กระบี่-เปิดเวทีสาธารณะนำเสนอข้อมูล”ศาลาด่านโมเดล ตำบลแห่งความสุข การท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

กระบี่-เปิดเวทีสาธารณะนำเสนอข้อมูล”ศาลาด่านโมเดล ตำบลแห่งความสุข การท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

ภาพ/ข่าว สุพมาศ พรหมมาส 

             สนส.ม.อ.จับมือ ทต.ศาลาด่าน อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ เปิดเวทีสาธารณะนำเสนอข้อมูล และวางแนวทางการปฎิบัติงานมุ่งสู่ “ศาลาด่านโมเดล ตำบลแห่งความสุข การท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

               เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.30 น.ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลศาลาด่าน อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ นายนพรัตน์ ศรีพรหม นายอำเภอเกาะลันตา เป็นประธานเปิดการประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้าร่วมรับฟังแนวทางการดำเนินงาน การนำเสนอข้อมูลฐานทรัพยากร ความเสี่ยงภัยพิบัติ การจัดการ
ท่องเที่ยว และบริบทพื้นที่ด้านสังคม วัฒนธรรม สุขภาพ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อจัดทำแผนการจัดการภัยพิบัติ และการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่ออนุรักษ์ฐานทรัยากรธรรมชาติควบคู่กับการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ศาลาด่านโมเดล ตำบลแห่งความสุข มีนายสุกฤษฎิ์พงษ์ วะเจดีย์ รองนายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน คนที่ 1 กล่าวต้อนรับแและให้ข้อมูลของเทศบาลตำบลศาลาด่าน นายนพรัตน์ ศรีพรหม นายอำเภอเกาะลันตา กล่าวว่า ศาลาด่านโมเดล ตำบลแห่งความสุข เป็นชื่อที่ดี ทำอย่างไรให้เป็นความสุขอย่างแท้จริง ฝากที่ประชุมว่าเมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้วว่าเราจะผลักดัน ขับเคลื่อนศาลาด่านโมเดล ตำบลแห่งความสุข ในส่วนของภาควิชาการ ทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ที่มีองค์ความรู้ มีข้อเสนอแนะ มีหลักฐานทางวิชาการที่จะมาให้ฝ่ายปฎิบัติ หรือฝ่ายพื้นที่ปฎิบัติให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนว่าควรจะเป็นไปในทิศทางใด เมื่อผลทางวิชาการได้แล้ว การนำไปสู่การปฎิบัติจะทำอย่างไรเพื่อให้หมู่ 2,3 และหมู่ 4 ภายใต้กรอบกฎหมาย ภายใต้กรอบภูมิสังคมจะทำอย่างไร และเมื่อศาลาด่านโมเดล ตำบลแห่งความสุข สำเร็จ จะขยายผลไปสู่อีก 4 ตำบลของอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ หรือขยายผลไปสู่ตำบลอื่นๆในจังหวัดกระบี่ หรือในประเทศได้อย่างไร

                นายอำเภอเกาะลันตา กล่าวต่อไปว่า อำเภอเกาะลันตา มี 5 ตำบล 36 หมู่บ้าน 6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการท่องเที่ยวระดับโลก มีแหล่งท่องเที่ยวในระดับโลกที่มีศักยภาพ แต่อีกด้านหนึ่งก็มีการท่องเที่ยวชุมชนที่เป็นการท่องเที่ยวยั่งยืนที่เป็นฐานทรัพยากรของหมู่บ้าน ชุมชนอย่างท่องเที่ยวชุมชนทุ่งหยีเพ็ง ทำอย่างไรที่จะผลักดันให้เป็นคู่ขนานไปกับการท่องเที่ยวสากลระดับโลกก็เป็นโจทก์ที่จะต้องมาคิดร่วมกัน ดร.ฐิติชญาน์ บุญโสม นักวิชาการทีมขับเคลื่อน ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ ความเป็นมาของโครงการ โดยกล่าวว่า สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) คัดเลือกพื้นที่ตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นพื้นที่ปฏิบัติการเพื่อวางแนวทาวการปฎิบัติการ “ศาลาด่านโมเดล ตำบลแห่งความสุจ การท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของพื้นที่ตำบลศาลาด่าน ที่เป็นการยกระดับและขยายผลกระบวนการทำงานแบบเครือข่ายและเพิ่มการประสานความร่วมมือของภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชนและสื่อมวลชนในการดำเนินงานใน 5 ประเด็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงทางฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.ฐิติชญาน์ บุญโสม กล่าวต่อไปว่าที่มาขอวโครงการนี้ ได้คุยกับนายกเทศบาลตำบลศาลาด่าน ว่าความเจริญเติบโตของพื้นที่ตำบลศาลาด่าน เป็นสิ่งที่ ผู้บริหารให้ความสนใจ ให้ความสำคัญ ทำอย่างไรที่จะดูแลป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติกับบริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แม้ว่าจะเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ก็มีอะไรที่ซ่อนอยู่อีกหลายอย่าง หลายประการอย่างเช่นความอยู่ดี กินดีของพี่น้องประชาชน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ซึ่งศาลาด่านโมเดล ตำบลแห่งความสุขที่เป็นเป้าหมายท้ายสุดแล้วก็คือ เทศบาลตำบลศาลาด่านนำไปขับเคลื่อน ให้เป็นข้อตกลงร่วมกันที่จะดูแลให้การท่อวเที่ยวในพื้นที่ศาลาด่านปลอดภัย รวมไปถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนด้วย

               ด้าน ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธรวุฒิ รองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาสงขลานครินทร์ ได้ชี้แจงแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ศาลาด่านให้เป็นโมเดล เพื่อสร้างความมั่นคงในทุกมิติ โดยกล่าวว่า ความสำคัญของการบูรณาการ ประเด็นการจัดการภัยพิบัติและการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่ออนุรักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กับการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะ ของเทศบาลตำบลศาลาด่าน มองว่าการพัฒนาที่ยังยืนสมัยก่อนต้องดูใน 3 มิติ คือเศรษฐกิจ สังคม และทรัยากรธรรมชาติ แต่หลังจากเกิดโควิด ได้ให้ความในด้านสุขภาพเพิ่มอีกหนึ่งด้านที่เป็นสิ่งใหม่ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เศรษฐกิจกลายเป็นเรื่องรอง แต่อย่างไรก็ตามหากจะให้มีความยั่งยืนก็ต้องมองทั้ง 4 มิติที่ต้องสมดุลย์กัน หลังจากนั้น นายฉัตร ชลารัตน์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและประสานงานเครือข่ายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ 10 (กระบี่) ได้ให้ข้อมูลสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในเกาะลันตา และตำบลศาลาด่าน,นายประวิช ขุนนิคม นักวิชาการทีมขับเคลื่อน นำเสนอสถานการณ์ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยในอำเภอเกาะลันตา และตำบลศาลาด่าน,นายนราธร หงษ์ทอง ประธานชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง ให้ข้อมูลสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในชุมชนบ้านทุ่งหยีเพ็ง,นายวิชิต ยะลา นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว​เกาะลันตา ให้ข้อคิดเห็นในฐานะผู้ประกอบการ,ดร.เพ็ญ สุขมาก PM ( project manager ) ผู้จัดการโครงการ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอแนวทางการปฏิบัติเพื่อนำสู่เป้าหมายศาลาด่านโมเดล และนายธีรพจน์ กศิรวัฒน์​ ร่วมเสนอ แสดงความคิดเห็น

#ศาลาด่านโมเดล
#ตำบลแห่งความสุข

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!