ปทุมธานี-หน่วยงานรัฐและเอกชนรณรงค์งดการเผาตอซังเปลี่ยนฟางข้าวเป็นทองลดฝุ่น pm 2.5
ภาพ/ข่าว:ทีมข่าวจังหวัดปทุมธานี
วันที่ 14 ธ.ค.2566 ณ แปลงนาสาธิต หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านฉาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีโดยมี นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นางศศิธร ชาญประเสริฐ เกษตรจังหวัดปทุมธานี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนาย ยุทธพงษ์ พุ่มรินทร์ ประธานบริหาร VRP DevelopmentHolding Co.,Ltd ร่วมงานพิธีเปิดงาน วันสาธิตการใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา เปลี่ยนฟางข้าวเป็นทอง สู่เมืองปทุมธานีไร้ควันและ พิธีลงนามความร่วมมือ ส่งเสริมการทำการเกษตรปลอดการเผา
ในงานจะมีการแสดงและสาธิตการใช้งาน เพื่อป้องกันการเผาฯ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษฝุ่นpm 2.5 จากการเผา ฯ ซึ่งนวัตกรรมของบริษัทดังกล่าวมีที่มาและรายละเอียด ดังนี้นวัตกรรมเครื่องจักรแปรรูปเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดแบบเคลื่อนที่ของบริษัท วีอาร์พี ดีวีลอปเมนท์ โฮลดิ้ง จำกัด สาธิตการใช้นวัตกรรมย่อยสลายตอซังข้าว เปลี่ยนฟางให้เป็นปุ๋ย . สาธิตการเปลี่ยนฟางข้าวเป็นทอง ด้วยเครื่องจักรผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด สาธิตการใช้เทคโนโลยีย่อยสลายตอซังและฟางข้าว ด้วยโดรนเพื่อการเกษตร โดยภายในงานมีกิจกรรม การสาธิต “เปลี่ยนฟางข้าวเป็นทอง สู่เมืองปทุมธานีไร้ควัน” ประกอบด้วย สถานีเรียนรู้เรื่องการลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เกษตรรักษ์โลก อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ทางเลือก ทางรอด ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมงาน /ได้นำไปใช้ในพื้นที่ตนเองเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำการเกษตร ซึ่งผู้เข้าร่วมงานในวันนี้ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้นำชุมชน และเกษตรกร จำนวนกว่า 100 ราย
ด้วยเหตุที่มลพิษฝุ่น PM 2.5 จากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทำให้ประชาชนเจ็บป่วยกว่าหลายล้านคนและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรกว่าหลายหมื่นคนต่อปีรวมถึงเกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจกว่า 2 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งปัญหาดังกล่าวเรื้อรังมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่าหลายสิบปีและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทางบริษัท วีอาร์พี ดีเวลลอปเม้นท์ โฮลดิ้งส์ จำกัด บริษัทฯได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว โดยเห็นว่า แนวคิดและวิธีการเดิม ย่อมได้รับผลแบบเดิม แนวคิดและวิธีการใหม่ ย่อมได้รับผลที่ดีขึ้นมาใหม่ จึงทำให้ในปี 2564 บริษัทฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษเพื่อคิดค้นนวัตกรรมป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษฝุ่น PM 2.5 และในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 บริษัทฯ ได้สามารถพัฒนานวัตกรรมเครื่องจักรผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแบบเคลื่อนที่ ที่สามารถนำเข้าไปแปรรูปเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีน้ำหนักเบาในพื้นที่การเพาะปลูกให้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดซึ่งเป็นเชื้อเพลิงพลังงานสะอาดที่สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าพลังงานสีเขียวและเป็นเชื้อเพลิงสำหรับอุตสาหกรรมสีเขียวได้ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการคุ้มครองนวัตกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ ผลของนวัตกรรมดังกล่าวทำให้ประเทศสามารถผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเศษกิ่งไม้รวมถึงไม้ยืนต้นในพื้นที่ป่าไม้ได้จำนวนกว่าหลายร้อยล้านตันต่อปี
นวัตกรรมฯ ก่อเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างมหาศาล ดังนี้ ทำให้เกษตรกรไม่ต้องเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและเศษกิ่งไม้ใบไม้ในพื้นที่ป่าไม้ฯ ทำให้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษฝุ่น PM 2.5 จากการเผาฯ ได้ 100% ทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและป้องกันไม่ให้ระบบเศรษฐกิจได้รับความเสียหายกว่า 2 ล้านล้านบาทต่อปีและป้องกันไม่ให้ไฟไหม้ป่า ทำให้รัฐบาลสามารถมีนโยบายแก้ปัญหาความยากจนให้กับเกษตรกรและประชาชนได้ โดยการให้เกษตรกรและประชาชนเช่าที่ดินและส่งเสริมกล้าไม้ยืนต้น เพื่อปลูกไม้ยืนต้นและให้บริษัททำสัญญารับซื้อระยะยาว 25 ปีเพื่อใช้นวัตกรรมฯ เคลื่อนที่เพื่อเข้าไปแปรรูปไม้ยืนต้นเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงานสะอาดให้กับโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมรวมถึงภาคครัวเรือน นโยบายให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปปลูกไม้ยืนต้นและทำสัญญารับซื้อระยะยาวดังกล่าว จะส่งผลทำให้รัฐบาลสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้เป็นอย่างมาก อันเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้ตามนโยบายของรัฐบาล