สุพรรณบุรี-โครงการกิจกรรมพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยในการสนับสนุนทุนประจำปี 2566

สุพรรณบุรี-โครงการกิจกรรมพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยในการสนับสนุนทุนประจำปี 2566

ภาพ/ข่าว:นิกร สิงห์พิมาตร์ รัตนา สว่างศรี สุพรรณบุรี

                สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)จัดกิจกรรมพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยในการสนับสนุนทุนประจำปี 2566 พื้นที่หน่วยจัดการ จ.สุพรรณบุรี

                ที่ โรงแรมวาสิฏฐี จ.สุพรรณบุรี นายปริญญา เชมะชิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานเปิด โครงการกิจกรรมพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยในการสนับสนุนทุนประจำปี 2566 พื้นที่หน่วยจัดการ จ.สุพรรณบุรี โดยมีตัวแทนของชุมชนที่เข้าร่วมโครงการได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนต่างๆ ซึ่งได้มีภาคีรายย่อย จำนวน 20 พื้นที่ กระจายใน 10 อำเภอ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้รับโอกาสจากสำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนดำเนินงานให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายตามข้างต้นมานั้น ได้มีการส่งเสริม ป้องกันปัญหาทั้งด้านสุขภาพเกี่ยวโรคไม่ติดเรื้อรัง , จุดเสี่ยงอุบัติเหตุในชุมชน,การผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษ,ลดละเลิกบุหรี่และยาสูบโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน,กิจกรรมทางการ และเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นต้น
                  ด้านนายเกษมชัย แสงสว่าง คณะทำงานหน่วยจัดการสุพรรณบุรี กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในวันนี้คือ (1) เพื่อภาคีรายย่อยวิเคราะห์ข้อมูลตามกระบวนการที่มีอยู่ในโครงการ และนำไปวางแผนการดำเนินงานได้ (2) เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีรายย่อยให้สามารถพัฒนาข้อเสนอโครงการและได้รับการสนับสนุนงบประมาณไปดำเนินงานในพื้นที่ของแต่ละแห่ง โดยมีภาคีรายย่อย จำนวน 20 พื้นที่ กระจายใน 10 อำเภอ ของจังหวัดสุพรรณบุรี เข้าร่วมกิจกรรม หน่วยจัดการร่วมกับสสส.ในระดับพื้นที่ (Node) ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
                  เนื่องจากจะเป็นหน่วยช่วยหนุนเสริมการดำเนินงานในการสนับสนุนให้เกิดโครงการย่อยในระดับจังหวัด โดยหลักการแล้ว Node มีหน้าที่จัดการร่วมกับ สสส.สำนัก 6 เพื่อพัฒนาให้เกิดโครงการย่อยในระดับพื้นที่ ติดตามหนุนเสริมและพัฒนาศักยภาพ แก้ไขปัญหาร่วมกับโครงการย่อย รวมถึงถอดบทเรียนโครงการย่อยในระดับพื้นที่ได้อย่างทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องทีมงาน Node จังหวัดสุพรรณบุรี มีความใกล้ชิด รู้จักบริบทและสถานการณ์ในพื้นที่ รวมถึงมีประสบการณ์ในการทำงานด้านการจัดการสุขภาวะมาระดับหนึ่ง รวมถึงมีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพ ติดตามหนุนเสริม และมีประสบการณ์ด้านการถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ
                 ส่วนปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสร่วมเป็นหน่วยจัดการร่วมกับ สสส. ในระดับพื้นที่ Nodeจังหวัดสุพรรณบุรี ได้วางเป้าหมายโครงการย่อยจำนวน 20 โครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจาก สสส.สำนัก 6 ภายใต้หลักการกระจายโอกาสให้แก่ชุมชนที่ยังเข้าไม่ถึงแหล่งทุน และกระจายได้ครอบคลุมทั้ง 10 อำเภอ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 9 ประเด็น ประกอบด้วย (1) ลด ละ เลิก เหล้าบุหรี่ (2) จัดการจุดเสี่ยง (3) ผู้สูงอายุ (4) บริโภคผักผลไม้และลดภาวะโภชนาการในโรงเรียน (5) ลดละเลิก แอลกอฮอล์ในงานบุญ (6) ปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี (7) จัดการขยะ (8) กิจกรรมทางกาย และ (9) โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ดังนั้นทีม Node จังหวัดสุพรรณบุรี จึงมองเห็นโอกาสในการมีส่วนร่วมการพัฒนาชุมชนที่ไม่สามารถเข้าถึงการสนับสนุนได้มีโอกาสทำงานภายใต้ภารกิจหลักคือการพัฒนาโครงการ การติดตามหนุนเสริมโครงการตามเป้าหมายของ สสส.สำนัก 6 ที่วางไว้

                    ด้านนางรวีวรรณ กลั่นใจ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2 ต.ไผ่ขวาง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี กล่าวว่า หมู่ 2 ต.ไผ่ขวาง อ.เมืองสุพรรณบุรี เคยได้รับสนับสนุนโครงการ ผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน ปลูกกันเองไม่ต้องซื้อผักที่ตลาดไม่ใช้สารเคมี ผลที่ได้คือ ภายในชุมชน 80 ครัวเรือน มีชีวิตที่ดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน มีสุขภาพที่ดีขึ้น ส่วนในวันนี้ ได้รับการส่งเสริมอีกครั้ง ในเรื่องกิจกรรมทางกาย ไม่ว่าจะเดิน นั่ง การทำงานบ้าน ล้วนเป็นกิจกรรมทางทายทั้งหมด เราจะนำได้ความรู้ไปเพิ่มเติมในส่วนที่เขาขาดให้กับคนในชุมชน ขอขอบคุณ สสส.ที่ให้โอกาสหมู่บ้านได้เข้าร่วมกิจกรรม นำความรู้เข้าไปในหมู่บ้านเพื่อ ให้เกิดประโยชน์ในชุมชน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!