ปราจีนบุรี-แห่นมัสการรอยพระพุทธบาทคู่-ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ขณะท้องถิ่นยังคัดค้านการเปลี่ยนชื่อ “ภูเขาทอง”

ปราจีนบุรี-แห่นมัสการรอยพระพุทธบาทคู่-ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ขณะท้องถิ่นยังคัดค้านการเปลี่ยนชื่อ “ภูเขาทอง”

ภาพ-ข่าว:มานิตย์ สนับบุญ/-ฉลองรัตน์ ทองโบราณ

                   วันเที่ยวตรุษจีนฯ พบนักท่องเที่ยวใกล้-ไกลทั่วสารทิศหลังทำบุญปิดทองฝังลูกนิมิต แห่ชมแหล่งโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ – โบราณสถาน วัดสระมรกตนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์ ชาวบ้านฝากกรมศิลปากร คำว่าภูเขทองเรียกสืบต่อกันมาหลายชั่วคนแล้ว หากปรับเปลี่ยนประวัติศาสตร์ขอให้ ยึดตามหลักฐานชั้นต้น – ชั้นรอง ตลอดรวมถึงตำนานความเชื่อคนในท้องถิ่นที่กระทบด้วย ด้าน ผู้ว่าปราจีนฯ ประสานขอให้กรมศิลปากร ช่วยแจงข้อมูล-หลักฐาน การเปลี่ยนแปลงชื่อเดิม ภูเขาทอง มาเป็น เชิงเทินสังเกตการณ์ในการอธิบายคนท้องถิ่นด้วย ขณะ “กำพล ภู่มณี อดีต สว.ปจ. จี้ ขอให้นักวิชาการ-นักโบราณคดีภูมิปัญญา-ปราชญ์ท้องถิ่นเปิดเวทีถกประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภูเขาทอง ให้กรมศิลป์ฯจัดหางบประมาณสืบค้นทางประวัติศาสตร์ หากมีไม่พอให้ประสานทางจังหวัด-ท้องถิ่นตลอดชาวปราจีนฯหาทางช่วยกันเพื่อได้ประวัติศาสตร์แท้จริง นำสู่การท่องเทียวเลื่องลือระดับโลกทางพระพุทธศาสนาที่ยังมีของดียุคทวารวดีเหลือให้ชื่นชมภาคภูมิใจ ขณะอดีตประธานสภา อบจ.ปราจีนฯ-ประธานสภาวัฒนธรรม อ.ศรีมโหสถ ระบุตื่นเต้น หากเป็นเชิงเทิน หรือ ประภาคารโบราณแสดงถึงความเป็นอัจฉริยะ – ภูมิปัญญา ของคนยุคโบราณ ในการให้ผู้เดินเรือสำเภาโบราณได้เห็น หรือ สังเกตการณ์ได้
                  เมื่อเวลา 17.40 น.วันนี้ 22 ม.ค.66 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานบรรยากาศ วันเที่ยว ในเทศกาลตรุษจีน พบว่า เนื่องจากตรงวันหยุดและเป็น วันเที่ยว – ทำบุญ ของพี่น้องชาวไทยเชื้อส่ายจีน หลังจากที่ได้ไหว้บรรพบุรุษ – สิ่งศักดิ์สิทธิที่เคารพนับถือแล้ว ได้ไปเที่ยวพักผ่อน – ทำบุญตามวัดวามอาราม หรือ ศาลเจ้าที่เคารพนับถืออย่างคึกคักเพื่อเป็นสิริมงคล ทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวที่เงียบเหงาจากสถานการณ์โควิด-19 ฟื้นตัว – คึกคักอีกรอบอย่างเด่นชัด

