สระบุรี-จนท.กู้ภัยสว่างมอบสัตว์เลื้อยคลานประเภทงู ให้กับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1

สระบุรี-จนท.กู้ภัยสว่างมอบสัตว์เลื้อยคลานประเภทงู ให้กับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1

ภาพ-ข่าว:สมภพ พิมมะศร

        วันที่ 6 ก.ค.64. นาย อำนวย ตะกลิ่นนอก พนักงานราชการตำแหน่งพิทักษ์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขต 1 สาขาพุแค ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจของ สภ.เมืองสระบุรี และเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสระบุรี มาร่วมรับมอบสัตว์เลื้อยคลานประเภทงู กับ นาย สมเกียรติ ขุนแสง (เจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างสระบุรี ) บ้านเลขที่ 72 ซอย 2ถ.เทศบาล 6 ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี ที่ได้ออกช่วยเหลือประชาชนจับสัตว์เลื้อยคลานทุกประเภท ไม่ว่าเวลากลางวันหรือกลางคืน ทุก 24 ชม.
          ส่วนประเภทงูได้จับมากักขังไว้ที่บ้าน โดยเฉพาะงูที่ดุร้าย เช่น งูจงอางขนาดใหญ่ที่ดุร้ายและมีพิษร้ายแรง ,งูเห่าพ้นพิษ, งูเหลือมขนาดใหญ่ที่มีไข่ติดมาอีก 21 ฟอง ขณะไข่แตกเป็นตัว หลายตัวแล้ว และยังมี งูหลาม , งูสามเหลี่ยมสีดำเหลือง ,งูสิงห์ และอื่นๆ รวมแล้วประมาณ 30 ตัว ได้มอบให้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขต 1 เพื่อไปดูแลและนำงูทั้งหมดไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในป่าลึก ห่างจากบ้านเรือนประชาชน โดยจะให้งูทั้งหมดอยู่ตามธรรมชาติและขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของงูทั่วไป
        ทางด้าน นาย อำนวย ตะกลิ่นนอก พนักงานราชการตำแหน่งพิทักษ์ป่า กล่าวว่า ทางกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งทางเรารับผิดชอบทั้งหมด 7 จังหวัด สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า เรามีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ลิงไปรบกวนชาวบ้าน หรือแม้กระทั่งเรื่องงูพวกนี้ ทางเราจะมารับงูจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างในระยะเวลา 2-3 เดือน ต่อ 1 ครั้ง ในลำดับแรกทางเราต้องไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน เพื่อขนย้าย ซึ่งทางเราจะขนย้ายไปที่ จ.นครนายก เป็นศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าภาคกลาง นครนายก เพื่อนำไปปล่อยเข้าสู่ป่าลึกต่อไป
         นายสมเกียรติ ขุนแสง (เจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างสระบุรี) บอกว่า ตนและเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่จับสัตว์เลื้อยคลาน จะออกช่วยเหลือประชาชนที่แจ้งขอความช่วยเหลือจากสัตว์เลื้อยคลานทุกชนิดที่บุกรุกเข้าในรั้วบ้านหรือในบ้าน ส่วนมากโดยเฉพาะงู ถ้าจับแล้วจะเอามากักขังไว้ที่บ้านของตน และได้เลี้ยงดูอย่างดี จนกว่าจะจับได้จำนวนมาก ก็จะแจ้งไปยังกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้เข้ามารับงูในระยะเวลา 2-3 เดือน ต่อ1 ครั้ง เนื่องจากว่าถ้าเจองูน้อย 1-10 ตัว ถ้ามาแล้วมันจะไม่คุ้ม แต่ถ้ามีงูเยอะตนถึงจะเรียกให้เจ้าหน้าที่มารับ
         การออกให้บริการประชาชนตนจะออกทำงานร่วมหลายฝ่าย เช่น กู้ภัยดับเพลิงของเทศบาล บางทีก็ทำงานร่วมกัน เพราะถ้าเวลามีเหตุเรื่องงู ทางดับเพลิงจะประสานมายังศูนย์กู้ภัยสว่างของตนให้ไปช่วยเหลือ เรื่องงูในช่วงนี้ส่วนมากจะเป็นงูเห่าพ้นพิษเยอะที่สุด เป็นอันตรายต่อประชาชนที่สุด มีพิษเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งตนเองยังไม่เคยได้รับอันตรายจากการจับงู บางครั้งประชาชนจะโทรเข้า191 แล้วทาง191จะแจ้งมาทางกู้ภัยสว่างและดับเพลิงเพื่อให้ไปช่วยเหลือประชาชน เหมือนทำงานร่วมกัน เวลาประชาชนโทรมาเขาจะโทรหาตำรวจก่อน และทางตำรวจก็ประสานให้กู้ภัยสว่างไปให้การช่วยเหลือประชาชน ซึ่งในวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองสระบุรี เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสระบุรี มาเป็นพยานการรับมอบสัตว์ป่าให้กับทางกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ของเขตพุแค ซึ่งวันนี้ได้มีการมอบ งูจงอาง 1 ตัว งูสามเหลี่ยม 1 ตัว ,งูเหลือม 2 ตัว ,ไข่งูเหลือมอีก 21 งูสิงห์ 1 ตัว และงูเห่านับไม่ถ้วนอีกมากมาย ประมาณ 30 ตัว

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!