ประจวบคีรีขันธ์-ศรชล.ฯจัดพิธีบวงสรวงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันสถาปนา ศรชล.ครบ 4 ปี

ประจวบคีรีขันธ์-ศรชล.ฯจัดพิธีบวงสรวงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันสถาปนา ศรชล.ครบ 4 ปี

ภาพ/ข่าว: เอกภพ วงษ์ประเสริฐ

              เมื่อเวลา 09:00 น.วันที่ 9 มีนาคม 66 ที่บริเวณอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือเสด็จเตี่ย หมู่ 3 บ้านขั้นกระได ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรี ขันธ์ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์(ศรชล.ปข.) ได้จัดพิธีบวงสรวงสักการะ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือเสด็จเตี่ย เนื่องในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล(ศรชล.) ครบ 4 ปี ในวันที่ 9 มีนาคม 2566
             โดยมี นาวาเอก เรืองฤทธิ์ แสงแก้ว รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์(ศรชล.ปข.)เป็นประธานในพิธีบวงสรวงแทนผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และมีผู้แทนกองบิน 5 ผู้แทนหน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก กอ.รมน.จังหวัด ประมงจังหวัด สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาประจวบคีรีขันธ์ กองบังคับการตำรวจน้ำ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งประกอบอาชีพประมง เข้าร่วมพิธีและทำกิจกรรมโดยพร้อมเพรียง**
             โดยหลังจากเสร็จสิ้นพิธีบวงสรวงได้ร่วมกันทำกิจกรรม ปรับปรุงภูมิทัศน์ เก็บขยะ และทำความสะอาด บริเวณชายหาดทะเลบ้านคั่นกระได พร้อมทาสี สถานที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์ ของพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือเสด็จเตี่ย ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของทหารเรือ และชาวบ้านที่ประกอบอาชีพชาวประมงทะเล ภายใต้ชื่อกิจกรรม “รักษ์หาด รักชายฝั่ง ประจวบฯ
              ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้อํานวยการ ศรชล.ได้ประกาศให้วันที่ 9 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ในการตราพระราชบัญญัติศูนย์อํานวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.2562 เป็นวันคล้ายวันสถาปนา ศรชล.
            โดย“ศรชล.เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศชาติและประชาชน”ภายใต้ภารกิจหลักในการป้องกันภัย 9 ด้าน ของ ศรชล. ประกอบด้วย 1.การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล 2.การทำลายสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง 3.การทำประมงผิดกฎหมาย 4.การค้ามนุษย์และการลักลอบเข้าเมืองทางทะเล 5.การลักลอบขนยาเสพติด สินค้าผิดกฎหมายและอาวุธสงครามทางทะเล 6.การลักลอบขนส่งสินค้าสองวัตถุประสงค์และอาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างสูงทางทะเล 7.การกระทำอันเป็นโจรสลัดและการปล้นเรือทะเล 8.การก่อการร้ายทางทะเล 9.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล และเหตุการณ์อื่นๆเป็นต้น

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!