                 เริ่มจากการไปทำบุญปิดทองฝังลูกนิมิตตามวัดต่าง ๆ พบที่ จ.ปราจีนบุรี ผู้คนหนาแน่น ต่างพานำลูกหลานไปทำบุญประกอบด้วย วัดหนองคล้า ต.วังตะเคียน อ.กบินทร์บุรี 21-29 มกราคม 2566 วัดเนินทอง ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี 18-26 มกราคม 2566 วัดวังกวาง ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี 21-29 มกราคม 2566 วัดคลองเฆ่ ต.บางเตย อ.บ้านสร้าง 20-29 มกราคม 2566 วัดมงคลนิมิตรภาวนาราม ต.เกาะลอย อ.ประจันตคาม 21-29 มกราคม 2566 และที่ วัดดงไชยมัน ต.ประจันตคาม อ.ประจันตคาม 20-29 มกราคม 2566
                หลังจากที่ทำบุญที่วัดแล้ว ยังนิยมทำบุญที่ศาลเจ้าจีนทำความเชื่อ ในการบริจาคสร้างพระพุทธรูป –เทพเจ้า(เซียน) บริจาคโลงศพ แผ่ส่วนกุศลให้ผีไร้ญาติ อาทิ ที่มูลนิธิสัจจะพุทธธรรมแห่งประเทศไทย (อ.กบินท์บุรี) เทศบาลตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี พบมีประชาชนเดินทางมาทำบุญสะเดาะคราะห์แก้ปีชง ทำบุญบริจาคหีบศพ ผ้าขาวห่อศพ บริจาคข้าวสารฯ โดยนายมนัส เลิศพินิจพงษ์กุล กรรมการมูลนิธิสัจจะพุทธธรรมแห่งประเทศไทยกบินทร์บุรี ได้กล่าวว่า ทางมูลนิธิฯกำลังพัฒนาปรับปรุงสถานที่ และยินดีต้อนพี่น้องประชาชนมาร่วมทำบุญในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ และที่แหล่งโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ ,โบราณสถานวัดสระมรกต ,ที่วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ อ.ศรีมโหสถ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ยุคทวารวดี – สถานทีศักดิ์โบราณสถาน –โบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา พบพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ – ไกลพากันเดินทางมาพักผ่อนท่องเที่ยว ทำบุญเที่ยวชมวัดวามอาราม –แหล่งเรียนรู้ทางโบราณคดีอย่างคึกคัก อาทิ การมานมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดต้นโพธิ์ ต.โคกปีบ เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ขนาใหญ่ มีอายุมากที่สุดในประเทศ อายุมากกว่า 2,500 ปี นำหน่อมาจากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นต้นเดียวกันกับพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เป็นต้นไม้เดียวที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

