเรื่องร้องเรียนฯ และมี เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ จ.ประจวบฯ ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผู้แทน รพ.บางสะพานน้อย รพ.บางสะพาน รพ.สามร้อยยอด ประชาชน เครือข่ายผู้บริโภคจากสภาองค์กรของผู้บริโภค(สอบ.)จังหวัดประจวบฯ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น กับคณะ สปสช.เขต 5 ราชบุรี ด้วย             ทั้งนี้ เพื่อเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน(SOP) โดยทีมเครือข่ายจากเครือข่าย 9 ด้านและเครือข่ายอำเภอต่างๆแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาเรื่องร้องเรียนการลงพื้นที่ไปจัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพ พร้อมมีการอัพเดททบทวนความรู้ เรื่อง สิทธิว่าง การย้ายสิทธิที่สามารถทำได้ง่ายขึ้นผ่าน แอปพลิเคชั่น สปสช. , การล้างไตได้ทั้งการล้างหน้าช่องท้องและฟอกเลือดตามความพร้อมของผู้ป่วย และอยากให้มีการจัดเวทีพัฒนาศักยภาพทีมทำงานเพิ่มเติมในปีงบประมาณหน้า โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการร่วมพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนอบต./เทศบาล) ที่กรรมการจะครบวาระ ต้องมีการส่งรายชื่อตัวแทนของหน่วยรับเรื่องร้องเรียนร่วมเป็นกรรมการ

             ด้าน นางทิพาพรรณ หอศิวาลัย รอง ผอ.สปสช.เขต 5 กล่าวว่าศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนในเขต 5 ราชบุรี ครอบคลุม 8 จังหวัดในภาคตะวันตก คือ ราชบุรีนครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ อีกยังเป็นที่ตั้งของหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียนตามมาตรา 50 ( 5 ) ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ข้อมูลในเรื่องสิทธิหลักประกันสุขภาพ และรับเรื่องร้องเรียนถือเป็นช่องทางร้องเรียนและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ในกรณีที่ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่ไม่ได้มาตรฐานหรือประชาชนเกิดความเสียหาย อันเนื่องจากการเข้ารับบริการสาธารณสุข ซึ่งหน่วยงานนี้ไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อประชาชน แต่ยังช่วยลดความขัดแย้งระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการได้ด้วย
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ให้ความรู้ ความเข้าใจสุขภาพในทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงสร้างสัมพันธภาพกับหน่วยอื่นๆ และภารกิจอีกเรื่องคือ การรับเรื่องร้องเรียนให้ประชาชนรู้ว่ามีมาตรา 41 สำหรับช่วยเหลือเยียวยา กรณีได้รับความเสียหายจากบริการทางการแพทย์ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่การร้องเรียนโดยตรง แต่เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิที่ประชาชนมี รวมถึงข้อมูลที่ประชาชนคนไทยพึงรู้ และสำหรับผู้ที่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็สามารถสอบถามได้ทางสายด่วน สปสช. โทร.1330 ซึ่งให้บริการ 24 ชั่วโมง รอง ผอ.สปสช. กล่าวต่ออีกว่า ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค.2565 เป็นต้นมา สปสช.ได้ปรับหลักเกณฑ์แนวทางการจ่ายชดเชยบริการโควิด กรณีปรับโรคโควิดเป็นโรคประจำถิ่นเป็นการจ่ายชดเชยผู้ป่วยนอกตามระบบปกติ รวมอยู่ในงบเหมาจ่ายรายหัว กรณีผู้ป่วยใน ยกเลิกการจ่าย On Top จากระบบ DRG และที่สำคัญคือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบความเสียหายจากการรับวัคซีน สปสช. จะรับยื่นคำร้องขอความช่วยเหลือเฉพาะผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง และสิทธิข้าราชการท้องถิ่น(อปท.) เท่านั้น ถ้าเป็นสิทธิประกันสังคม ต้องยื่นที่สำนักงานประกันสังคม ด้าน น.ส.ธนพร บางบัวงาม ผู้ประสานงานศูนย์ฯ กล่าวว่า ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จ.ประจวบฯ ได้ดำเนินงานตามภารกิจหลัก ในการเผยแพร่ข้อมูล สร้างความรู้ สร้างความข้าใจ ระบบหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งรับเรื่องร้องเรียน ให้คำแนะนำ ปรึกษา ประสานงานแก้ไขปัญหาร่วมกับศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต และจังหวัด นอกจากนี้ยังพัฒนาและเสริมศักยภาพตัวแทนประชาชนที่เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับจังหวัด ระดับเขต ตลอดจนสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน /องค์กรประชาชน และเข้าร่วมดำเนินงานพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อีกทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมและการเชื่อมร้อยเครือข่ายประชาชน 9 ด้าน ในการพัฒนาและสร้างมาตรฐานเดียวกันของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และอีกภารกิจ ยังพัฒนาระบบฐานข้อมูล จัดทำข้อเสนอและความเห็นต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ ร่วมผลักดันเชิงนโยบาย ระบบบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ทั้งนี้ ศูนย์ประสานฯจ.ประจวบฯ ได้รับเรื่องร้องเรียน ที่มีเข้ามายังหน่วยรับเรื่องฯ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 – กรกฎาคม 2565 ทั้งเรื่องร้องเรียนในมาตรา 41 และมาตรา 57 และ มาตรา 59 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยรับเรื่องร้องเรียนในด้านบริการสุขภาพ จำนวนกว่า 44 เรื่อง เช่นเรื่อง เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล (เจ้าหน้าที่ตึกฉุกเฉิน)พูดจาไม่สุภาพกับญาติผู้ป่วย โรงพยาบาลไม่รับผู้ป่วยโควิด-19 อาการเชื้อลงปอด ถูกเรียกเก็บเงิน 30 บาท แต่ขอยืนยันที่จะไม่จ่ายตามระเบียบของ สปสช. และเรื่องชาวบ้านที่ตั้งครรภ์ภายหลังจากฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 2 แล้วเด็กในครรภ์เสียชีวิต ซึ่งเรื่องทั้งหมดได้ดำเนินการแล้วเสร็จสิ้น จำนวน 37 กรณี อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 7 กรณี

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!