บุรีรัมย์-หารือมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

บุรีรัมย์-หารือมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ภาพ-ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน

              วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลสะแกซำ ตำบลสะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ นายเกรียงศักดิ์ สมจิต นายอำเภอเมืองบุรีรัมย์ เป็นประธานการประชุมเพื่อหารือมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทางหลวงหมายเลข 2445 ต.แสลงโทน – บ.ไพบูลย์ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ โดยมีผู้เเทนกรมทางหลวง คณะที่ปรึกษา และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษาและประชาชนในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เข้าร่วมประชุม
              ดร.กิตติพจน์ เพิ่มพูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประชาสัมพันธ์ บริษัท เอเชีย แล็ป แอนด์คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่า วัตถุ ประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาโครงการ และแผนการดำเนินโครงการ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน ประกอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์สภาพสิ่งเเวดล้อมในปัจจุบัน และดำเนินการประเมินผลกระทบทางสังคมและ สิ่งแวล้อมที่จะเกิดขึ้นเนื่องมาจากการพัฒนาโครงการ พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการลดมะกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกับ แก้ไข และผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มาตรการคิดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวม ทั้งเสนอการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริม สนับสนุน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิด ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ตอการพัฒนาโครงการ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมขน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์กรเอกชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง โดยจะได้นำเสนอความก้าวหน้าของการศึกษาด้านต่าง ๆ รวมถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลการศึกษาด้านต่าง ๆ ของโครงการ โดยเฉพาะ
               ความคิดเห็นต่อผล กระทบสิ่งแวดล้อม และร่างมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนาโครงการฯ คือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งและจราจร รองรับปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น รวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการเดินทาง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคมนาคมให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ การขนส่งสินคัารวมถึงการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ และพื้นที่ใกล้เคียง พื้นที่ศึกษาโครงการ
              แนวเส้นทางโครงการอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2445 มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณ กม. 10+750 และมีจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณ กม 16+000 รวมระยะทาง 5.250 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 หมู่บ้าน ของตำบล สะแกชำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ประกอบด้วย หมู่ 4 บ้านโตกตาล และหมู่ 15 บ้านสง่างาม และ 4 หมู่ บ้านของตำบลเสม็ด อำกอเมืองบุรีรัมย์ ประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านเสม็ด หมู่ 3 บ้านเย้ยสะแก หมู่ 8 บ้านหนองข่า และหมู่ 18 บ้านเย้ยสะแก
            ด้าน นางสาวลัดดาวรรณ ลีลาชัย ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทางโครงการห่วงใยพื้นที่อนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด พื้นที่ชุ่มน้ำ
           จากการตรวจสอบ ขอบเขตพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม พบว่าเส้นทางโครงการ ช่วง กม 13+000 ถึง กม.15+052 ตัดผ่านพื้นที่ชุ่มน้ำเขตสัตว์ปาอ่างเก็บน้ำหัวยตลาด ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาซาติของนกประจำถิ่นและนกอพยพจำนวนมาก ทั้งชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง เช่น นกกระสาปากเหลือง ชนิดใกล้สูญพันธุ์ เช่น เหยี่ยวดำ นาอ้ายงั่ว -นกกาน้ำใหญ่ ชนิดที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ เช่น นกกระ สาแดง และชนิดที่ใกลัสูญพันธุ์ เช่น นกแสก นกอีลุ้ม นกกระจาบธรรมดา และนกกระติ๊ตแดง รวมทั้งมีความหลากหลายชนิดของพืช ธรรมชาติในพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งตามมติ ครม.กำหนดให้เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยตลาดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และลำดับที่ 14 ของประเทศไทย
             นายเกรียงศักดิ์ สมจิต นายอำเภอเมืองบุรีรัมย์ การหารือมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทางหลวงหมายเลข 2445 ต.แสลงโทน – บ.ไพบูลย์ จ.บุรีรัมย์ ให้เป็น 4 ช่องจราจร และเนื่องจากแนวเส้นทางโครงการตัดผ่าน เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ รวมทั้งพบบ้านเสม็ด เป็นชุมชนโบราณที่รอพิจารณาขึ้นทะเบียนซึ่งเป็นโบราณสถานอยู่ในระยะ 3 กิโลเมตรจากกึ่งกลางแนวเส้นทางโครงการ จึงเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานกรประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EA ก่อนดำเนินการก่อสร้างโครงการตามประกาศกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการศึกษาโครงการดังกล่าว จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นจากประซาชนในพื้นที่โครงการ รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการนำไปประกอบการศึกษาให้มีความเหมาะสม ต่อไป

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!