                จากนั้นเที่ยวชมต่อที่โบราณสถานวัดสระมรกต ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ ตั้งใกล้เคียงกัน นมัสการรอยพระพุทธบาทคู่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 1.50 เมตร ยุคทวารวดีสลักในศิลาแลง อายุมากกว่า 1,650 ปี ตั้งอยู่ใกล้บ่อนำศักดิ์สิทธิ์ และอโรคยศาลาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต แก่ครอบครัวในตรุษจีน หรือ ปีใหม่นี้ พร้อมเลยไปตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอศรีมโหสถพบนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมแหล่งโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ ที่ตั้งอยู่ภายในคูกำแพงเมือง ชมสระแก้ว – สระขวัญ อันเป็นคล้ายเมืองหลวง หรือใจกลางเมือง หรือชุมชนยุคทวารวดี ที่เคยเป็นเป็นเมืองท่าในอดีต ที่รับอารยะธรรม ด้านศาสนาพราหมณ์ – ศาสนาพุทธ , การค้าขาย ,การทูต ,วัฒนธรรมประเพณีจากอินเดีย – จีน มีโบราณสถาน –โบราณวัตถุมากมาย ส่วนใหญ่ด้านในกำแพงเมืองเป็นเทวรูปพระนารายณ์ – พระพิคเณศ ที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลูกปัดหลากสีทวารวดี ส่วนด้านนอกกำแพงเมืองเป็นโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา อาทิ พระพุทธรูป ปางต่าง รอยพระพุทธบาทคู่ และภูเขาทอง เป็นต้น
               พบนักท่องเที่ยว อาทิ อาจารย์ผดุง แสนสุข อาจารย์ชาว จ.สมุทรสาคร กล่าวว่า วันนี้เป็นวันเที่ยว หรือ วันตรุษจีน ได้นำลูกศิษย์ จาก จ.ระยอง จาก จ.สระแก้ว มาประมาณเกือบ 20 คน มานมัสการรอยพระพุทธ บาทคู่ ตลอดจนนำน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่บ่อโบราณหน้ารอยพระพุทธบาทคู่ ตั้งอยู่ระหว่างอโรคยศาลา (โรงพยาบาล) เพื่อไปประกอบพิธีมงคลต่าง ๆ ให้กับลูกศิษย์ โดยก่อนมาที่นี้ได้ไปปิดทองฝังลูกนิมิตมาก่อน คราวหน้าจะมาเป็นร้อย ตนเองมาจากกระทุ่มแบนมา 2-3 ครั้งแล้ว พร้อม ๆ เอาน้ำมนต์ไปทำพิธีให้ลูกศิษย์ ที่พากันบอกดีมากขอเชิญชวนให้มาทำบุญ-เรียนรู้ประวัติศาสตร์กันเยอะๆอากาศดีร่มรื่น ส่วนในเรื่องการเปลี่ยนชื่อภูเขาทอง มาเป็นเชิงเทินสังเกตการณ์ ของกรมศิลป์นั้น ยังไม่รู้ข้อมูล” อ. ผดุง กล่าว ขณะที่ นายสมชาย – นางโสภา หงส์ษาสม อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว กล่าวว่า มาเที่ยวพักผ่อน พร้อมครอบครัวและอาจารย์ ๆผดุง เคยมา เอาน้ำ บ่อ ศักดิ์สิทธิ์นี้ ไปทำน้ำมนต์และอาบก่อน ขึ้นเขาไป ปฏิบัติธรรมช่วงปีใหม่ ให้เป็นสิริมงคล ดีใจมากที่ได้มาเป็นครั้งแรก และเอาน้ำใส่ขวดกลับไปด้วย นายสมชายกล่าว

             นางสมคิด (นิมิต) จันทร์ศรี อายุ 64 ปี แม่ค้าขายสลากกินแบ่งหน้าโบราณสถานวัดสระมรกต (รอยพระพุทธบาทคู่) กล่าวว่า เป็นชาว อ.ศรีมโหสถมาแต่กำเนิด ภูเขาทอง ที่อยู่นอกคูกำแพงเมืองโบราณเมืองศรีมโหสถ ที่กำลังเป็นข่าวนั้น ตนเองเคยเห็นมาตั้งแต่เด็ก เป็นของหมู่บ้าน เรียกสืบกันมารุ่นต่อรุ่นว่าหลายชั่วคน ว่า ภูเขาทอง เป็นภูเขาเล็ก ๆ เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ประจำหมู่บ้าน ผู้คนให้ความเคารพ อยู่ด้านนอกกำแพงเมืองโบราณ ตนเองรู้เพียงคร่าว ๆ จากที่ทางกรมศิลปากรเปลี่ยนป้ายชื่อเป็นเชิงเทินสังเกตการณ์ อาจมีเหตุผลหรือหลักฐาน แต่อยากให้เรียกกันแบบดั้งเดิมมากกว่า ในวันหยุดเทศกาลตรุษจีนนี้พบตลอดทั้งวันนักท่องเที่ยวเดินทางมาไหว้รอยพระพุทธบทคู่ตลอดทั้งวัน คักคักขึ้นมากดีกว่าช่วงสถานการณ์โควิด-19มาก นางสมคิด (นิมิต) กล่าว
             ด้าน นายกำพล ภู่มณี อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปราจีนบุรี (สว.)อายุ 72 ปี และ ชาวจังหวัดปราจีนบุรี ได้ส่งหนังสือร้องเรียน ถึงนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อขอให้พิจารณาแจ้งไปยังกรมศิลปากร ให้ทบทวนการเปลี่ยนป้ายชื่อ ‘โบราณสถานหมายเลข 3’ อําเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีจากของเดิม ‘เจดีย์ภูเขาทอง’ แต่เปลี่ยนมาเป็น ‘เชิงเทินสําหรับสังเกตการณ์ของเมือง’ เนื่องจากเกรงกระทบประวัติศาสตร์ดั้งเดิม – ความรู้สึกชาวบ้าน ที่เชื่อกันว่าโบราณสถาน “ภูเขาทอง” แห่งนี้ เป็นสถูปรูป ตัวโอคว่ำ “ O ” ที่บรรจุโบราณวัตถุเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา อาทิ พระพุทธรูป – พระบรมสารีริกธาตุ เนื่องจากบริเวณดังกล่าว ยังไม่ได้มีการขุดสำรวจ ภายใต้เนินดินนี้ ก่อนหน้านั้น ได้มีการขุดพบพระพุทธรูปทองคํา คือ พระนิรันตราย ในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนหน้านี้ นั้น

