เชียงใหม่-ดอยเต่า อบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรม

เชียงใหม่-ดอยเต่า อบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรม

ภาพ-ข่าว:วิญญู บุญสุวรรณ
ทีมกลุ่มงานสารสนเทศ สนง.พช.เชียงใหม่

         อำเภอดอยเต่า อบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล (รุ่นที่ 1) ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”
           นายวิทยา ชุมภูคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน และคณะ ลงพื้นที่อำเภอดอยเต่าติดตามการดำเนินการอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล (รุ่นที่ 1) ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” โดยมี นายราเชนทร์ หนุนแปง พัฒนาการอำเภอดอยเต่า และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอดอยเต่า ได้ให้การต้อนรับฯ พร้อมนี้ได้ร่วมฟังการบรรยาย “การออกแบบเชิงภูมิสังคมตามหลักการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืนเพื่อการพึ่งตนเองและรองรับภัยพิบัติ” วิทยากรโดย อาจารย์รักเผ่า พลรัตน์ หัวหน้าทีมจิตอาสาพัฒนาชุมชน และทีมงาน ณ หอประชุมประชาคมอำเภอดอยเต่า อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
           อำเภอดอยเต่า โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอยเต่า ได้กำหนดดำเนินการกิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” (จำนวน 2 รุ่น) รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 – 29 มกราคม 2564 และรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 1-5 กุมภาพันธ์ 2564 ณ หอประชุมประชาคมอำเภอดอยเต่า อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล พัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ “โคก หนอง นา โมเดล”
          ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับตำบล และระดับครัวเรือน และฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการสร้างงานสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกร แรงงานและบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในช่วงวิกฤต การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household lab model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน รุ่นละ 100 ครัวเรือน ขนาดพื้นที่ 1/ครัวเรือน ซึ่งแบ่งเป็น นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 28 คน ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 72 คน
          ในการนี้ นายวิทยา ชุมภูคำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน และคณะ ได้เยี่ยมชมฐานการเรียนรู้ จำนวน 7 ฐาน ประกอบด้วย คนรักป่า คนรัก์แม่ธรณี คนเอาถ่าน คนรักษ์น้ำ ติดดิน คนรักษ์สุขภาพ คนมีน้ำยา ณ บริเวณศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา ประชารัฐ อำเภอดอยเต่า การฝึกอบรมในครั้งฯ โดยปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 2/2564 ลงวันที่ 7 มกราคม 2564 อย่างเคร่งครัด

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!