อยุธยา-จัดโครงการพื้นฟูและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตประชาชนหลังประสบภัยน้ำท่วม

อยุธยา-จัดโครงการพื้นฟูและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตประชาชนหลังประสบภัยน้ำท่วม

ภาพ – ข่าว นราเอก ตันศิริ/ นพดล บำเพ็ญสัตย์

ผวจ.กรุงเก่า นำทัพจัดโครงการพื้นฟูและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตประชาชนหลังประสบภัยน้ำท่วม ด้านการสร้างความมั่นคงทางอาหาร อำเภอภาชี ภายใต้แนวคิด “จะพัฒนาใครเขา ต้องพัฒนาเราก่อน”

             เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 16 กุมภาพันธ์2566 ที่ ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน ระดับครัวเรือนต้นแบบ (HLM) ของนายยงยุทธ นิลรัตน์ หมู่ที่ 10 ตำบลดอนหญ้านาง อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย นางวัชราภรณ์ รุ่งสาคร ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานเปิดโครงการฟื้นฟูและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตประชาชนหลังประสบภัยน้ำท่วม ด้านการสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยมี นางสาวอภิสรา เกษอินทร์ นายอำเภอภาชี ให้การต้อนรับและรายงาน มีพระครูสังฆลักษณ์กิตติศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดทุ่งชาน ตำบลดอนหญ้านาง อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายทินกร บุญเงิน พัฒนาการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอภาชี เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ด้วย
              การจัดโครงการในครั้งนี้ ได้มีกิจกรรม ทำดินพร้อมปลูก เสวียนลดขยะอินทรีย์ คือการ เอาใบไม้ไปทำปุ๋ย ปลูกผักสวนครัว และทำน้ำมันงาและน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น หลังจากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมชมการทอผ้า ที่ใช้วัสดุจาก ผักตบชวา ของศูนย์ฝึกมีชีวิต ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านหนองเครือบุญ และศูนย์ฝึกมีชีวิตบ้านหนองเครือบุญ กลุ่มเห็ดบ้านหนองเครือบุญ และแปลงผักของหมู่บ้าน ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
              นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตประชาชนผู้ประสบอุทกภัย โดยอำเภอภาชี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เริ่มดำเนินโครงการ ระยะที่ 1 ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน ตามแนวทางปลูกผักสวนครัวรอบ 2 อย่างต่อเนื่อง ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและขยายผลสร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน เป็นการลดรายจ่าย สร้างรายได้ระยะสั้นทั้งในระดับครัวเรือน และระดับกลุ่ม ชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการตนเอง ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน โดยใช้พลังชุมชนในการพัฒนาชุมชน รณรงค์ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือน ทุกหมู่บ้าน ได้ปลูกผักสวนครัว ไม่น้อยกว่า 10 ชนิด และจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนในครัวเรือน เป็นต้นแบบในการนำไปปรับใช้ในการพัฒนาชุมชนและหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิด “จะพัฒนาใครเขา ต้องพัฒนาเราก่อน”

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!