            นายกำพล กล่าวว่า ได้ทราบมาว่าทางนายรณรงค์ นครจินดา ผวจ.ปราจีนบุรี รับทราบเรื่องดังกล่าวนี้ พร้อมได้ประสานงานให้ส่วนที่เกี่ยวข้อง ประสานกับทางหน่วยศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี ถึง ที่มาที่ไปในการเปลี่ยนป้ายชื่อ ‘โบราณสถานหมายเลข 3’ อําเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีจากของเดิม ‘เจดีย์ภูเขาทอง’ แต่เปลี่ยนมาเป็น ‘เชิงเทินสําหรับสังเกตการณ์ของเมือง’แล้ว ในส่วนตนเองแล้ว ในช่วงนี้ อยากให้ทุกฝ่าย ได้จัดเวทีสาธารณะ โดยเฉพาะผู้มีความรู้จริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ – โบราณคดี ที่จะนำเสนอข้อมูล-หลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งหลักฐานชั้นต้น หลักฐานชั้นรอง ไม่ว่าเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ภาพถ่าย บุคคล ตำนาน นำมากล่าวอ้างอิง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้ได้ความจริง ในการเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว อันเป็นวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ชาวปราจีนบุรี หรือ คนในท้องถิ่นภาคภูมิใจ โดยเฉพาะการที่ส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกต่อไป และขอให้ทางกรมศิลปากร จัดงบประมาณในการขุดค้นเนินดิน ทำการวิจัย ภูเขาทองอีกด้วย หากงบประมาณไม่เพียงพออาจบูรณาการร่วมกับทางจังหวัด ทางท้องถิ่น หรือประชาชน ในการขุดค้นให้ได้ข้อมูลต่อไป นายกำพล กล่าว
            ขณะที่นางรัชนี เทียบแก้ว อายุ 56 ปี เจ้าของโรงพิมพ์ อ.ศรีมโหสถ กล่าวว่า หลังจากการร้องเรียน ถึงนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อขอให้พิจารณาแจ้งไปยังกรมศิลปากร ให้ทบทวนการเปลี่ยนป้ายชื่อ ‘โบราณสถานหมายเลข 3’ อําเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีจากของเดิม ‘เจดีย์ภูเขาทอง’ แต่เปลี่ยนมาเป็น ‘เชิงเทินสําหรับสังเกตการณ์ของเมือง’ เนื่องจากเกรงกระทบประวัติศาสตร์ดั้งเดิม – ความรู้สึกชาวบ้าน ที่เชื่อกันว่าโบราณสถาน “ภูเขาทอง”ที่พบพระนิรันตราย ปรากฏว่าว่า เป็นที่ตื่นตัว ของคนท้องถิ่นใน อ.ศรีมโหสถ ในการที่จะขอให้กรมศิลปากรได้นำข้อมูล มาชี้แจงด้วย และต่างไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนี้ นางรัชนีกล่าว

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!